สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

33 Comments »

  1. doughnut193 said

    วิสัยทัศน์ พันธกิจ

    :: วิสัยทัศน์

    สถาบันวิทยบริการเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่เพียบพร้อม สมบูรณ์ด้วยทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทที่มีมาตรฐาน สามารถให้บริการสนองความต้องการด้านการเรียน การสอน การวิจัย และความใฝ่รู้ของประชาคมมหาวิทยาลัย และสังคม

    :: พันธกิจ

    เป็นศูนย์กลางความรู้ (Knowledge Center) โดยบุกเบิก แสวงหา สรรสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาคมจุฬาฯ และสังคม

    :: นโยบายสถาบัน

    เสริมสร้างบทบาทในการเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ของจุฬาฯ
    1.1 จัดหา รวบรวม ผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ นักวิจัย บุคลากร และนิสิต
    1.2 จัดสร้างฐานข้อมูลพื้นถิ่น
    1.3 เชื่อมประสานและชี้แหล่งอ้างอิงผลงานวิชาการ
    พัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ เผยแพร่ และให้บริการสารสนเทศ แก่ประชาคมจุฬาฯ และสังคม
    2.1 เสริมสร้างความแข็งแกร่งในการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
    2.2 พัฒนาระบบการให้บริการสารสนเทศ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่
    2.3 สนับสนุนและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
    2.4 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการผลิตสื่อการศึกษา และการเรียนการสอนทางไกล
    2.5 เสริมสร้างทักษะการเข้าถึง และสืบค้นสารสนเทศ บนเครือข่ายทั้งในและนอกจุฬาฯ
    ปรับปรุงและพัฒนาการบริหารจัดการ
    3.1 ดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์เชิงรุก
    3.2 พัฒนาระบบกายภาพ
    3.3 ดำเนินการระบบประกันคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
    3.4 สร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการองค์กร
    3.5 พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
    ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
    4.1 จัดกิจกรรมด้านการแสดงนิทรรศการ ศิลปะการแสดง การแสดงดนตรี และการสัมมนาทางวิชาการของศิลปิน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
    4.2 จัดกิจกรรมเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม แก่นิสิต ในลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเอง
    4.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาคมจุฬาฯ ได้เกิดสุนทรีย์ในงานศิลปะผ่านระบบเครือข่าย (Virtual Exhibition)
    ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม
    5.1 จัดโครงการฝึกอบรมเพื่อเผยแพร่ความรู้ ด้านการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ การจัดสร้างฐานข้อมูล การผลิตสื่อการศึกษา
    :: นโยบายคุณภาพ
    สถาบันวิทยบริการ มีความมุ่งมั่นที่จะบุกเบิก แสวงหา สรรสร้าง บริการและเผยแพร่ความรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และวิจัย ด้วยการ พัฒนาระบบบริหารและบริการ เพื่อมุ่งให้เกิดความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการทุกระดับ โดยมีเกณฑ์ที่ชัดเจน โปร่งใส และมีพัฒนาการเพื่อให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานสากล

  2. et06490198 said

    ศูนย์โสตทัศนศึกษากลาง
    ศูนย์โสตทัศนศึกษากลางเป็นหน่วยงานกลางของมหาวิทยาลัย มีหน้าที่บริการและสนับสนุนการเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัยของอาจารย์ นิสิต บุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดจนบุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัย โดยให้บริการด้านการผลิต ให้คำปรึกษา วางแผนในการผลิตสื่อ การใช้สื่อต่างๆ รวมทั้งการจัดหา ให้บริการใช้และให้ยืมสื่อการศึกษาประเภทต่างๆ โดยมีเป้าหมายเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำในงานบริการด้านสื่อการศึกษา ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้พัฒนาจึงได้พยายามพัฒนารูปแบบการให้บริการทั้งในด้านงานผลิตและงานบริการ รวมทั้งนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ทันสมัยมาใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษาให้ได้มากที่สุด
    ศูนย์โสตทัศนศึกษากลางแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบออกเป็น 2 ฝ่าย คือ

    ฝ่ายผลิตสื่อการศึกษา (Media Production Department)

    ทำหน้าที่ผลิตสื่อการศึกษาประเภทต่าง ๆ คือ สื่อโทรทัศน์ บริการผลิตสื่อรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาและเพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ถ่ายทำและบันทึกเทปโทรทัศน์ในระบบ VHS BETACAM SP และ DIGITAL ตัดต่อลำดับภาพและเสียงรายการโทรทัศน์ จัดทำโทรทัศน์วงจรปิด ทำสำเนาเทปโทรทัศน์ ทำภาพเคลื่อนไหวและงานกราฟิคโทรทัศน์ด้วยคอมพิวเตอร์ ถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียงเพื่อเผยแพร่และเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย แปลงสัญญาณเทปโทรทัศน์เป็นดิจิตอล สื่อภาพถ่าย บริการล้าง อัด ขยายภาพขาว-ดำ ถ่ายภาพสีและขาว-ดำ ถ่ายภาพในสตูดิโอ ถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอล ถ่ายสไลด์ ทำสำเนาภาพและสไลด์ ผลิตสไลด์ติดโทนสี สื่อกราฟิค บริการออกแบบงานศิลป์ ผลิตแผนภาพ การ์ตูน เขียนตัวอักษรและผลิตโปสเตอร์ด้วยมือและคอมพิวเตอร์ พิมพ์ภาพสี ต้นฉบับงานสไลด์ งานโทรทัศน์และงานพิมพ์ต่าง ๆ ออกแบบและจัดทำหน้าจอ ทำภาพเคลื่อนไหว สแกนภาพและสไลด์ สื่อมัลติมีเดีย บริการผลิตสื่อมัลติมีเดีย สื่อการนำเสนอ Presentation เพื่อการเรียนการสอนและการประชาสัมพันธ์ ผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แปลงสัญญาณเสียงเป็นดิจิตอล ทำต้นฉบับ และทำสำเนาซีดีรอม สื่อทางเสียง บริการบันทึกเสียงในห้องปฏิบัติการ บันทึกเสียงบรรยายประกอบเทปโทรทัศน์ สไลด์ บันทึกเสียงการประชุมสัมมนา ผลิตรายการวิทยุ ทำสำเนาเทปบันทึกเสียง ใส่สัญญาณเสียงให้ตรงกับภาพ นอกจากนี้ยังบริการถ่ายทอดสัญญาณและผลิตสื่อเพื่อใช้ในระบบการเรียนการสอนทางไกล ผลิต Courseware ที่ใช้ในการเรียนการสอน เป็นศูนย์กลางการทำ Multipoint conference system และเป็นส่วนหนึ่งในเครือข่ายการเรียนรู้ทางไกลของ World bank รวมถึงทำหน้าที่เป็น Organizer ในการจัดทำ Video conference ให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่สนใจ

