คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

36 Comments »

  1. warunee said

    สิ่งที่ได้รับการฝึกงานสัปดาห์แรก วันแรกอาจารย์พี่เลี้ยงแนะนำกระบวนการทำงานของหน่วยโสตฯ แนะนำพี่ๆในส่วนต่างๆ และอาคารสถานที่ภายในคณะ อาจารย์พี่เลี้ยงให้เรียนรู้และทดลองใช้โปรแกรม Course lab สำหรับทำบทเรียนอีเลิร์นนิง และฝึกการติดตั้งอุปกรณ์ทำงานร่วมของ VDO ,Powerpoint, และเสียง เพื่อส่งเข้าระบบ server ของคณะทันทีหลังจากบันทึกเสร็จ

  2. สัปดาห์แรกของการฝึกงาน ได้เรียนรู้โปรแกรมการทำE-learning ด้วยโปรแกรมCourse Lab และลงมือปฎิบัติจริง ปัญหาที่เกิด คือ ยังเรียนรู้การใช้โปรแกรมไม่เพียงพอ แต่สามารถเรียนรู้ได้จาก VDO ที่บันทึกการบรรยายการใช้โปรแกรม Course Lab และจากผู้เชี่ยวชาญ
    เรียนรู้การใช้โปรแกรม Echo การติดตั้งเครื่องเพื่อใช้สำหรับโปรแกรมEcho
    *โปรแกรม Echo คือ การนำ Powerpoint และ VDO นำเสนอไปพร้อมๆกัน โดยไม่ต้องนำมาซิงค์ในโปรแกรม Microsoft Producer เป็นโปรแกรมสำเร็จรูป
    ปัญหา คือ การติดตั้งอุปกรณ์ ยังไม่เข้าใจหลักการทำงานของเครื่องและประสบปัญหาการเข้าใช้โปรแกรมเนื่องจากต้องผ่านระบบ Internet ทุกครั้งที่ใช้งาน ซึงโปรแกรมนี้เริ่มใช้ที่จุฬาฯ แห่งแรก แต่ได้ลองปฎิบัติบ่อยครั้งจึงทำให้เกิดความชำนาญมากขึ้น

  3. แนะนำสถานที่ฝึกงาน
    ประวัติคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    การศึกษาเภสัชศาสตร์แผนตะวันตกซึ่งเป็นรากฐานของการศึกษาเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย ในปัจจุบัน ได้กำเนิดใน รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ ๖ ) โดยพระราชดำริและการทรงเห็นการณ์ไกลของเจ้านายในราชวงศ์จักรีสองพระองค์ กล่าวคือ ตาม พระราชดำริของ จอมพลสมเด็จน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ซึ่งได้ประทานแก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทร
    ดังที่ได้ทรงมีบันทึกไว้ว่า…
    ” เมื่อข้าพเจ้าได้เข้าไปจัดการการศึกษาวิชาแพทย์ และ วิชาผดุงครรภ์และพยาบาล ได้สักหน่อย สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ก็ทรงมีพระดำริว่า ตามกรมกองทหารบกมี แพทย์ประจำหน่วยพยาบาลอยู่แล้ว และยังจะได้เพิ่มเติมไปอีกเรื่อยๆ แต่ทางเภสัชกรรมนั้น ยังไม่มีผู้ ใดได้เรียนและได้รับการอบรมไปประจำตามที่จำหน่ายยาเลย ควรตั้งโรงเรียนปรุงยาขึ้นอีกแขนงหนึ่ง ข้าพเจ้าเห็นด้วย จึงได้จัดตั้งโรงเรียนปรุงยาขึ้น สอนวิชารากฐานร่วมกันไปกับกับนักเรียนแพทย์- แล้วไปแยกกัน ทางฝ่ายแพทย์ปรุงยาก็ไปเรียนเภสัชศาสตร์ และฝึกหัดทางเภสัชกรรม… ”
    ดังนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทร จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น ” บิดาแห่งวิชาชีพเภสัชกรรมแห่งประเทศไทย ” ด้วยพระราชดำริดังกล่าว การศึกษาเภสัชศาสตร์แบบยุโรปอย่างเป็นระบบ จึงได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศสยาม โดยประกาศเสนาบดีกระทรวงธรรมการ เรื่อง ” ระเบียบการจัดนักเรียนแพทย์ผสมยา พ.ศ. 2457 ”
    ให้ไว้เมื่อ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2456 จึงถือว่าวันดังกล่าวนี้เป็น วันก่อตั้งวิชาชีพเภสัชกรรม และ การศึกษาเภสัชศาสตร์แผนปัจจุบันในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ และถือเป็น วันสถาปนา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วย
    การศึกษาเภสัชศาสตร์แผนปัจจุบันได้เริ่มดำเนินการสอน ในแผนกแพทย์ปรุงยา โรงเรียนราชแพทยาลัย
    วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2457 โดยผู้ศึกษาจะต้องเป็น ผู้ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป และต้องเป็นผู้ที่สอบไล่ได้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ วิชาชั้นต้นได้แล้ว เมื่อศึกษาจน สำเร็จหลักสูตร 3 ปี จะได้รับ ” ประกาศนียบัตรแพทย์ปรุงยา ” รุ่นแรกมีนักเรียนแพทย์ปรุงยา จบ 4 คน
    ต่อมามี การสถาปนา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขึ้นเมื่อ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 กระทรวงธรรมการ จึงประกาศให้รวม โรงเรียนราชแพทยาลัย เข้ามาสังกัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2460 การศึกษาเภสัชศาสตร์ จึงถูกยกขึ้นเป็นการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย
    พ.ศ. 2477 ได้มี พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บังคับใช้ใน วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2477 กำหนดให้จัดตั้ง แผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์ และเปลี่ยนวุฒิเป็น ” ประกาศนียบัตรเภสัชกรรม (ป.ภ.) ” เทียบเท่าอนุปริญญา”
    พ.ศ. 2479 ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร ขึ้นเป็นหลักสูตรระดับ ” อนุปริญญาเภสัชศาสตร์ ” ระยะเวลา 3 ปี เท่าเดิม เป็นหลักสูตรที่ครอบคลุมเนื้อหา วิชาชีพ เภสัชกรรม อย่างกว้างขวาง ตลอดจน นำเอาวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่เกี่ยวข้องมาบรรจุเพิ่มเติมในหลักสูตรอีกหลายวิชา โดยเริ่มใช้หลักสูตรใหม่ ใน ปี พ.ศ. 2480 ขณะเดียวกันก็มี การแบ่งแยกออกเป็นแผนกวิชาต่างๆ ตามกฎหมาย
    พ.ศ. 2482 ดร. ตั้ว ลพานุกรม อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ ในขณะนั้น ได้รับการแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่ง หัวหน้าแผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์ อีกตำแหน่งหนึ่งตั้งแต่ วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 ซึ่ง ดร. ตั้ว ลพานุกรม ได้ปรับปรุงและพัฒนาวิชาชีพเภสัชกรรมให้รุ่งเรืองทั้งทาง การประกอบอาชีพ โดยจัดสร้าง ” ศาลาแยกธาตุ ” (ปัจจุบัน คือ องค์การเภสัชกรรม) ซึ่งเป็นโรงงานผลิตยาของรัฐ เพื่อการพึ่งตนเอง และสำรองยาไว้ใช้ยามขาดแคลน ทางด้านการศึกษา ดร. ตั้ว ลพานุกรม ได้พัฒนา หลักสูตรเภสัชกรรมศาสตร์ จนถึงระดับปริญญา ( หลักสูตร 4 ปี ) มีการจัดการบริหารการศึกษาเภสัชศาสตร์ขึ้นอย่างเต็มรูปแบบ จัดการสร้างอาคารเรียนถาวรของ คณะเภสัชศาสตร์ขึ้นเป็นครั้งแรก ในบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้เปิดใช้ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484 ( และใช้มา 41 ปี จนถึง ปี พ.ศ. 2525 ย้ายมาด้านบริเวณ สยามสแควร์ )
    พ.ศ. 2485 มีการโอน แผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปเป็น คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ( อยู่ในบริเวณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ) ต่อมาจัดทำและเปิด หลักสูตรระดับ ปริญญาโท และ พัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรี เป็น หลักสูตร 5 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2500 ซึ่งเป็นแนวทางของหลักสูตรเภสัชศาสตร์ที่ใช้จนถึงปัจจุบัน
    วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2512 ได้มีประราชบัญญัติเปลี่ยนชื่อ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เป็น มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเภสัชศาสตร์ จึงเปลี่ยนไปสังกัด มหาวิทยาลัยมหิดล และ ได้โอนกลับมาสังกัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกครั้งหนึ่ง โดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 118 ลง วันที่ 13 เมษายน พ.ศ.2515
    พ.ศ. 2525 คณะเภสัชศาสตร์ ได้ย้ายจาก อาคารเรียนเดิม ( ปัจจุบันนี้ เป็นที่ตั้งของ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ) ไปใช้อาคารเรียนใหม่ ณ.บริเวณสยามสแควร์ ติดกับ คณะทันตแพทยศาสตร์ และ คณะสัตวแพทยศาสตร์
    พ.ศ. 2527คณะรัฐมนตรีประกาศจัดทำโครงการเภสัชกรคู่สัญญาโดยบัณฑิตที่จบการศึกษาจะต้องทำงาน
    รับราชการใช้ทุนเป็นเวลา2 ปี
    พ.ศ. 2532 คณะเภสัชศาสตร์ ได้เปิด หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต 3 สาขา ต่อมา พ.ศ. 2533 ได้ทำการปรับปรุง หลักสูตรเภสัชศาสตร์บัณฑิตเป็นลักษณะกึ่งเฉพาะทาง 5 สาขา โดยจัดสัดส่วน วิชาจำเป็นพื้นฐาน สำหรับวิชาชีพ เป็นเวลา 4 ปี ครึ่ง และอีกครึ่งปเป็นกลุ่มวิชาเลือกสำหรับ สาขาต่างๆ ดังนี้
    1. สาขา เภสัชกรรมโรงพยาบาลและเภสัชกรรมคลินิก.
    2. สาขา เทคโนโลยีการผลิตยา.
    3. สาขา วิจัยและพัฒนาเภสัชภัณฑ์.
    4. สาขา เภสัชกรรมชุมชนและบริหารเภสัชกิจ.
    5. สาขา เภสัชสาธารณสุข.
    เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม สำหรับออกไปประกอบวิชาชีพตามสายงาน ให้มีประสิทธิภาพ ดียิ่งขึ้น
    พ.ศ. 2536 ในวาระครบรอบ 80 ปี วิชาชีพเภสัชกรรม ได้เริ่มเปิดใช้ อาคารใหม่ 8 ชั้น เป็น อาคารเรียนและห้องปฏิบัติการรวม โดยได้ตั้งชื่อว่า ” อาคาร 80 ปี เภสัชศาสตร์”