    ฝ่ายบริการสื่อการศึกษา (Instruction Media Services Department)

    ให้บริการใช้โสตทัศนวัสดุนานาชนิด อาทิ ซีดีรอมสอนภาษา และเพลง ดีวีดีภาพยนตร์เพื่อการศึกษา วัสดุย่อส่วนในระบบดิจิทัล และมัลติมีเดียสตรีมมิ่ง เป็นต้น รวมทั้งให้บริการโสตทัศนูปกรณ์ เช่น เครื่องฉายภาพสามมิติ เครื่องฉายสไลด์ อุปกรณ์แสงเสียงเพื่อการนำเสนอ
    นอกจากนี้ทางศูนย์โสตทัศนศึกษากลางได้ร่วมมือกับบริษัท แอปเปิลไทยแลนด์ จำกัด จัดตั้งห้องปฏิบัติการผลิตสื่อการศึกษาแบบนอนลิเนียร์ (Non-Linear Editing Studio) ขึ้น เพื่อให้บริการแก่นิสิต อาจารย์ และบุคคลที่สนใจในการใช้งานบนเครื่อง Macintosh

  3. et06490198 said

    สำหรับสัปดาห์แรกของการฝึกงาน ณ สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่จะฝึกในแผนกงานผลิตสื่อกราฟิก โดยเริ่มจากตัด Posterประชาสัมพันธ์งาน Book Fair ที่จะมีขึ้นในเร็วๆนี้ ซึ่งเป็นงานที่เร่งด่วนมาก จึงต้องช่วยพี่ๆแผนกกราฟิกออกแบบสื่อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงาน Book Fair ด้วย

    นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติจริงเกี่ยวกับอุปกรณ์แต่ละชนิดของห้องบันทึกเทปโทรทัศน์ เช่น Anycast Station ใช้สำหรับ Switch ภาพจากกล้อง
    แต่ละตัวที่กำลัง On Air ซึ่งใช้ควบคู่กับเครื่อง CCU (Camera Control Unit) ใช้สำหรับควบคุมภาพในการถ่ายทำทั้งหมด และรวมไปถึงการใช้เครืองมือ Vector Phrse ที่เกี่ยวกับการปรับสี/ควบคุมสีของจอภาพในการถ่ายทำ ถือว่าเป็นการเรียนรู้ที่แปลกใหม่ และน่าสนใจเป็นอย่างมาก

    แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก่อนเริ่มฝึกงานของสัปดาห์แรก พี่เลี้ยงได้ให้นักศึกษาฝึกงานจัดตารางการปฏิบัติงานได้ตามอิสระตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย.52 – 12 ก.พ.52 ซึ่งต้องสัมพันธ์กับเวลาของพี่ๆแต่ละแผนกที่จะสอนด้วย จึงต้องปรับเปลี่ยนตารางการปฏิบัติงานอยู่เรื่อย แต่ท้ายที่สุดก็ลงตัวจนเป็นที่พอใจทั้งสองฝ่าย

  4. doughnut193 said

    สัปดาห์แรกของการฝึกงานที่สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอสรุปดังนี้

    – ได้ทำการจัดตารางฝึกงานของตัวเอง ว่าต้องการฝึกด้านไหน ช่วงไหน แล้วส่งพี่ๆ ทุกแผนก
    – ได้เรียนรู้การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับงาน book fair ที่จะจัดขึ้นเร็วๆนี้
    – ได้รับมอบหมายให้ออกแบบบัตรความประทับใจที่จะใช้ในงานบุ๊คแฟร์ เป็นบัตรสำรวจความคิดเห็นที่ไม่น่าเบื่อ
    – เรียนรู้การถ่ายภาพเบื้องต้นในสตูดิโอ เพราะพี่เลี้ยงให้ถ่ายรูปติดบัตร ผลัดกันถ่าย
    – เรียนรู้เรื่องโทรทัศน์ เกี่ยวกับอุปกรณ์เบื้องต้นในการถ่ายทอดสด การบันทึกเทปโทรทัศน์เบื้องต้น
    – แล้วก็ช่วยงานเล็ก ๆ น้อย ๆ เก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปเรื่อยๆ

  5. et06490198 said

    จากการฝึกงานสัปดาห์ที่ผ่านมา (9-13 พ.ย.) ได้เรียนรู้การใช้อุปกรณ์ในห้องบันทึกเทปโทรทัศน์ โดยเฉพาะเรียนรู้เครื่อง Anycast Station ใช้สำหรับ
    Switch ภาพจากกล้องแต่ละตัว ซึ่งใช้ควบคู้กับเครื่อง CCU (Camera Control
    Unit) ใช้ควบคุมภาพในการถ่ายทำทั้งหมด รวมทั้งการใช้เครื่องมือ Vector Phrse
    เกี่ยวกับการปรับสี / ควบคุมสีของจอภาพในการถ่ายทำ

    นอกจากนี้ยังได้รับมอบหมายให้ทำงานแผนกผลิตสื่อ Graphic ซึ่งออกแบบ
    ตัว Caption / CG TV สำหรับคั่นรายการโทรทัศน์งาน Book Fair ครั้งที่ 8
    พร้อมจัดเตรียมสถานนที่ อุปกรณ์ แบะวางแผนกระบวนการถ่ายทำสำหรับถ่ายทำ
    จริงในวันงานสัปดาห์หนังสือ (Book Fair)

  6. doughnut193 said

    สรุปสัปดาห์ที่ผ่านมา (9-13 พ.ย.) ก็ยังคงเป็นเรื่องการทำรายการโทรทัศน์ เรียนรู้การใช้เครื่อง Anycast Station ให้เป็น การใช้ การควบคุมกล้องด้วย ccu