    ปัจจุบัน คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วย ภาควิชา 10 ภาควิชา และ 3โครงการจัดตั้งภาควิชา. ทำการสอนทั้งในระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ได้เปิดรับนิสิตเข้าศึกษาระดับ ปริญญาตรี ตามแผนพัฒนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฉบับที่ 8 ( พ.ศ. 2540-2544 )
    ปีละ 220 คน โดยเป็น นิสิตโครงการชนบท ประมาณ ปีละ 10 คน
    ส่วนการศึกษา ในระดับบัณฑิตศึกษา มีดังนี้
    – เภสัชศาสตร์มหาบัณฑิต
    9 หลักสูตร (รับปีละ 80 คน) คือ เภสัชกรรม ,เภสัชอุตสาหกรรม , เภสัชเคมี , อาหารเคมี , เภสัชพฤกศาสตร์ , เภสัชเวท , จุลชีววิทยา , สรีรวิทยา และ เภสัชวิทยา.
    – ดุษฎีบัณฑิต
    3 หลักสูตร (รับปีละ 15 คน) คือ เภสัชกรรม , เภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และ เภสัชศาสตร์ชีวภาพ.
    – หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
    (รับปีละ 10 คน) คือ สาขาวิชาเภสัชกรรม และสาขาวิชาเภสัชกรรมโรงพยาบาลและเภสัชกรรมคลินิก.

    จากเริ่มก่อตั้ง จนถึง ปี พ.ศ. 2538 มี บัณฑิตที่จบการศึกษาไปแล้วในขั้น ปริญญาตรี จำนวนมากกว่า 4,500 คน ปริญญาโทมากกว่า 280 คน และกำลังศึกษาขั้นปริญญาเอก 8 คน
    นอกจากนี้ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังจัดทำโครงการต่างๆ เช่น สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ ” โอสถศาลา ” , ศูนย์คอมพิวเตอร์ทางเภสัชศาสตร์ , ศูนย์เภสัชสนเทศ,ศูนย์บริการเทคโนโลยีเภสัชอุตสาหกรรม ,หน่วยวิจัยและพัฒนาสมุนไพรและเครื่องเทศ, ศูนย์ผลิตสื่อประสมคอมพิวเตอร์ , ศูนย์สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง ฯลฯ.
    ทั้งนี้เพื่อพัฒนา วิชาชีพเภสัชกรรม ให้ปกป้องคุ้มครองสิทธิ ผู้บริโภค ซึ่งเป็นไปตาม ” ปรัชญาแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม ” นั่นคือ
    ” เภสัชกร จะต้องทำงานเพื่อสุขภาพ และสวัสดิภาพ ในการใช้ยาของผู้ป่วยและสาธารณชน เป็นอันดับแรกเสมอ โดยจะ บริหาร-บริการ-ควบคุม-คุ้มครอง ผู้ป่วย ผู้บริโภค ด้านยาและสุขภาพ อย่างถึงพร้อมด้วย จริยธรรมแห่งวิชาชีพ ทั้งนี้ภายใต้การยึดถือ ประโยชน์ของผู้ป่วยและสาธารชน ยิ่งกว่าประโยชน์ส่วนตน.”

    หน่วยโสตทัศนศึกษา และศูนย์ผลิตสื่อประสมคอมพิวเตอร์

    ประวัติความเป็นมา
    ปี 2534 หน่วยโสตทัศนศึกษาถูกจัดตั้งขึ้นมา ตามระเบียบของจุฬาลงกรณ์ฯ ว่าด้วยการจัดตั้งหน่วยงานราชการ โดยสังกัด สำนักงานเลขานุการ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ในส่วนของงานบริการการศึกษา มีเจ้าหน้าที่ตำแหน่ง ช่างภาพการแพทย์ ระดับ 3 ปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานโสตทัศนศึกษา
    ทั้งหมด เช่น การให้บริการผลิตสื่อการศึกษา และการให้บริการโสตทัศนูปกรณ์ แก่คณาจารย์ ข้าราชการ และนิสิต เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอน การบริการวิชาการ การบรรยาย การสัมมนา การประชุมวิชาการ กิจการนิสิต กิจกรรมสำคัญต่างๆของคณะฯ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข่าวสารต่างๆ และงานที่ได้รับมอบหมายอื่นๆ
    ปี 2536 – 2538 มีการขยายตัวของหน่วยงาน ทั้งโครงสร้าง งานการให้บริการ สถานที่ และอัตรากำลังโดยรับเจ้าหน้าที่ ตำแหน่งนักวิชาการโสตทัศนศึกษา ระดับ 3 และลูกจ้างชั่วคราว เพิ่มเข้ามา
    ปี 2539 ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ผลิตสื่อประสมคอมพิวเตอร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็น 1 ใน 3 ศูนย์ฯ อันได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสนับสนุน ส่งเสริมให้คณาจารย์สร้างและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสื่อประสม โดยจัดฝึกอบรมความรู้ รวมทั้งอำนวยความสะดวกในการใช้เครื่องมือ-อุปกรณ์ในการผลิตดังกล่าว
    ปี 2545 ได้เปิดรับคัดเลือกบุคลากร ตำแหน่งพนักงานหมาวิทยาลัย แทนตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว

    สถานที่ตั้ง
    หน่วยโสตทัศนศึกษา มีสถานที่ปฏิบัติงาน ตั้งอยู่ ณ ชั้น 8 อาคาร 80 ปีเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 02- 218 8424-6 โทรสาร. 02- 254 5195 และเปิดให้บริการตามวัน และเวลาราชการ

    โครงสร้างการบริหาร
    หน่วยโสตทัศนศึกษาเป็นส่วนราชการอยู่ในสังกัดสำนักงานเลขานุการคณะฯ ส่วนงานบริการการศึกษา
    มีประธานและคณะกรรมการบริหารหน่วยฯ ซึ่งแต่งตั้งโดยคณบดี ทำหน้าที่บริหาร วางแผนระบบการให้บริการ การปฏิบัติงานและการพัฒนาหน่วยฯ โดยดำเนินตามนโยบายหลักจากคณะฯ

    ข้อปฏิบัติในการขอใช้บริการ
    ของหน่วยโสตทัศนศึกษาและศูนย์ผลิตสื่อประสมคอมพิวเตอร์

    ข้อปฏิบัติการขอใช้บริการผลิตสื่อการสอน

    1. ติดต่อเจ้าหน้าที่ แจ้งลักษณะ และรายละเอียดของงานล่วงหน้า เพื่อจะได้มีเวลาในการผลิต
    2. กรอกแบบฟอร์มรายละเอียดต่าง ๆ ให้ครบถ้วนก่อนใช้บริการทุกครั้ง โดยระบุจำนวน และความเรียบของ
    ต้นฉบับด้วย ผู้ใช้บริการลงนามในแบบฟอร์ม ( หากต้องหักค่าบริการจากเงินส่วนต่าง ๆที่ไม่ใช้เงินสด ในแบบฟอร์มต้องมีลายเซ็นของหัวหน้าภาควิชาหรือหัวหน้าหน่วยงาน )
    3. กำหนดงานเสร็จ หลังจากส่งงานพร้อมแบบฟอร์ม 3 – 10 วัน ( ขึ้นอยู่กับลักษณะงาน )
    4. ส่งงานและรับงาน โดยตรวจความเรียบร้อยของงานก่อนทุกครั้ง
    5. ในกรณีที่ต้องชำระค่าบริการเป็นเงินสด ทางหน่วยโสตทัศนศึกษาจะต้องออกใบสำคัญรับเงินของคณะ ฯ
    ให้ทุกครั้ง