    เรียนรู้การวัด การใช้เครื่องมือ Vector Phrse การปรับ W/B ของกล้อง เพื่อให้กล้องสองตัวมีสีใกล้เคียงกันมากที่สุด

    ทำ CG ชื่อ และ title เพื่อรองรับการใช้ในงาน book fair ที่จะจัดขึ้นอาทิตย์หน้า

    เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อม ซ้อมใช้ก่อน เพื่อเป้นการเตรียมความพร้อมอีกที ก่อนทำงานจริง

  7. et06490198 said

    สัปดาห์นี้ (16-19 พ.ย.) เป็นสัปดาห์งานหนังสือ(Book Fair) ได้ฝึกปฏิบัติจริงเกี่ยวกับการใช้กล้อง 2 ตัวสำหรับถ่ายทอดรายการโทรทัศน์ในงานสัปดาห์หนังสือ (Book Fair) ได้ตืดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายทำโทรทัศน์ทั้งหมด รวมทั้งการจัดตำแหน่งถ่ายทำสถานที่ภายในงานด้วย

    นอกจากนี้ ยังได้ฝึกจริงกับการ Switch ภาพไปมาระหว่างกล้องถ่ายทำ 2 ตัว เพื่อ Record รายการ Talk ทุกวัน

    จากที่ได้ฝึกมาในสัปดาห์นี้ นอกจากจะเรียนรู้การใช้กล้องและ switch ในการบันทึกเทปโทรทัศน์ ยังได้เรียนรู้การใช้เทคนิคต่างๆในการถ่ายทำทั้งหมดด้วย เช่น การ Pan กล้อง การ Zoom In/ Zoom Out เป็นต้น

  8. doughnut193 said

    วันที่ 16-19 พ.ย. ได้มีการฝึกงานภาคปฏิบัติอย่างจริงจัง เนื่องจากงาน Book Fair ที่มีขึ้นทั้งอาทิตย์ ทำให้ได้ทำงานกันอย่างหนัก และได้ทำในสิ่งที่ไม่เคยได้ทำมาก่อน

    เนื่องจากทางสถาบันต้องการให้บันทึกวีดิโองานทั้งหมด พี่เลี้ยงเลยให้ทำการบันทึกเทปโทรทัศน์แบบ Multi cam มีกล้อง 2 ตัว switcher 1 ตัว โดยผลัดกันทำหน้าที่ ทั้งตากล้องและswitcher

    นอกจากจะได้รับหน้าที่ถ่ายทำแล้วก็ต้องเซ็ทเครื่องเองทั้งหมด ทั้งต่อสายต่าง ๆ การตั้ง w/b ของกล้อง การต่อภาพและเสียงเข้าเครื่อง Anycast แล้ว CCU

    ซึ่งตอนถ่ายทำทำให้ได้ใช้งานกล้องจริงๆ ได้เทคนิคการถ่ายวิดิโอ ที่ยากก็เช่นการ Zoom in-onair การ pan กล้องต่างๆ เทคนิคการถ่ายภาพมากมาย ซึ่งก็ต้องใช้ความชำนาญพอควร

    พอไปทำงานเป็น switcher ก็ยุ่งยากพอสมควร ต้องดูมุมกล้อง เลือกมุม ใส่ CG ต้องกระสานงานกับตากล้องด้วย intercom เผื่อหามุมให้ถูกใจ การสวิชต์ภาพระหว่างกล้องด้วยกัน และคอมพิวเตอร์ การใส่ CG ของงาน การขึ้นชื่อต่าง ๆ

  9. Nammon said

    เดือนที่แล้ว พวกเราเน้นงานทั้งด้านวิดีทัศน์ ไม่รู้ว่าจะเชี่ยวชาญแล้วยังนะ แต่ครูว่าต้องเก่งขึ้นกว่าก่อนไปอย่างแน่นอน เพราะได้ฝึก ได้เรียนรู้ และได้ปฏิบัติจริงขนาดนี้ เรียนรู้ไว้เยอะๆ นะคะ จะได้เก่งๆ ค่ะ

    อ.เปิ้ล

  10. Siriporn said

    สัปดาห์ที่ 4 (23-27 พ.ย.) ศึกษาเรียนรู้อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ถ่ายทำรายการโทรทัศน์ภายในห้อง Control Room ซึ่งมีอุปกรณ์หลักๆคือ เครื่อง Switch ซึ่งมี 2 ตัวแยกทำงานกัน ได้แก่ Switch DFS-500 ใช้สำหรับปล่อยออกอากาศหรือใช้งานทั่วไป และ Switch DFS-700 มีความคมชัดมาก จะใช้งานได้ดี ส่วนใหญ่ใช้สำหรับเตรียมออกอากาศหรือบันทึก (Record) งานถ่ายทำนั้นๆ
    เรียนรู้โปรแกรม Inscriber/CG Supreme คือ โปรแกรมทำ CG ออกอากาศโดยเฉพาะ สามารถทำอะไรได้มากมาย
    อุปกรณ์ Extron คือโปรแกรมที่ใช้แปลงสัญญาณ VGA เป็นสัญญาณ VDO ให้เป็นคอมเพอร์แนนซ์อีกที
    ในส่วนของอุปกรณ์ที่เรียกว่า VTR คือเครื่องบันทึกด้วย VDCAM ซึ่ง Playback ได้และอุปกรณ์ Mixer คือตัวควบคุมเสียงซึ่งใช้สำหรับเลือกสัญญาณเข้ามาใช้ในการปล่อยออกอากาศ ซึ่งในกิจกรรมที่เรียนรู้ในครั้งนี้ ทำให้เห็นระบบการทำงานจริงของการถ่ายทอดออกอากาศจากเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ทำงานสัมพันธ์กัน

    ได้มีโอกาสถ่ายภาพจากหนังสือเก่าภายในห้อง Studio และนำไฟล์ลงเครื่อง Computer จัดการ Rotate ให้เป็นแนวตั้งพร้อมทั้ง Rename File ทุกภาพ

    ได้รับมอบหมายให้ควบคุมกล้องสำหรับบันทึกโทรทัศน์ในงานแสดงคนตรีของสถาบันวิทยบริการ

    พี่เลี้ยงแผนก TV ได้ Comment การปฏิบัติงานถ่ายทำบันทึกเทปโทรทัศน์ภายในงานแสดงดนตรีของสถาบันวิทยบริการ ในแง่ของการหามุมภาพ, การจัดตำแหน่งภาพ เพื่อให้ภาพที่ถ่ายทำเกิดความต่อเนื่องกัน ซึ่งในการปฏิบัติงานในครั้งนี้ ถือว่ามีข้อผิดพลาดน้อยเพราะพี่เลี้ยงแผนก TV คอยสั่งการผ่านทาง Intercom ของกล้องทั้ง 3 ตัว ที่จับบันทึกภาพงานแสดงดนตรีได้อย่างชัดเจน

  11. doughnut193 said

    อาทิตย์ที่ 23-27 พ.ย.