    ข้อปฏิบัติการขอยืมโสตทัศนูปกรณ์

    1. ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอจองเครื่อง
    2. กรอกแบบฟอร์มรายละเอียดต่าง ๆ ให้ครบถ้วน
    3. ส่งแบบฟอร์มก่อนรับเครื่อง 3 วัน
    ( เจ้าหน้าที่จะได้ติดตามเครื่องได้ทันกรณีที่เครื่องถูกยืมไป )
    4. รับและส่งเครื่องคืน ด้วยตนเองตามกำหนด ( หากเป็นนิสิต ป.ตรี,ป.โท,ป.เอก ต้องให้บัตรนิสิตกับเจ้าหน้าที่ก่อนรับเครื่องไปและรับบัตรคืนเมื่อนำเครื่องมาคืน )
    หมายเหตุ : หากเกิดชำรุด เสียหายหรือสูญหาย ผู้ยืมต้องชดใช้ค่าเสียหายตามราคาปัจจุบัน

    ข้อปฏิบัติการขอเช่าโสตทัศนูปกรณ์

    1. ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอจองเครื่องก่อนถึงวันใช้งาน
    2. กรอกแบบฟอร์มรายละเอียดต่าง ๆ ให้ครบถ้วน
    3. ส่งแบบฟอร์มก่อนรับเครื่อง 3 วัน พร้อมชำระค่าเช่าตามอัตราที่กำหนดในประกาศ ( หากต้องหักค่าบริการจากเงินส่วนต่าง ๆ ที่ไม่ใช่เงินสด แบบฟอร์มต้องมีลายเซ็นของหัวหน้าภาควิชา หรือหัวหน้าหน่วยงาน
    4. รับและส่งเครื่องคืน ตามกำหนด
    5. ในกรณีที่ต้องชำระค่าบริการเป็นเงินสด ทางหน่วยโสตทัศนศึกษาจะต้องออกใบสำคัญรับเงินของคณะฯ ให้ทุกครั้ง
    หมายเหตุ : หากเกิดชำรุด เสียหายหรือสูญหายผู้ยืมต้องชดใช้ค่าเสียหายตามราคาปัจจุบัน

    ภาระหน้าที่งาน ความรับผิดชอบ

    หน้าที่ และความรับผิดชอบได้แก่ งานให้บริการผลิตสื่อการสอน และบริการโสตทัศนูปกรณ์ แก่ คณาจารย์ นิสิต และบุคลากร เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมการเรียนการสอน บริการวิชาการ การประชุมวิชาการ การสัมมนา การบรรยาย งานกิจการนิสิต การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าวสาร และงานที่ได้รับมอบหมายอื่นๆ ซึ่ง
    ประกอบด้วยงานหลักๆ ดังนี้
    – งานผลิตสื่อการสอน
    ได้แก่ เอกสารประกอบการเรียนการสอน สื่อแผ่นใส สื่อสไลด์ สื่อคอมพิวเตอร์ สื่อวิดีโอ เพื่อการเรียนการสอน
    และให้การสนับสนุนการผลิตสื่อประสมคอมพิวเตอร์ เช่น การออกแบบ ตกแต่งหน้าจอ ภาพประกอบ ภาพเคลื่อนไหว การแทรกภาพ แทรกเสียง การสแกนภาพ สแกนฟิล์ม และตกแต่งภาพ รวมถึงการให้คำแนะนำปรึกษา ด้านการใช้โปรแกรมในการผลิต การใช้อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ และประสานงานจัดการฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการผลิตสื่อประสมคอมพิวเตอร์ แก่คณาจารย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
    – งานบริการโสตทัศนูปกรณ์ และสื่อโสตวัสดุต่างๆ
    ได้แก่ การบริการให้ยืม ให้เช่า ติดตั้ง ควบคุม เช็คระบบโสตทัศนูปกรณ์ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ รวมถึงการให้คำปรึกษา แนะนำการใช้ การแก้ปัญหาโสตทัศนูปกรณ์ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ แก่คณาจารย์ นิสิต และบุคลากรของคณะฯ และหน่วยงานภายนอกคณะฯ
    – งานกราฟิก
    ได้แก่ ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ จัดทำป้าย คัตเอาท์ โปสเตอร์ ป้ายสามเหลี่ยม จัดนิทรรศการ จัดบอร์ด จัดฉากเวที ประดับตกแต่งสถานที่ การออกแบบ ตราสัญลักษณ์ เขียนแบบ จัดทำปกหนังสือ ผลิตต้นฉบับอาร์ตเวิร์คสิ่งพิมพ์ พิมพ์เกียรติบัตร ประกาศนียบัตร นามบัตร ปกเทป ปกซีดี ป้ายชื่อ ฯลฯ รวมถึงงานคอมพิวเตอร์กราฟิก เช่น การ
    ออกแบบตกแต่งภาพ ออกแบบหน้าจอ ประชาสัมพันธ์ประกาศข่าวบนเว็บไซด์ของคณะฯ
    – งานถ่ายภาพ และวิดีทัศน์
    ได้แก่ การถ่ายภาพสี ภาพสไลด์ ภาพดิจิตอล ถ่ายวิดีโอบันทึกเทป วิดีโอวงจรปิด ก็อปปี้ ตัดต่อวิดีโอ บันทึกเทปเสียง เพื่อประกอบการนำเสนอ การเรียนการสอน การประชุมวิชาการ สัมมนา บรรยาย การค้นคว้าวิจัย งาน
    กิจการนิสิต ตลอดจนกิจกรรมสำคัญต่างๆ ภายใน และภายนอกคณะฯ
    – งานบริหารจัดการหน่วยงาน
    ได้แก่ การจัดวางระบบ ระเบียบ ข้อปฏิบัติการให้บริการ และขอใช้บริการ โดยประสานงานร่วมกับคณะกรรมการบริหารหน่วยฯ และสำนักงานเลขานุการคณะฯ เช่น แบบฟอร์มขอใช้บริการ การจัดเก็บค่าใช้บริการ การจัดการระบบการเงินของหน่วย การจัดการระบบพัสดุครุภัณฑ์ สำรวจ จัดซื้อ บำรุงรักษา จัดทำทะเบียนรายการวัสดุ- ครุภัณฑ์ การบันทึกผลการปฏิบัติงานเพื่อเก็บข้อมูลการให้บริการ จัดทำโครงการ PPBS จัดทำแผนงานประกันคุณภาพ รวมถึงการจัดปรับปรุงสถานที่ทำงาน และสภาพแวดล้อม เพื่อความเป็นระเบียบ และอำนวยความสะดวกต่อการให้บริการ

    เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยโสตฯ
    1. คุณนิมิต คุ้มทอง ตำแหน่ง ช่างภาพการแพทย์
    2. คุณพัชรินทร์ ฮั่นพิพัฒน์ ตำแหน่ง นักวิชาการโสตทัศนศึกษา
    3. คุณบุญเลิศ ฉายเหมือนวงศ์ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริการการศึกษา โสตทัศนศึกษา

  4. การฝึกงานในสัปดาห์ที่ 2 (9-13 พ.ย. 52 )
    – ศึกษาโครงการจัดอบรมสำหรับอาจารย์-บุลคคลากร มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์พร้อมกับคิดชื่อโครงการและคิดว่าจะจัดอบรมเรื่องอะไรดี
    – บันทึกการสอนของอาจารย์คณะเภสัช ด้วยโปรแกรม Echo
    – ทำคู่มือการใช้โปรแกรม การติดตั้ง การต่อสาย ของเครื่อง Echo
    – ออกแบบโปสเตอร์งานประชุมผลงานการวิจัยทางวิชาการของคณะเภสัช

  5. warunee said

    สัปดาห์ที่ 2 ส่วนใหญ่งานหลัก ๆ จะเน้นที่การติดตั้งและทำคู่มือการใช้งานของอุปกรณ์ ECHO 360 เพราะงานภายในหน่วยโสตฯโดยตรงจะยังไม่มีมากนัก
    จากการถ่ายการบรรยายของอาจารย์และนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ จะมีปัญหาให้ได้แก้ไขทุกครั้ง เช่น อาจารย์สะดุดปลั๊กไฟ จึงต้องเริ่มถ่ายทำต่อจากที่เครื่องทำงาน ห้องที่ใช้บรรยายไม่มีเครื่องขยายสัญญาณเสียงก็ต้องนำไมค์โครโฟนมาต่อเข้ากับเครื่องโดยตรง หรือถ้าห้องไม่มีอินเทอร์เน็ตก็จะใช้เครื่องไม่ได้จึงต้องอัดวิดีโอแล้วนำมาซิงโครไนซ์อีกครั้งก่อนนำเข้าเซิร์ฟเวอร์ เป็นต้น งานภายในหน่วยโสตฯ พี่เลี้ยงก็จะแนะนำการทำงานต่าง ๆ เช่น การจัดโครงการฝึกอบรมสำหรับอาจารย์-บุคลากรภายในคณะเภสัชศาสตร์ ช่วยพี่เลี้ยงจัดทำตารางฝึกงานของนักศึกษา