    อาทิตย์ที่ผ่านมาพี่เลี้ยงพาไปทำความรู้จักกับห้อง Control Room ในห้องบันทึกเทปโทรทัศน์ ซึ่งอุปกรณ์ภายในค่อนข้างเก่า แต่ก็ยังสามารถใช้งานได้อยู่

    ภายในห้องก็จะมีอุปกรณ์ที่พอจะคุ้นๆ หน้าหลายอย่าง เช่น switcher มอนิเตอร์ และ ccu แต่การทำงานจะเป้นแบบใช้ร่วมกันหลายตัว ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้เพราะใช้สำหรับงานในห้อง Studio เท่านั้น การเคลื่อนย้ายค่อนข้างลำบาก

    ทั้งนี้พี่เลี้ยงได้แนะนำให้รู้จักโปรแกรม Inscriber/CG Supreme เป็นโปรแกรมทำ cg ที่เห็นและได้ลองเล่นโปรแกรมนี้ ค่อนข้างใช้ยากและหน้าตาโปรแกรมไม่ค่อยสวยเลย แต่มันสามารถทำตัววิ่งข้างล่างได้ง่าย เหมือนเวลามีข่าวสั้นๆ ตรงนั้นจะสะดวกมาก

    นอกจากนั้นช่วงปลายอาทิตย์มีคอนเสิร์ตที่ด้านหน้าสถาบัน (กลางแจ้ง) ก็รับอาสาช่วยงานพี่ๆ ตอนแรกงานจะจัดช่วง 5 โมงเย็นไปถึง 1 ทุ่ม เห็นคนไม่พอเราเลยไปช่วยเสริม ทั้งเซ็ตเครื่อง อุปกรณ์ และถ่ายภาพโทรทัศน์ ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดจะต่อกับรถ OB พี่บางคนก็เรียกรถ Mobile Unique ทำให้เราได้ทดลองอุปกรณ์ต่าง ๆ บนรถ OB ครั้งแรก พี่ก็ให้เราทดลองเล่นกันเต็มที่

    การถ่ายภาพโทรทัศน์งานคอนเสิร์ตจะไม่เหมือนงาน Book fair ที่ผ่านมา คือต้องการความอ่อนไหว นุ่มนวล ความต่อเนื่องของภาพ การจับการเคลื่อนไหวของผู้เล่นดนตรีต้องสัมพันธ์กับเนื้อเพลง ซึ่งตรงนี้ก็ลำบากเพราะบางทีเราไม่คุ้นกับเพลงที่เขาเล่น การหามุมภาพที่ต้องไปกันได้กับดนตรี ซึ่งตรงนี้การแพนกล้องจะช่วยได้มาก ^^

  12. Siriporn said

    สัปดาห์ที่ 5 (30 พ.ย.- 4 ธ.ค.)
    วันแรกของอาทิตย์นี้ได้ไปปฏิบัติงานที่ห้อง Studio ถ่ายรูป ซึ่งได้รับมอบหมายให้ช่วยพี่เลี้ยงจ้ดการตกแต่งรูปด้วยโปรแกรม Photoshop และ ทำการ Print รูปที่แต่งลงกระดาษ Photo และพิมพ์เอกสารที่สำคัญทางราชการตามที่พี่เลี้ยงได้เตรียมไว้

    วันถัดมาได้ฝึกกับฝ่าย TV ทั้งอาทิตย์ ซึ่งอาทิตย์นี้ถือว่างานเยอะและยุ่งมาก ต้องออกนอกสถานที่ไปถ่ายทำเทปโทรทัศน์บ่อยๆ ส่วนใหญ่เป็นงานภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยยึดรถ OB (Outdoor Broadcast) เป็นฐานในการถ่ายทำงานนั้นๆ ทั้งงานภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ บริเวณหน้าอาคารหอประวัติจุฬาฯ, อาคารจามจุรี 4 ชั้น2, และคณะเภสัชฯ ชั้น 10 การปฏิบัติงานส่วนใหญ่จะทำหน้าที่เหมือนเดิม คือ การเป็นตากล้องโทรทัศน์, การ Set-Up อุปกรณ์ทุกอย่างทุกชิ้น, เดินสานเคเบิ้ล, การตรวจเช็คอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมออย่างการทดสอบเสียงและจอภาพ, เป็น Assitance ให้กับพี่ๆฝ่าย TV และทดลองเป็น Switcher บ้างแต่ไม่บ่อย เพราะงานที่ถ่ายทำนั้นมักจะออกอากาศทาง U-Network กลัวเกิดข้อผิดพลาด จึงไม่ได้ยึดหน้าที่ทำ Switcher อย่างจริงจัง

    จากการที่ได้ปฏิบัติงานภายในอาทิตย์นี้ ยังแสดงให้เห็นถึงการเตรียมงานที่ต้องสัมพันธ์กับหลายๆฝ่ายในบริเวณงานนั้นๆ ซึ่งต้องร่วมมือกันทำงานเเป็นทีมอยู่เสมอ แต่งานในบางครั้งก็มีอุปสรรคบ้าง คือ ทางผู้จัดงาน ได้แจ้งให้ทางทีมงานเราถ่ายทำโทรทัศน์งานนั้นอย่างกะทันหัน จึงทำให้การเตรียมการถ่ายทำงานวุ่นวายพอสมควร เพราะไม่ได้ประสานงานหรือดูสถานที่ที่จัดงานล่วงหน้าได้ แต่สุดท้ายงานก็ดำเนินการผ่านไปได้ด้วยดี

    และประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง คือ เมื่อร็วๆนี้ได้ไปเตรียมการ Set-Up อุปกรณ์ภายในคณะเภสัชฯ ชั้น10 ได้เกิดอุบัติเหตุโดยที่ทุกคนไม่ได้ทันระวัง กล้องถ่ายโทรทัศน์และขาตั้งกล้องที่ได้ Set-Up ไว้เรียบร้อยแล้วเกิดล้มลงอย่างแรงจนกล้องโทรทัศน์และขาตั้งกล้องหักเสียหาย จนพี่ๆฝ่าย TV เกิดอาการเครียดขึ้นมาเล็กน้อย เลยเหลือกล้องที่ใช้งานจริงอยู่ 2 ตัว แต่คาดว่าวันงานจริงวันอังคารที่ 8 ธ.ค. คงต้องขนย้ายกล้องอีกตัวจากห้อง Studio TV ไป Set- Up ที่คณะเภสัชฯอีกตัวหนึ่ง

  13. doughnut193 said

    อาทิตย์ที่ 30 พ.ย.- 4 ธ.ค.

    งานในอาทิตย์นี้ยังคงอยู่ที่ฝ่ายโทรทัศน์ ส่วนใหญ่เป็นงานออกนอกพื้นที่ หน้าที่ที่ได้รับก็คงคล้าย ๆ เดิม

    อย่างงานตึกจักรฯสู่ตึกจุลฯ ตอนแรกพี่เลี้ยงบอกว่าจะให้ไปดูพวกพี่ทำงานเฉยๆ เพราะเป็นงานค่อนข้างเป็นทางการและรองอธิบดีมาเปิด โดยงานนี้ที่สถาบันฯใช้รถ OB Van เราก็เดินสาย ตั้งเครื่อง อุปกรณ์ต่าง ๆ เหมือนเดิมพอถึงเวลาพี่ก็มอบหมายให้ไปเป็นทำหน้าที่เป็นตากล้อง (ซะงั้น) คุมกล้อง 2 อยู่ข้างหน้า ทำให้ตื่นเต้นพอสมควรเพราะเป็นงานค่อนข้างพิธีการ

    งานประชุมสัมมนา EU PF7 (Seventh Framework Program) เป็นการประชุมที่มีแต่นักวิชาการ คนค่อนข้างเยอะ ทางผู้จัดเลยแบ่งเป็นสองห้อง ทำเหมือน conference ไปอีกห้องหนึ่ง พอเซ็ตอุปกรณ์ต่าง ๆ เสร็จ งานนี้ใช้กล้อง 3 ตัวswitch 1 ตัว พี่ก็ถามว่าใครอยากจะสวิตช์ภาพบ้างไหม แต่ทุกคนก็ไม่กล้าเพราะงานวิชาการเกินไป พี่เลี้ยงเลยให้คุมกล้องหนึ่งตัว ผลัดกัน แต่เนื่องจากเป็นงานสัมมนาเลยไม่ต้องหามุมอะไรมาก ปล่อยภาพไปเรื่อย ๆ งานสัมมนาเริ่มไปพักนึง เรื่องไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น พี่เลี้ยงขอตัวไปทานข้าว เลยให้นัทสวิตช์ภาพแทน ตอนแรกก็กลัวๆ กลัวผิดเดี๋ยวผู้เข้าร่วมสัมมนาอีกห้องจะมาว่า แต่ก็สวิตช์ไปพักใหญ่จนกว่าพี่เค้าจะมา มีหลุดๆ บ้างเล็กน้อย

  14. eknarin said

    เขียนได้ละเอียดดีมากนะคับ เรียนรู้ให้มากนะครับ ระบบการทำงานสำคัญมากกว่างานครับ

  15. Siriporn said

    สัปดาห์ที่ 6 (8-9 ธ.ค. 52)
    สัปดาห์นี้ก็ยังปฏิบัติงานเกี่ยวกับฝ่าย TV โดย Set-Up อุปกรณ์การถ่ายทำโทรทัศน์ทั้งหมดนอกสถานที่ทั้ง 2 วัน ทั้ง ทดสอบ Intercom ของกล้องทั้งหมด, ทดสอบสีจอภาพ, การปรับ White Balance ของกล้องโทรทัศน์ เป็นต้น ซึ่งช่วงแรกของงาน พี่ๆทีมงานจะประสานงานและดำเนินงานเองทั้งหมด เพื่อให้เราเห็นการปฏิบัติงานของพี่ๆทีมงาน จากนั้นช่วงหลัง พี่ๆทีมงานจะปล่อยให้เราควบคุมกล้องโทรทัศน์ จับหามุมภาพต่างๆเพื่อถ่ายทอดออกอากาศตลอดจนงานสิ้นสุด

    นอกจากนั้น หลังจากการปฏิบัติงานนอกสถานที่ทุกครั้งต้องเก็บอุปกรณ์การถ่ายทำทั้งหมดให้เรียบร้อย ซึ่งค่อนข้างระมัดระวังในการเก็บอุปกรณ์ทั้งหมด เพื่อยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์การถ่ายทำ อย่างการเก็บสายเคเบิ้ล, การเก็บขาตั้งกล้องและ Dolly ของกล้อง และ View Finder เป็นต้น ต้องมีหลักการเก็บที่ถูกต้องตามที่พี่ๆฝ่าย TV แนะนำ

  16. doughnut193 said

    สัปดาห์ 8-9 ธ.ค. 52

    สัปดาห์นี้มีงานสัมมนาของคณะเภสัชฯ โดยมีงานตลอดทั้งวัน ที่ฝั่งเภสัช ก็ได้ทำงานด้านโทรทัศน์เช่นเคย ทั้งขนย้าย เซ็ทอัพอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมถึงการเป็น Camera man อีกด้วย ซึ่งงานนี้ถือว่าเป็นงานที่ใหญ่มีเภสัชกรดังๆ มามากมาย เช่น ดร.กฤษณา ไกรสินธิ์ เป็นต้น