  6. สัปดาหืที่ 3 (16-19 พ.ย.2552)
    – ตัดต่อวิดีโอด้วยโปรแกรม Ulead Videostudio 11
    – ใช้โปรแกรม Echo บันทึกให้กับอาจารย์ 1 ชั่วโมง
    – ถ่ายภาพงานประชุมวิชาการ เรื่อง Pharmacotherapy in infectious Diseases
    ที่โรงแรม ทวิน ทาว์เวอร์ ในช่วงเช้า
    – ออกแบบโปสเตอร์และป้ายบอกทางงานประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยทางเภสัชศาสตร์

    ประโยชน์ที่ได้รับ
    การถ่ายภาพในงานประชุมที่ต้องการจังหวะ องค์ประกอบภาพ การถ่ายภาพในที่มีคนมากๆ และเป็นงานทางการซึ่งดิฉันไม่เคยถ่ายภาพงานที่มีคนมาประชุมกันมากมาก่อน พี่เลี้ยงจึงคอยแนะนำ

  7. warunee said

    สัปดาห์ที่ 3
    บันทึก VDO การบรรยายของอาจารย์
    ออกแบบป้ายบอกทางการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยทางเภสัชศาสตร์
    ออกแบบข้อความและโลโก้ในคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรม Power point จึงพิมพ์บนกระดาษ a4 สีเขียว จากนั้นออกแบบลูกศรบนกระดาษ a4 สีส้มแล้วตัดเพื่อนำไปติดที่ป้ายที่มีข้อความ
    ทำเลขติดบอร์ดจากโปรแกรม Page Maker พิมพ์บนกระดาษ a4 แล้วตัดเป็นชิ้นตามหมายเลข
    ถ่ายภาพงานประชุมวิชาการ เรื่อง Pharmacotherapy in infectious Diseases ปัญหาที่เกิด คือ เป็นงานวิชาการที่ต้องการความถูกต้องและความเป็นมืออาชีพสูง จึงยังกลัวกับการถ่ายรูปประเภทนี้อยู่ พี่เลี้ยงก็ค่อยแนะนำเป็นบางอย่าง แต่ส่วนใหญ่จะเน้นให้ปฏิบัติเองภาพที่ได้ออกมายังไม่ตรงตามความต้องการมากนัก ก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ต้องฝึกไปเรื่อย ๆ
    ซิงค์ VDO กับสไลด์ ในโปรแกรม Microsoft Producer แต่มีปัญหาของไฟล์ VDO จึงต้องแก้ไขอีกครั้ง

  8. Nammon said

    สาวๆ เภสัช เป็นไงบ้างคะ …คุ้นเคยกับ ในเมืองแล้วหรือยังคะ แล้วการฝึกงานเป็นไงบ้าง เท่าที่รายงานก็ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ดีนะคะ น่าจะสนุกนะ ตั้งใจกันต่อไปค่ะ

    อ. เปิ้ล

  9. สำหรับการฝึกงานอาทิตย์ที่4 วันที่ 23-27 พ.ย. 52
    งานที่ได้รับมอบหมายยังคงเป็นการออกแบบโปสเตอร์วิชาการในงานประชุมวิชาการเสนอผลงานการวิจัยทางเภสัชศาสตร์ ซึ่งงานจะจัดขึ้นในวันที่ 4 ธันวาคม 52 นี้
    ซึ่งมีทั้งหมด 6 ป้ายโปสเตอร์ ขนาด 80×120 ซม. จัดได้ว่าเป็นป้ายนาดใหญ่และมีการลงทุนค่อนข้างสูงดังนั้นการออกแบบโปสเตอร์วิชาการนี้จึงต้องผ่านการตรวจอย่างรอบครอบทั้งจากดิฉันผู้ออกแบบ พี่เลี้ยง และอาจารย์เจ้าของเนื้อหา และที่สำคัญเนื้อหามีเพิ่มและมีลดเกือบทุกวันซึ่งอาจกล่าวได้ว่าข้อมมูลยังไม่แน่นอน จึงทำให้เสร็จช้ามากแต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี
    ปัญหาที่พบ คือ ปัญหาเกี่ยวกับโปรแกรม Illustrator CS3 ที่มักจะ Error บ่อยมากๆๆ และบางครั้งทำงานแล้ว Save ไม่ได้ จึงต้องปิดและเปิดเครื่องใหม่ โปรแกรมถึงจะทำงานได้เหมือนเดิม รวมทั้งหน่วยความจำเครื่องน้อยมาก ไม่เพียงพอกับการทำงานด้านกราฟฟิกคือจะทำงานได้ช้ามาก
    ประโยชน์ที่ได้รับ จากการออกแบบโปสเตอร์วิชาการ คือ ได้เรียนรู้โปรแกรมIllustrator CS3 เพิ่มเติม ได้เรียนรู้ขั้นตอนการออกแบบโปสเตอร์วิชาการที่ต้องมีการตรวจหลายขั้นตอน ต้องใช้สีโทนเย็น อย่างเขียว เหลือง และการใช้สีต้องใช้โทนสีเดียวกันเพื่อความเรียบร้อยของงานนั้นเอง

  10. eknarin said

    ลองฝึก test เครื่องพิมพ์มากๆ นะคับ โดยเฉพาะเครื่องพิมพ์แบบ Ploter นะครับ เพราะหาใช้เครื่องประเภทนี้ยากมาก ฝึกออกแบบมากๆนะคับ จะได้เก่งๆ

  11. การฝึกงานในสัปดาห์ที่ 5 ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน-4 ธันวาคม 2552
    งานในสัปดาห์นี้ คือ
    -ออกแบบโปสเตอร์ให้กับอาจารย์เจ้าของงานประชุมเสนอผลงานวิจัยทางเภสัชศาสตร์ ซึ่งเป็นงานด่วนมากใช้เวลาเพียง 2 วันเท่านั้น ทำให้เกิดความรู้สึกเครียดเล็กน้อย แต่ก็ผ่านมาได้ด้วยดี
    -ถ่ายภาพอาคันตุกะจากประเทศญี่ปุ่นและคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ที่มาร่วมประชุมปรึกษากัน
    -ถ่ายภาพเก็บบรรยากาศในงานประชุทเสนอผลงานวิจัยทางเภสัชศาสตร์ ประจำปี 2552 ครั้งที่ 26 ณ ห้องประชุมชั้น 10 อาคารนวัตกรรมทาเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬา ฯ ในช่วงเช้า 8.00-11.30 น.ช่วงบ่ายบันทึก VDO การบรรยาย และ พิธีมอบรางวัล Nagai Award Thailand 2009
    การถ่ายภาพในงานนี้ข้าพเจ้ารู้สึกมีความมั่นใจมากกว่าครั้งที่แล้วเป็นอย่างมาก และมีความรู้สึกสนุกกับงานที่ได้ทำค่ะ แต่สำหรับการบันทึก VDO ยังไม่คล่องมากนัก และผู้บรรยายเคลื่อนไหวตลอดเวลาทำให้ข้าพเจ้าจับภาพไม่ค่อยทันแต่จะพยายามต่อไปค่ะ

  12. การฝึกงานในสัปดาห์ที่ 6 ระหว่างวันที่ 8-11 ธันวาคม 2552
    สำหรับงานที่ได้รับมอบหมายในสัปดาห์นี้ คือ ถ่ายภาพเป็นหลัก ยอมรับว่าเหนื่อยมากอาทิตย์นี้ เนื่องจากในวันที่ 8 ธ.ค. มีงานทั้งหมด 3 งานและในเวลาใกล้ๆกัน คือ งานครบรอบ 96 ปี แห่งการสถาปนาคณะเภสัชศาสตร์ งานประชุมสมัชชา เภสัชศาสตร์
    โดยมีวิทยากรเช่น ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เจ้าของฉายา “เภสัชกรยิปซี” และงานนำเสนอผลงานปริญญานิพนธ์ สำหรับนิสิตชั้นปีที่ 5