    การทำงานยังคงเป็นลักษณะเดิม ซึ่งถือว่าเป็นการดี เพราะเหมือนกับว่าเป็นการทบทวนที่เคยเรียน ที่เคยได้ทำมาทั้งหมด หมั่นคอยทบทวนเรื่อยๆ จะได้คล่อง

    อุปสรรคสำหรับอาทิตย์นี้ก็คือ อินเตอร์คอมที่ใช้ตอนเป็นตากล้อง ไม่ค่อยได้ยิน ทำให้ทำงานลำบาก ต้องให้พี่คอยย้ำเสียงดังๆ อยู่เรื่อย มันเป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ควรมองข้าม ทำให้รู้ว่าอุปกรณ์แต่ละชิ้นมีความสำคัญหมด ถ้าตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหาจะทำให้การทำงานลำบาก แต่ก็ยังดีที่เป็นอินเตอร์คอมของตากล้อง ถ้าเป็นอินเตอร์คอมของสวิตเชอร์จะมีปัญหายิ่งกว่านี้ เพราะอินเตอร์คอมของสวิตเชอร์จะเป็นตัวหลักคอยควบคุมส่วนต่าง ๆ ในการทำงาน ^^

  17. Siriporn said

    สัปดาห์ที่ 7 (14-18 ธ.ค. 52)
    สัปดาห์นี้ได้ฝึกปฏิบัติงานกับฝ่ายการถ่ายภาพ
    – ซึ่งได้รับมอบหมายให้ออกแบบปก CD รูปถ่ายงานจำนวน 2 แผ่น คือรูปถ่ายงานดนตรีในสวนและงานรวมมิตรแนวคิดศิลปะ
    – คัดเลือกภาพถ่ายงาน Book Fair และงาน Benchmark อย่างละ 4 รูป และ Print ลงกระดาษ Grossy Photo ขนาด A4 รวมทั้ง Scan ภาพถ่ายจากหนังสือลงเครื่อง Computer เก็บเป็น File ภาพ พร้อมตกแต่งภาพใน Program Photoshop CS2
    – พี่เลี้ยงฝ่ายการถ่ายภาพสั่งให้ไปถ่ายรูปกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยบางมดที่มาดูงานบริเวณศูนย์โสตทัศนศึกษากลาง ชั้น 3 ณ สถาบันวิทยบริการ ทั้งการดูงาน การบรรยายของเจ้าหน้าที่หรือวิทยากรประจำศูนย์ และการสาธิตการใช้เครื่อง Mac. ภายในสถาบันวิทยบริการ
    – ได้รับมอบหมายให้จัดเอกสารแบบประเมินการฝึกงานเทคโนโลยีการศึกษาจากพี่เลี้ยง เป็นชุดๆ ทั้งหมด 6 ชุด และนำไปแจกให้กับอาจารย์พี่เลี้ยงแต่ละฝ่ายที่สอนงานให้กับนักศึกษาฝึกงาน ได้แก่ ฝ่าย TV, ฝ่ายการถ่ายภาพ, ฝ่าย Graphic, ฝ่าย Multimedia (MCR), ฝ่ายย่อส่วน และฝ่าย Streming เป็นต้น

    จากการที่ได้ฝึกปฏิบัติงานกับฝ่ายการถ่ายภาพในสัปดาห์นี้ ส่วนใหญ่จะเป็นงานเล็กๆน้อยๆ ที่ยิบย่อย ซึ่งงานจะเข้ามาเรื่อยๆให้ปฏิบัติกันทั้งสัปดาห์ แต่โดยส่วนตัวแล้วการฝึกงานกับฝ่ายการถ่ายภาพ คิดว่ายังไม่ได้ฝึกโดยตรงเกี่ยวกับการถ่ายภาพสักเท่าไร ส่วนใหญ่จะเป็นงานเอกสารใน Computer มากกว่า โดยไม่ลงรายละเอียดการเรียนรู้เรื่องกล้อง เรื่องการถ่ายภาพใดๆเลย

  18. Siriporn said

    สัปดาห์ที่ 7 (21-25 ธ.ค. 52)
    -สัปดาห์นี้ได้ฝึกงานกับฝ่าย Graphic ซึ่งวันแรกๆยังไม่ค่อยมีงานที่เกี่ยวกับ Graphic ให้ทำ พี่เลี้ยงฝ่าย Graphic จึงให้สะสางงาน Project และงานวิจัยในส่วนที่เหลือทั้งหมดให้เสร็จสิ้น
    -ได้รับมอบหมายจากฝ่าย Graphic ให้ตัดการ์ดอวยพรปีใหม่ของทางสถาบันวิทยบริการ เพื่อใช้แจกให้กับบุคลากรภายในศูนย์โสตทัศนศึกษากลาง สถาบันวิทยบริการ
    -ได้เรียนรู้ห้อง VDO Conference ในส่วนของระบบการจัดส่ง เครื่องมือ อุปกรณ์ทุกๆอย่างที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ VDO Conference โดยเฉพาะการเรียนรู้ด้านทฤษฎีของ VDO Conference ถือว่าเป็นเรื่องที่ละเอียด ซับซ้อนมาก เป็นขั้นเป็นตอนดี ซึ่งต้องศึกษา ค้นคว้าเรียนรู้อีกหลายๆอย่างเกี่ยวกับ VDO Conferece ต่อไป
    -ถ่ายรูปการประชุมของเหล่าบุคลากรภายในศูนย์โสตทัศนศึกษากลาง สถาบันวิทยบริการ ซึ่งมีหลายหัวข้อสำหรับการประชุมในครั้งนี้ ตั้งแต่เวลา 9.00-12.00 น.
    -ได้จัดเรียงระบบข้อมูล File ภาพถ่ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เพื่อนำมาเป็นฐานข้อมูลในสถาบันวิทยบริการ และจัดทำภาพถ่าย Online ในระบบเพื่อสืบค้นข้อมูลได้สะดวก โดยจัดเรียงตามวันที่ ชื่องาน และตามปีงบประมาณ

  19. สัปดาห์ที่ 21-25 ธ.ค. 52
    อาทิตนี้อยู่ฝ่ายกราฟิค ยังคงเป็นงานเล็กๆน้อยๆ เช่น ปริ้นและตัดการ์ดอวยพรปีใหม่ เป็นต้น และก็มีพี่ฝ่ายอื่นให้ไปช่วยงานบ้าง

    ถ่ายรูปการประชุมสัมมนาของคนในสถาบัน ในห้องประชุมที่มีแสงน้อย ได้ใช้ทักษะการใช้แฟลชว่าควรจะใช้แฟลชยังไงได้บ้าง

    พอว่างจากการถ่ายรูปก็ไปเรียนรู้การทำงานของพี่ในห้อง VDO Conference ได้เห็นการทำงานของพี่ ๆ ได้รู้จักอุปกรณ์ที่ก่อนหน้านี้ก็มีบางตัวที่เคยใช้มาแล้ว เช่น anycast, webcast พวกนี้

    แล้วก็สะสางงานต่อเกี่ยวกับจัดระบบไฟล์รูปภาพเพื่อจัดทำฐานข้อมูลออนไลน์

  20. Siriporn said

    สัปดาห์ที่ 9 (28-30 ธ.ค.52)

    -อาทิตย์นี้ยังคงอยู่ฝ่าย Graphic ได้รับมอบหมายให้ตัด Poster ประชาสัมพันธ์งานโครงการประกวดที่ทางสถาบันวิทยบริการจัดขึ้น จำนวน 2 ชุด ชุดละ 50 แผ่น

    -ช่วยพี่ๆฝ่าย Graphic จัดเก็บข้าวของ สะสางอุปกรณ์ และทำความสะอาดภายในห้องฝ่าย Graphic พร้อมตกแต่งสถานที่เพื่อต้อนรับเทศกาลปีใหม่

    -ทางสถาบันวิทยบริการ งดทำการ 1 วัน เพื่อจัดงานฉลองวันปีใหม่ให้กับบุคลากรทุกๆคน ทุกๆแผนก ของสถาบันวิทยบริการ

    • ก็ไม่มีอะไรมากค่ะ
      28-29 ก็ทำงานทั่วๆ ไปกับฝ่ายกราฟิค ดังที่กล่าวมาแล้ว ^^

      ส่วน 30 สถาบันฯจัดงานปีใหม่

  21. Siriporn said

    สัปดาห์ที่ 10 (4-8 ม.ค.53)

    -สัปดาห์นี้ยังคงอยู่กับฝ่าย Graphic ซึ่งพี่ๆฝ่ายนี้ได้ร่วมมือกันวางแผนและเป็นที่ปรึกษาให้กับพวกเราเริ่มทำโครงการ “กระบวนการถ่ายทำและบันทึกเทปโทรทัศน์” รวมทั้งต้องเขียนบทให้พี่ๆฝ่าย Graphic ได้พิจารณาอย่างคร่าวๆ เพื่อนำมาประกอบเป็นแนวทางสำหรับขั้นตอนการถ่ายทำโทรทัศน์ และเพื่อให้พี่ๆฝ่าย Graphic ได้เห็นรูปแบบในการจัดทำโครงการของพวกเราด้วย
    นอกจากนั้นยังได้ออกแบบตัวอักษร CG และตัว Caption VDO ที่ต้องสอดคล้องกับเนื้อรายละเอียดของโครงการมาประกอบให้น่าสนใจด้วย

    -ได้รับมอบหมายให้เป็น Assistant ช่วยพี่ๆทีม AV SetUp อุปกรณ์การถ่ายทำทั้งหมด เป็นการทำงานนอกสถานที่ บริเวณคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้รถ OB (Outdoor Broadcast) เป็นฐานในการติดตั้งและถ่ายทำงานในวันนี้ ซึ่งต้องติดตั้งกล้องถ่ายทำจำนวน 3 ตัว, เดินสายเคเบิ้ลที่เชื่อมโยงจากรถ OB เป็นต้น

  22. Siriporn said

    สัปดาห์ที่ 11 (11-15 ม.ค.53)

    -สัปดาห์นี้ได้เริ่มฝึกงานกับฝ่าย Multimedia ซึ่งพี่เลี้ยงฝ่าย Multimedia อยากให้เราทางเด็กฝึกงานได้สะสางโครงการ (Project ) ทั้งหมด โดยพี่เลี้ยงฝ่ายนี้จะคอยร่วมมือช่วยวางแผน ปรึกษาถึง Concept โครงการทั้งหมดที่ทางเราคิดไว้ เพื่อให้งาน Project เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเริ่มจากเขียนบทโทรทัศน์ บท Scrip แล้วร่วมพิจารณากับพี่เลี้ยงฝ่าย Multimedia เป็นขั้นเป็นตอน แก้ไขตัว Graphic ที่เคยทำกับฝ่าย Graphic เล็กน้อย รวมถึงตัว VDO งาน BookFair ท่ได้แปลงเป็นไฟล์แล้ว มาวางแผนเรียบเรียงเป็นเรื่องราวอย่างคร่าวๆ เป็นต้น ซึ่งพี่เลี้ยงฝ่าย Multimedia ให้ความสนใจกับงาน Project ชิ้นนี้ของเรามาก เนื่องจากมีเวลาเรียนรู้และร่วมงานกับฝ่าย Multimedia น้องลง (เพราะติดงานทางสถาบันด้วย) จึงต้องเร่งทำ Project เป็นรูปธรรมมากขึ้น

    -แก้บทและส่งบท TV ให้กับพี่เลี้ยงฝ่าย Multimedia พิจารณาตรวจสอบอีกครั้ง รับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากพี่เลี้ยงเกี่ยวกับเนื้อหาการถ่ายทำโทรทัศน์ ที่เป็น Project ของเรา รวมไปถึงออกแบบ CG ประกอบทำรายการ TV แบบต่างๆให้น่าสนใจ เหมาะสมกับเนื้อหาของ Project ด้วย