  13. warunee said

    สัปดาห์ที่ 4

    งานส่วนใหญ่จะเป็นการเตรียมงานของวันที่ 4 ธ.ค.52 ซึ่งเป็นงานประชุมวิชาการเสนอผลงานการวิจัยทางเภสัชศาสตร์
    – สิ่งทีต้องเตรียมในสัปดาห์นี้ คือ ป้ายจอดรถสำหรับผู้มาร่วมงาน ใช้กระดาษสีส้มแผ่นขนาดใหญ่แปะข้อความลงไป
    – ป้ายวิทยากรที่มาร่วมงาน ทำโดยการพิมพ์ชื่อวิทยากรจาก Microsoft word จากนั้นพิมลงกระดาษ A4 ธรรมดา นำชื่อกับนามสกุลมาต่อกันเนื่องจากตัวหนังสือมีขนาดใหญ่ทำให้ไม่สามารถอยู่ในบรรทัดเดียวกันได้ เมื่อต่อชื่อกับนามสกุลเสร็จแล้ว จึงนำไปแปะบนกระดาษสีเขียวชนิดแข็ง
    – ช่วยดวงสมรทำโปสเตอร์ขนาด ขนาด 80×120 ซม. โดยการนำชื่อโปสเตอร์มาจัดเรียงให้ตรงกับ เลขโปสเตอร์ จำนวน 2 แผ่น ซึ่งเป้นการนำพื้นหลังที่ได้ออกแบบไว้แล้วมาใส่ข้อความตรงตามที่กำหนดไว้ให้ถูกต้อง
    – ออกแบบข้อความและโลโก้ สำหรับนำไปสกรีนลงบนของที่ระลึก
    – อธิบายชุดอุปกรณ์ ECHO 360 ต่อจากที่ค้างไว้
    ส่วนใหญ่ปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น การไม่ได้เว้นช่องไฟระหว่างตำแหน่งกับชื่อ ทำให้เมื่อหัวหน้าหน่วยมาตรวจความเรียบร้อย ให้แก้ไขใหม่ทั้งหมด
    หรือทำไม่ตรงความต้องการก็ต้องนำมาแก้ไขใหม่

  14. warunee said

    สัปดาห์ที่ 5

    – ทำโปสเตอร์กำหนดการงานประชุมวิชาการเสนอผลงานการวิจัยทางเภสัชศาสตร์ ขนาด A3 ด้วยการนำกระดาษขนาด A4 มาต่อกัน 2 แผ่น ซึ่งการออกแบบจะยากตรงที่ขนาด สี ตัวอักษรต้องเหมือนกันทั้ง 2 แผ่น เมื่อเสร็จแล้วจึงพิมพ์ออกมาแล้วนำมาต่อกันด้วยกาวให้สนิท
    – นำเสนอชิ้นงานงานประชุมวิชาการเสนอผลงานการวิจัยทางเภสัชศาสตร์ที่สำเร็จแก่หัวหน้าหน่วยโสตฯ
    – นำป้ายบอกทางไปแปะตามบอร์ดต่าง ๆ ที่ทางคณะได้จัดเตรียมไว้
    – นำหมายเลขบอร์ดและโปสเตอร์ไปแปะตามบอร์ดที่กำหนด
    – ถ่ายวิดีโอ กล้อง 2 และถ่ายภาพงานประชุมวิชาการเสนอผลงานการวิจัยทางเภสัชศาสตร์ ปัญหาที่พบ คือ ยังไม่เคยได้ถ่ายวิดีโอสด จึงยังไม่มีความมั่นใจในการถ่าย แต่เมื่อได้รับคำแนะนำจากพี่เลี้ยงจึงมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น งานนี้เป็นงานทางการงานแรกจึงยังไม่มีความมั่นใจในการปฏิบัติงานมากนัก

  15. warunee said

    สัปดาห์ที่ 6

    ส่วนใหญ่จะเป็นงานประชุมวิชาการ มีทั้งหมด 3 งานในวันเดียวกันจึงต้องแบ่งหน้าที่กันทำ ในช่วงเช้าจะเป็นงานสถาปนาคณะเภสัชศาสต์ ครบรอบ 96 ปี เป็นการใส่บาตรพระ 9 รูป รับมอบดอกไม้จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่มาแสดงความยินดี งานที่ 2 เป็นงานประชุมสมัชชาเภสัชศาสตร์ ครั้งที 96 ซึ่งงานนี้หน่วยโสตฯ ได้รับหน้าที่ถ่ายภาพเพียงอย่างเดียว ส่วนงายที่ 3 คืองานนำเสนอผลงานปริญญานิพนธ์ สำหรับนิสิตชั้นปีที่ 5 ซึ่งงานนี้ก็รับงานถ่ายภาพเพียงอย่างเดียว ความยากง่ายของงานแต่ละงานก็จะต่างกัน เช่น สถานที่ และความเป็นทางการของงานนั้น ๆ ด้วย

  16. warunee said

    สัปดาห์ที่ 7

    ในช่วงของสัปดาห์นี้จะเป้นการเก็บรายละเอียดของงานในสัปดาห์ที่แล้วค่ะ
    คือ การคัดเลือกรูปเพื่อส่งไปให้กับเจ้าของงานหรือผู้เข้าร่วมกิจกรรม และงานคิดค่าบริการการทำงานของหน่วยโสตฯ
    ส่วนในงานด้านอื่น ๆ ก็จะมีการถ่ายภาพแขกของคณะ และการออกแบบงานนำเสนอจากโปรแกรม Power point
    และในส่วนของโครงการ พี่เลี้ยงได้พาไปศึกษาดูงานที่ศูนย์วิทยบริการกลางของ จุฬาฯ เพื่อศึกษาการจัดการระบบสื่อโสตฯต่าง ๆ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบการจัดระบบของหน่วยโสตฯเอง

  17. การฝึกงานในสัปดาห์ที่ 7 ระหว่างวันที่ 14-18 ธันวาคม 2552
    งานที่ได้รับมอบหมายในอาทิตย์นี้ คือ การถ่ายภาพในงานสัมมนาของนิสิตที่ได้รับทุน ไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศ และถ่ายภาพในวิชา Risk Analysis of Pesticider เนื่องจากมีอาจารย์ต่างชาติมาสอน
    งานออกแบบป้ายบอกขนาด A4 จำนวน 6 แผ่นโดยการออกแบบฟอนต์และลูกสอนบอกทาง ร่วมทั้งป้ายชื่อวิทยากรด้วย
    งานตัดต่อวิดีโอจากงานครบรอบ 96 ปีวันสถาปนาคณะเภสัชศาสตร์ โดยใช้โปรแกรม Ulead Videostudio 11 ประมาณ 5 นาที พร้อมใส่ไตเติ้ล เสียงเพลง และ CG
    ประโยชน์ที่ได้รับ คือ ความรู้ในเรื่องของการออกแบบป้ายบอกทางที่จะต้องออกแบบให้ลูกสอนมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าส่วนใดเพราะเป็นป้ายบอกทาง

  18. warunee said

    สัปดาห์ที่ 8

    – งานแรกที่ได้รับ คือ ถ่ายภาพการประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาเภสัชภัณฑ์ 3 ปัญหาที่พบก็คือห้องที่ใช้เป้นห้องคอมพิวเตอร์มีขนาดกว้างและมีเครื่องคอมพิวเตอร์บังผู้เข้าร่วมประชุมจึงทำให้ถ่ายยากและต้องหามุมที่ดีที่สุด
    – ออกแบบป้ายเวทีจากโปรแกรม Microsoft powerpoint แล้วพิมพ์ลงแผ่นใสใช้เครื่องฉายข้ามศรีษะ(Overheard) ขยายตัวหนังสือให้มีขนาดใหญ่แล้วจึงลอกลายบนกระดาษสี แล้วจึงตัวตามตัวอักษรใช้กาวสเปรย์ฉีดลงบนตัวอักษร นำไปติดบนโฟมแล้วตัดตามข้อความ
    – ร่วมปรึกษาการจัดทำโครงงานจากอาจารย์อนุชัยและพี่เลี้ยง เพื่อขอข้อเสนอแนะขั้นตอนการดำเนินงานและการปฏิบัติโครงงาน

  19. การฝึกงานในสัปดาห์ที่ 8 ระหว่างวันที่ 21-24 ธันวาคม 2552

  20. การฝึกงานในสัปดาห์ที่ 8 ระหว่างวันที่ 21-24 ธันวาคม 2552
    งานที่ได้รับมอบหมายในสัปดาห์นี้มีดังนี้
    1. งานตัดต่อวีดิโอโครงการพัฒนางานริบาลเภสัชกรรมชุมชน ครั้งที่ 2/2552 การบริบาลเภสัชกรรมชุมชนในร้านยา โดยใช้โปรแกรม Ulead Video Studio II ความยาว 2 ชั่วโมง
    2. งานถ่ายภาพ โครงการประชุมวิชาการปฏิบัติการ การพัฒนาเภสัชภัณฑ์ 3 : เทคโนโลยีการวิเคราะห์กระบวนการและหลักสถิติที่เกี่ยวข้อง
    3. ทำป้ายโฟม เนื่องในงานสวัสดีปีใหม่ 2553 ซึ่งมีรายละอียดดังนี้
    – ออกแบบข้อความ สวัสดีปีใหม่ ในคอมพิวเตอร์
    – นำข้อความที่ออกแบบเรียบร้อยแล้วส่งให้พี่เลี้ยงตรวจดูความเรียบร้อย
    – นำข้อความที่ผ่านการตรวจจากพี่เลี้ยงแล้วปริ้นลงบนแผ่นใส่
    – จากนั้นใช้ครื่อง Over Head ฉายข้อความบนแผ่นใส่ปรากฎยังกำแพง
    – แล้วนำกระดาษโปสเตอร์สีที่เตรียมไว้แปะด้วยเทปกาวและนำดินสอร่างตามข้อความจนครบทุกตัวอักษร
    – จากนั้นนำมาตัดด้วยมีดคัตเตอร์และนำมาพ่นด้วยกาวสเปย์
    – และนำข้อความที่ได้มาแปะลงบนโฟมบางและฉลุด้วยมีดคัตเตอร์
    ปัญหาที่พบ คือ การถ่ายภาพในสถานที่มีผู้เข้าอบรมและมีคอมพิวเตอร์จำนวนมาก เรียงกันเป็นชั้นๆ ทำให้การถ่ายภาพวิทยากรลำบากจึงต้องหามุมถ่ายภาพที่สมบูรณ์ที่สุด ถ่ายภาพจำนวนมากๆ เพื่อสำหรับนำมาคัดเลือก
    ประโยชน์ที่ได้รับ คือ การทำป้ายโฟมและได้เรียนรู้ วิธีการใช้งาน เครื่อง Over Head แบบกระเป๋าถือ

  21. การฝึกงานในสัปดาห์ที่ 9 ระหว่างวันที่ 28-30 ธันวาคม 2552
    งานที่ได้รับมอบหมายในสัปดาห์นี้มีดังนี้

    1. ตกแต่งสถานที่สำหรับจัดงานเลี้ยงฉลองเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ โดยการนำป้ายโฟมที่ทำเสร็จแล้วจากอาทิตย์ก่อน มาประดับบนเวทีให้สวยงาม
    2. ติดตั้งเครื่อง LCD และจอรับภาพ สำหรับแสดงภาพการแสดงบนเวทีให้ผู้ชมได้เห็นกันอย่างทั่วถึง
    3. ถ่าย VDO บันทึกภาพบรรยากาศของงานเลี้ยงฉลองวันขึ้นปีใหม่ อาทิ การแสดงบนเวที การจับของขวัญ เป็นต้น
    4. ฝึกตัดต่อ VDO ให้ชำนาญ โดยพี่เลี้ยงนำไฟล์ VDO ที่หลากหลายมาให้ฝึกตัดต่อ
    5. จัดหมวดหมู่ของฟิล์มภาพถ่าย โดยแบ่งตาม วัน เดือน ปี ที่ถ่ายทำ เพื่อจะนำไปจ้างร้านแปลงเป็นไฟล์ดิจิทัลต่อไป

    ประโยชน์ที่ได้รับ คือ ได้เรียนรู้เทคนิคการถ่าย VDO เพิ่มเติมจากพี่เลี้ยงในการบันทึกภาพบุคคล และงานเลี้ยงฉลองซึ่ง ผู้บันทึก VDO ควรจะต้องหามุมที่เหมาะสมเพื่อที่จะได้ภาพที่สมบูรณ์ที่สุด โดยพยายามจับภาพในมุมกว้างๆ ซูมบางในช่วงเวลาที่เหมาะสม เป็นต้น

  22. warunee said

    การฝึกงานสัปดาห์ที่ 9

    ตกแต่งเวทีจัเลี้ยงปีใหม่ของคณะ ด้วยการนำป้ายโฟมที่ตัดเรียบร้อยไปติดที่ฉากของเวทีให้อยู่ตรงกลางและสมดุลทั้งสองข้าง

    ติดตั้งและเช็คความเรียบร้อยของอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับงานเลี้ยงปีใหม่ เช่น กล้องบันทึกวิดีโอ จอLCD Projector

    ถ่ายภาพกิจกรรมการแสดงและผู้ร่วมงานเลี้ยงปีใหม่

    คัดแยกฟิล์มภาพตามวัน เดือน ปีของภาพ เพื่อจัดเรียงให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกในการค้นหาและคัดเลือกตามปีที่จะนำไปแปลงฟิล์มเป็นไฟล์ดิจิทอล

  23. การฝึกงานสำหรับสัปดาห์ที่ 10 ระหว่างวันที่ 4-8 มกราคม 2553

    งานที่ได้รับมอบหมายในสัปดาห์นี้ คือ การตัดต่อวีดีโอ

    และงานทำบอร์ดกิจกรรม โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้

    เลือกภาพถ่ายที่จะใช้ทำบอร์ดโดยเรียงตามลำดับความสำคัญ

    จากนั้นนำภาพที่ได้แปะลงบนกระดาษโปสเตอร์สีที่เตรียมไว้

    สำหรับการทำชื่อเรื่องมีการทำดังนี้

    เริ่มต้นที่การออกแบบข้อความลงในโปรแกรมpowerpoint

    จากนั้นก็ส่งให้พี่เลี้ยงตรวจแก้ไข

    ปรับปรุงและปริ้น

    ตัดข้อความแปะลงบนแผ่นโฟม

    จากนั้นก็นำขึ้นบอร์ดตกแต่งให้สวยงาม

    ประโยชน์ที่ได้รับ ได้เรียนรู้เทคนิคการตัดต่อวีดิโอจากพี่เลี้ยง

  24. การฝึกงานสำหรับสัปดาห์ที่ 11 ระหว่างวันที่ 11-15มกราคม 2553

  25. การฝึกงานสำหรับสัปดาห์ที่ 11 ระหว่างวันที่ 11-15มกราคม 2553
    งานที่ได้รับมอบหมายมีดังนี้
    1. งานตัดต่อวีดิโอ ด้วยโปรแกรมUlead Video Studio II โดยมีลำดับขั้นตอนการปฎิบัติงานดังนี้
    1.1 นำCoudown ใส่ลงบนTimeline
    1.2 นำไฟล์วดิโอทั้งหมดลงTimeline
    1.3 ตัดวีดิโอในส่วนที่เสียหรือไม่ต้องการออก
    1.4 ใส่Effect ในส่วนที่ตัดออกเพื่อความต่อเนื่องและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
    1.5 ใส่ข้อความ สำหรับชื่อเรื่อง สถานที่ วันเดือนปี ฯลฯ
    1.6 เพิ่มดนตรีประกอบใอย่างน้อย 3 เพลง
    1.7 ตรวจดูความถูกต้องเรียบร้อยของงาน
    1.8 ส่งงานให้พี่เลี้ยงตรวจดูความถูกต้อง เรียบร้อยของงาน
    1.9 Share ไฟล์เป็น MPEG 2
    1.10 บันทึกงานตัดต่อลงแผ่น DVD

    ประโยชน์ที่ได้รับคือ ทำให้เข้าใจวิธีการตัดต่อวีดิโอด้วยโปรแกรมUlead Video Studio II ได้ดีมากขึ้นจึงทำให้งานตัดต่อนี้เสร็จในเวลาอันรวดเร็วและมีคุณภาพยิ่งขึ้นกว่าเดิม

    2. งานจัดการสื่อโสตทัศน์ประเภท ม้วน VDO โดยมีการปฎิบัติงานดังนี้
    2.1 นำม้วน VDO จากห้องเก็บของมาคัดแยกประเภท ซึ่งสามารถจำแนกออกได้ 3 ชนิดคือ
    U-matic, VHS, Mini DV
    2.2 ทำบัญชีโดยแบ่งตาม วันเดือนปี ชื่อเรื่อง และนับจำนวนม้วน VDO ทั้งหมด
    2.3 แปลงม้วนVDO ด้วยโปรแกรม Pinnacle Studio 11 เป็นไฟล์ MPEG 2 ซึ่งมีวีธีการดังนี้
    2.3.1 เลือกเรื่องวีดิโอที่จะทำการ Capture
    2.3.2 เปิดสวิตช์ที่เครื่อง VHS และนำม้วนวีดิโอที่จะทำการ Capture ใส่เข้าไป
    2.3.3 กดปุ่ม Rew เพื่อให้ม้วนวีดิโอหมุนหรือเคลื่อนตัวเนื่องจากเป็นม้วนวีดิโอเก่าอาจจะติดหรือพันกันอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งก็ได้
    2.3.4 เปิดโปรแกรม Pinnacle Studio 11เลือกที่หมวด Capture เลือก Settings
    2.3.5 คลิกที่ Capture Source เลือกPinnacle 700-PCI คลิ๊ก OK
    2.3.6 เลือก Start Capture รอจนกว่าโปรแกรมจะ Capture วีดิโอเสร็จ จากนั้นกด Stop ที่โปรแกรม
    2.3.7 จากนั้นเลือกหมวด Edit เลือกไฟล์วีดิโอทั้งหมดลง Timeline ในส่วนของ Movie Window เพื่อแก้ไขในบางช่วงของวีดีโอที่เสียหรือแทรกรูปเพิ่มเติม
    2.3.8 เลือกหมวด Make Movie เลือกชนิดของไฟล์ที่ File Type คลิกที่ Create File ก็จะได้ไฟล์MPEG 2สำหรับนำไปใช้งานต่อไป

    ประโยชน์ที่ได้รับคือ การได้รู้จักม้วน VDO ประเภทต่างๆซึ่งบางชนิดก็ยังไม่เคยเห็นมาก่อนร่วมทั้งได้รู้จักเครื่องแปลงไฟล์VDO และได้เรียนรู้ขั้นตอนการแปลงไฟล์ที่ต้องใช้เวลานานพอสมควรซึ่งเป็นเวลาจริงที่VDO เล่น และได้เรียนรู้โปรแกรม Capture อีกชนิดหนึ่งคือโปรแกรม Pinnacle Studio 11

    3.งานออกแบบโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ ในหัวข้อหน่วยวิจัยสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ(HERB) ภายใต้โครงการศูนย์นวัตกรรมทางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เรียนเชิญร่วมฟังบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ Research and Development of Traditional Chinese Medicine in the Postgenomic Era. ในวันพุธที่ 20 ม.ค. 53 ขนาด A4 ซึงมีขั้นตอนการปฎิบัติงานดังนี้คือ
    3.1 ร่างแบบในกระดาษ
    3.2 หารูปภาพที่เกี่ยวข้อง ภาพสมุนไพรต่างๆ
    3.3 ออกแบบในโปรแกรม photoshop CS 3
    3.4 ส่งงานให้พี่เลี้ยงตรวจความถูกต้องเรียบร้อย
    3.5 ส่งงานให้เจ้าของงานตรวจดูความถูกต้องเรียบร้อย
    3.6 ปรับแก้ไขงาน โดยเพิ่มข้อความตามที่เจ้าของงานเสนอ
    3.7 ปริ้นงาน และนำไปติดบอร์ดประชาสัมพันธ์

    ประโยช์นที่ได้รับคือ ได้เรียนรู้เทคนิคการออกแบจากพี่เลี้ยงในเรื่องของการออกแบบฟอต์นให้ดูน่าสนใจด้วยการเพิ่มเงา และตัวนูน รวมถึงการจัดรูปแบบข้อความให้ดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

  26. เรียน อาจารย์น้ำมนต์
    ดิฉันนางสาววารุณี ศิริค่ะ มีปัญหาเกี่ยวกับการเข้าระบบของ wordpress ได้ค่ะ คือไม่สามารถ Login ได้เนื่องจากรหัสไม่ถูกต้องแต่เมื่อคลิ๊กไปที่ลืมรหัสผ่านที่เมลล์ก็ไม่มีรหัสขึ้นสดงจึงไม่สามารถเข้ามารายงานตัวการฝึกงานได้จึงอยากจะสอบถามวิธีแก้ไข และถ้าไม่มีวิธีแก้ไขจึงอยากจะขออนุญาติใช้รหัสของดวงสมรเข้ามารายงานตัวก่อนค่ะ

  27. การฝึกงานสำหรับสัปดาห์ที่ 12 ระหว่างวันที่ 18-22มกราคม 2553
    งานที่ได้รับมอบหมายมีดังนี้
    1. การแปลงม้วนDVD ประเภท Mini DV ด้วยโปรแกรม Pinnacle Studio 11

    ประโยชน์ที่ได้รับคือ การได้เรียนรู้สื่อโสตทัศน์ประเภทม้วน DVD ประเภท VHS, Mini DV,
    U-matic และยังได้เรียนรู้วิธีการแปลงสัญญาณ Analog เป็น Digital ด้วยโปรแกรมPinnacle Studio 11ทั้ง 2 ประเภท

    2. การถ่ายภาพกีฬา ในงานการแข่งขนกีฬาสีภายใน ประจำปี 2552

    ปัญหาและอุปสรรค์ที่พบ คือ การถ่ายภาพกีฬาบาประเภท อย่าง ฟุตบอล, บาสเกตบอล จำเป็นต้องแข่งขันภายในพื้นที่ ที่กำหนดไว้ซึ่งพื้นที่บริเวณนั้นมีลักษณะเป็นรั้วสูงกันรอบ จึงทำให้การถ่ายภาพลำบาก ทางแก้ไข คือ ขออนุญาตอาจารย์ผู้จัดงานเข้าไปถ่ายภาพการแข่ขันภายในรั้วนั้น ซึ่งจะต้องระมัดระวังตัวเองและกล้องถ่ายภาพอย่างมากเพราะไม่ทราบว่าลูกบอลจะลอยมาหาเราตอนไหน ทำให้การถ่ายภาพคอนข้างลำบากมากค่ะ

    ประโยชน์ที่ได้รับ คือ การถ่ายภาพกีฬาจะต้องหามุมภาพที่สามารถบอกเรื่องราวของเหตุการณ์ได้อย่างสวยงาม และเทคนิคการถ่ายภาพ Stop Action

    3. การจัดทำคู่มือ การแปลงสัญญาณ Analog เป็น Digital ด้วยโปรแกรม Pinnacle Studio 11 โดยเรียบเรียงเนื้อหาจากการเรียนรู้จากพี่เลี้ยง และการได้ลงมือปฏิบัติจริง

    ประโยชน์ที่ได้รับคือ ได้เรียนรู้โปรแกรมการ Capture นั้นคือ Cropper 1.9 ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับจับภาพหน้าจอซึ่ง
    วิธีการใช้งานมีดังนี้
    1.เปิดโปรแกรม แล้วกำหนดขนาดที่ต้องการ
    2.กด ALT+Printscreen เพื่อ Capture
    3.ไฟล์จะไปอยู่ที่ Output Folder ที่เราตั้งเอาไว้

  28. นางสาววารุณี ศิริ รหัส 06490196

    การฝึกงานสัปดาห์ที่ 10

    คัดแยกฟิล์มตามปีพ.ศ. แล้วนำมาเรียงวันที่ เดือนตามลำดับ เพื่อนำรายละเอียดไปบันทึกลงบนกระดาษ เป็นข้อมูลดิบก่อนที่จะนำขึ้นเว็บไซด์ และเพื่อสะดวกในการเลือกฟิล์มไปสแกนเป็นไฟล์ดิจิทอลที่ร้าน
    สอบถามร้านล้างรูปเกี่ยวกับข้อมูลและราคาในการนำฟิล์มไปสแกน

    ปัญหาที่พบก็คือ ฟิล์มมีจำนวนมากทำให้ลำบากในการคัดแยกและการจัดเก็บข้อมูล เพราะฟิล์มบางอันไม่มีชื่อ ทำให้ไม่สามรถคัดแยกตามปีได้ จึงต้องแยกไปอยู่ในส่วนที่ไม่รู้ชื่อฟิล์มเพื่อจัดเก็บในส่วนอื่น ๆ

  29. สำหรับการฝึกงานในสัปดาห์ที่ 13 ระหว่างวันที่ 25-28 มกราคม 2553
    งานที่ได้รับมอบหมายคือ
    1.การออกแบบStoryBoard การสร้างระบบฐานข้อมูลคลังสื่อโสตทัศน์ ประเภท VDOและภาพถ่าย โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติงานดังนี้
    1.1 ศึกษาตัวอย่างจากเว็บไซด์ระบบฐานข้อมมูลจากสำนักหอสมุดกลางจุฬาฯและมหาวิทยาลัยบรูพา
    1.2 ออกแบบโดยใช้ photoshop
    2.ออกแบบป้ายโลหะสำหรับติดหน้าห้องประชุมขนาด 56×155 ซม. 1 ป้าย และขนาด 25×50ซม. อีก 1 ป้าย
    โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติงานดังนี้
    2.1พี่เลี้ยงชี้แจงรายละเอียดของงานพร้อมอธิบายการออกแบบและวัสดุที่ใช้
    2.2ออกแบบในโปรแกรม illustator cs3
    2.3ส่งงานออกแบบให้พี่เลี้ยงตรวจดูความถูกต้องเรียบร้อย และความสวยงาม
    2.4ปรับแก้ไขงาน
    2.5ติดต่อร้านผลิตป้ายโลหะเพื่อให้มาดูสถานที่จริงและตกลงเรื่องวัสดุที่รวมทั้งให้ทางร้านเสนอราคาแผ่นป้ายเพื่อที่จะนำไปเสอนอาจารย์เจ้าของงานต่อไป

    ประโยน์ที่ได้รับคือ ได้เรียนรู้การผลิตป้ายโลหะ ละการติดต่อประสานงานกับบุคคลภายนอก
    ทั้งยังได้รับความรู้ในเรื่องการใช้โปรแกรม illustator cs3 สำหรับการออกแบบ

  30. สำหรับการฝึกงานในสัปดาห์ที่ 14 ระหว่างวันที่ 1-5 กุมภาพันธ์ 2553
    งานที่ได้รับมอบหมายคือ

    1. จัดตู้ เพื่อเตรียมวางสื่อโสตทัศน์ประเภทภาพถ่ายและวีดีทัศน์

    2. ภ่ายภาพการออกแบบหน้าปกหนังสื่อ สำหรับศึกษาแนวทางการออกแบบปกหนังสื่อ

    3. วัดและตัดฟิล์มสำหรับติดกระจกของห้องเรียนที่ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ

    4. แต่งภาพให้กับบุคคลากร คณะเภสัชศาสตร์ โดยใช้โปรแกรมPhotoshop cs3 โดยใช้เครื่องมือ Pentool โดยมีขั้นตอนการทำงานดังนี้ คือ
    4.1 เลือกภาพที่เราจะเปลี่ยนแบล็คกร๊าว และเลือกที่เครื่องมือ Pentool
    4.2 คลิ๊กลากเมาส์ ม๊าคในจุดที่เราต้องการ
    4.3 ปรับค่า Opacity เป็น 0%
    4.4 เลือก Add Ancher Point Tool เพื่อเพิ่มจุดม๊าค และจะทำให้นละเอียดมากขึ้น
    4.5 จากนั้นเลือกที่ Paths คลิ๊กขวาเลือก Make Selection เลือกค่า Feather Radius
    4.6 เลือก Select Inverseแล้วกลับมาที่ Layer คลิ๊กเลือกยัง Back ground จากน้นกด Del
    4.7 เลือกสีพื้นหลัง เสร็จเรียบร้อย

    5. ติดตั้งและดำเนินการถ่ายทำชุดอุปกรณ์ E-Learning (Echo 360) ในรายวิชา SPSS ของอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จำนวน 3 ชั่วโมงในการบันทึกภาพ

    6. ถ่ายภาพกิจกรรมในงานจุฬาฯสง่างาม เพื่อเก็บภาพบรรยากาศของงาน

    7. ออกแบบป้ายพาเหรด สำหรับถือในงานกีฬาบุคคลากรที่จะจัดขึ้นในวันที่ 12 ธันวาคม 2553 นี้ โดยใช้โปรแกรมPhotoShop CS3 ออกแบบข้อความ

  31. warunee said

    ฝึกงานสัปดาห์ที่ 11

    การดำเนินการทำโครงงาน ในขั้นตอนนี้จะเป็นการเรียนรู้ วิดีโอ ไม่ว่าจะเป็นการแยกประเภทของวิดีโอ การแปลงไฟล์วิดีโอ การใช้งานโปรแกรมในการแปลงไฟล์และการตัดต่อ
    ซึ่งในขั้นตอนนี้พี่เลี้ยงได้แนะนำการทำงานทั้งหมด

    ในขั้นตอนการแยกประเภทวิดีโอ ก็จะเรียงวันเดือนปีตามลำดับ และจัดทำ Label เพื่อเก็บลงสมุดบัญชีรายการ
    ในขั้นตอนการแปลงไฟล์ พี่เลี้ยงจะแนะการต่อสายของเครื่องเล่นวิดีโอเข้ากับขั้วของตัวการ์ดที่จะใช้แปลงอนาล็อกเป็นไฟล์ดิจิตอล และใช้โปรแกรมในการแปลงที่ให้มาพร้อมกับการ์ดที่ได้ซื้อ ของยี่ห้อ Pinnacal

  32. warunee said

    ฝึกงานสัปดาห์ที่ 11

    ปัญหาที่พบ คือ วิดีโอบางม้วนไม่มีชื่องานจึงไม่สามารถใส่รหัสให้กับม้วนเทปได้ ดังนั้น จึงต้องแยกออกไปอยู่อีกส่วนของไม่มีชื่องาน เพื่อรอการกำหนดรหัสเรียกต่อไป

  33. warunee said

    ฝึกงานสัปดาห์ที่ 12

    งานที่ได้รับมอบหมายในสัปดาห์นี้ คือ การตัดต่อวิดีโองานมัชฌิมนิเทศ ด้วยโปรแกรม Ulead video studio11 เป็นการตัดต่ดไฟล์วิดีโอที่ถ่ายกิจกรรมตลอดทั้ง 3 วันที่ จ. ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งไฟล์วิดีโอที่ถ่ายมีไฟล์มากกว่า 50 ไฟล์ ดังนั้นก่อนที่ตัดต่อจะต้องคัดเลือกไฟล์วิดีโอก่อน และเมื่อนำเข้าสู่โปรแกรมความยาวของไฟล์วิดีโอที่งหมดมีความยาวรวมทั้งสิ้น 10 กว่าชั่วโมง ซึ่งจะต้องตัดให้เหลือ 2 ชั่วโมงครึ่ง จึงต้องใช้เวลาในการคัดเลือกและตัดกิจกรรมที่มีความสำคัญเก็บไว้ และต้องเก็บไฟล์วิดีโอที่เป็น Master สำหรับคนที่ต้องการไฟล์วิดีโอทั้งหมด

    งานที่ 2 คือการถ่ายภาพกิจกรรมงานกีฬาสีภายในคณะเภสัชศาสตร์
    ในช่วงแรกของสัปดาห์จะเป้นการแข่งขันในช่วงเย็นของวัน ปัญหาที่พบก็คือ แสงไม่พอ ทำให้ต้องใช้แฟลชและปรับค่า ISO ให้สูงขึ้นกว่าช่วงเช้า เพื่อให้ภาพมีความคมชัดและแสงที่สว่างขึ้น ในวันศุกร์ก็จะเป็นการแข่งขันกีฬาทั้งวัน การจับภาพก็จะง่ายกว่าการถ่ายภาพตอนเย็น แต่ปัญหาที่พบก็จะเป็นการจับภาพการแข่งขันกีฬา ในบางครั้งถ่ายภาพออกมานักกีฬาจะมีการเคลื่อนไหวทำให้ภาพไม่ชัด จึงต้องเพิ่ม ISO ให้เพิ่มขึ้น

  34. warunee said

    ฝึกงานสัปดาห์ที่ 13

    ในสัปดาห์นี้จะเป็นการตัดต่อวิดีโองานมัชฌิมนิเทศต่อ โดยการจัดเรียงไฟล์วิดีโอที่ถ่ายไว้ แล้วนำมาตัดต่อให้มีความกระชับขึ้น และตัดบางส่วนออกไม่ให้ยาวเกินไป

    จัดเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์เพื่อดำเนินการโครงงาน ตามที่ได้กำหนดไว้ และจัดซื้ออุปกณณ์บางอย่างที่ขาด เช่น กล่องใส่แผ่นซีดี หรือสมุดสำหรับทำรายการเลขเรียกสื่อ เพื่อดำเนินโครงงานให้เป็นไปตามที่กำหนด

    ศึกษาระบบการติดต่องานการทำป้ายโลหะ โดยต้องติดต่อให้บริษัทเข้ามาตีราคา และกำหนดขนาดของป้ายตามพื้นที่จริง จากที่ได้ศึกษานั้นกระบวนการทำงานของบริษัทจะค่อนข้างรวดเร็ว ติดต่อไป ก็จะดำเนินการทันที แต่ถ้าเราไม่โทรไปย้ำหรือเร่งการทำงาน บางครั้งก็
    ทำให้งานล่าช้าออกไป

  35. warunee said

    สำหรับการฝึกงานในสัปดาห์ที่ 14

    – ตัดต่อวิดีโองานมัชฌิมนิเทศ นำมาตัดต่อให้มีความกระชับขึ้น และตัดบางส่วนออกไม่ให้ยาวเกินไป เน้นกิจกรรมการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

    – จัดตู้ เพื่อเตรียมวางสื่อโสตทัศน์ประเภทภาพถ่ายและวีดีทัศน์

    – งานวัดและตัดฟิล์มติดกระจกที่ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์

    – ติดตั้งและถ่ายทำชุดอุปกรณ์Echo 360 ในรายวิชา SPSS

    – ถ่ายภาพกิจกรรมและบรรยากาศภายในงานจุฬาฯสง่างาม ที่ศาลาพระเกี๊ยว

  36. warunee said

    สัปดาห์ที่ 15

    ในช่วงของสัปดาห์นี้ จะเป็นการลงมือทำโครงงานคลังสื่อโสตทัศน์อย่างจริง คือ การลงมือปฏิบัติการใช้งานโปรแกรม joomla ซึ่งการใช้โปรแกรมนี้จะต้องศึกษาขั้นตอนหรือการจัดการระบบการทำงานให้เข้าใจเสียก่อน จึงศึกษาจากวิดีโอการใช้งานและจากคู่มือก่อนลงมือปฏิบัติจริง

    การลงมือปฏิบัติใช้โปรแกรม joomla ในช่วงแรกจะเป็นการศึกษาระบบการทำงานของโปรแกรม ค่อย ๆ เรียนรู้และศึกษาจากวิดีโอและคู่มือ การจัดการ joomla นั้น ต้องเข้าใจเครื่องมือการใช้งานและคำสั่ง และในบางครั้งก็มีปัญหากับตัวของ sever จึงต้องเข้าไปปรึกษากับอาจารย์ประจำโครงงาน เพื่อทำการแก้ไขและรองรับการปฏิบัติงานของเรา วึ่งการจะจัดการระบบภายใน joomla นั้นจะต้องมีการนำตัวเสริมเข้ามาติดตั้งภายในโปรแกรมก่อนเพื่อรองรับการใช้งานที่ต้องการ คือ โครงงานคลังสื่อโสตทัศน์ จะเน้นภาพถ่ายและวิดีโอ จึงต้องหาตัวเสริมเพื่อจัดทำแกลอรี่ภาพและวิดีโอเพื่อจัดเก็บไฟล์ให้เป็นระเบียบ และสะดวกในการค้นหา

    ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบ คือ เมื่อนำตัวเสริมมาทำการติดตั้งแล้ว ตัวเสริมโปรแกรมใช้งานไม่ได้ วิธีแก้ไข ก็คือถามผู้รู้ที่มีประสบการณ์

RSS feed for comments on this post · TrackBack URI

Leave a reply to Douengsamorn Cancel reply