    -ลงมือถ่าย VDO “กระบวนการถ่ายทำและบันทึกเทปโทรทัศน์” ตามโครงการ ภายในห้อง Studio TV ซึ่งถ่ายไปตามบท Scrip TV ที่ผ่านการพิจารณาจากพี่เลี้ยงแล้ว แต่ก็มีอุปสรรคในการทำงานคือ เมื่อถ่ายเสร็จแล้ว นำมาแปลงลง Computer ภาพทีได้ค่อนข้างมืด ไม่ค่อยชัด พี่เลี้ยงฝ่าย Multimedia จึงสั่งให้พวกเราไปดำเนินการถ่ายใหม่ทั้งหมดอีกรอบ เริ่มตั้งแต่จัดฉากใหม่ เพิ่มแสงไฟภายใน Studio ให้มากขึ้น และให้ใช้กล้องโทรทัศน์ตัวใหญ่สำหรับถ่าย VDO แทนใช้กล้อง Handycam ที่ได้ใช้ในตอนแรก ซึ่งการถ่าย VDO ครั้งที่ 2 ค่อนข้างใช้เวลามากกว่าเดิม เพราะต้องใช้เวลาจัดสถานที่ อุปกรณ์-ฉากใหม่ภายใน Studio ทั้งหมด แต่สุดท้ายก็ถ่าย VDO ผ่านไปได้ด้วยดี

    -ศึกษาเรียนรู้อุปกรณ์ต่างๆ ภายในห้องควบคุมโทรทัศน์ (MCR) ที่เผยแพร่ข่าวสารภายในอาคารสถาบันวิทยบริการจากพี่เลี้ยงฝ่าย Multimedia รวมถึงอธิบายโปรแกรมต่างๆ ระบบการทำงานที่ค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งอุปกรณ์และระบบการทำงานบางส่วนยังไม่ค่อยเข้าใจในรายละเอียดมากนัก เพราะอุปกรณ์บางส่วนมีการทำงานที่ซับซ้อนและไม่เคยสัมผัสมาก่อน แต่ทางพี่เลี้ยงฝ่าย Multimedia จะอธิบายส่วนต่างๆและระบบการทำงานของห้อง MCR อีกครั้ง เนื่องจากสัปดาห์นี้มีเวลาในการเรียนรู้ที่จำกัด

    -Capture VDO Project ขั้นตอนการถ่ายทำและบันทึกเทปโทรทัศน์ เพื่อนำมาตัดต่อและให้พี่เลี้ยงฝ่าย Multimedia ได้พิจารณา ซึ่งทางพี่เลี้ยงได้สั่งให้กลับไปทำงานต่อในช่วงวันหยุด โดยตัดต่อตามบท Scrip ที่ได้เขียนตั้งแต่ก่อนถ่ายทำ, ใส่ Graphic ลูกเล่นต่างๆไม่ให้น่าเบื่อ รวมถึงภาพนิ่งและภาพ VDO งาน BookFair บางส่วนมาประกอบ และที่สำคัญเสียงบรรยายต้องสัมพันธ์กับภาพ VDO ที่นำมาตัดต่อด้วย เป็นต้น

  23. สัปดาห์ที่ 4-8 ม.ค.53
    – ก็ฝึกอยู่กับฝ่ายกราฟิคเหมือนเช่นเคย แต่พี่ก็ไม่ได้ให้ทำงานอะไรเพิ่มเติมมากมาย ให้เคลียร์โปรเจ็คที่กับพี่ๆ โดยพี่ทางฝ่ายกราฟิคเร่งให้เขียนบท
    แล้วนำบทนั้นมาดูว่าจะเล่นกราฟิคอะไร แบบไหน ยังไง พี่จะได้ช่วยกันให้คำปรึกษา และให้โปรเจ็คออกมาเป็นรูปเป็นร่างสักที
    – นอกจากนั้นก็ได้ลองออกแบบพวก CG, ตัว Intro ที่จะ insert ในวิดีโอโปรเจ็คของเรา ให้พี่ดู วิจารณ์และให้คำปรึกษาแนวทาง พร้อมทั้งพี่ก็สอนๆ
    ว่าต้องใช้ขนาดเท่าไหร่ ตัวอักษรยังไงถึงจะทำให้งานออกมาดูดี
    – เป็นผู้ช่วยพี่ ๆ ไป set up อุปกรณ์งาน “สัญชาติไร้พรมแดน” ของพระเทพฯ โดยใช้รถ OB ใช้กล้อง 3 ตัว

  24. สัปดาห์ที่ 11-15 ม.ค.53

    – อาทิตย์นี้ย้ายแผนกมาอยู่มัลติมีเดีย ตอนแรกนึกว่าจะไม่มีอะไรเยอะ แต่พี่เลี้ยงแผนกนี้ค่อนข้างจริงจังกับงาน
    และอยากให้เราทำโปรเจ็คให้เสร็จ โดยพี่เลี้ยงจะคอยคุมทุกระยะๆ ปรึกษาเรื่องโปรเจ็คกับพี่ พี่เลยให้เขียน script ใหม่ ให้พี่ดูและปรับแก้ให้ถูก
    นอกจากนั้นก็ทำกราฟิคเพิ่มเติมเพื่อใช้กับโปรเจ็ค

    – นอกจากนี้ได้นำบทไปให้พี่ฝ่ายทีวีช่วยดู และแก้ไขอีกครั้ง พี่ก็สอนๆ ว่าควรจะพูดแบบไหน อย่างไร นำมาแต่งสคริปท์อีกครั้ง

    – เนื่องจากโปรเจ็คต้องทำเป็นวิดิทัศน์ เลยรับบทเป็น MC ในโปรเจ็ค กระบวนการถ่ายทำและบันทึกเทปโทรทัศน์
    แล้วให้เพื่อนถ่ายวิดิโอให้ ความยากอยู่ที่ว่าเราไม่คุ้นกับอุปกรณ์ จะพูดให้เป็นธรรมชาติยากมาก และการถ่ายทำก็จะถ่ายในสตูดิโอ
    ต้องเรียนการจัดแสงในสตูดิโออีกด้วย อีกอย่างถ่ายทำสองรอบ รอบแรกพี่บอกใช้ไม่ได้เพราะใช้กล้องตัวเล็ก ความละเอียดภาพไม่ได้
    ให้เอากล้องตัวใหญ่ไปถ่าย ทำให้การทำงานค่อนข้างลำบากขึ้นไปอีก

    – พี่ฝ่ายมัลติมีเดีย พาไปทำความรู้จักกับอุปกรณ์ในห้อง MCR ที่ใช้ในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ข่าวสารในตึก
    ในห้องนี้จะมีอุปกรณ์มากมาย และอุปกรณ์ทุกชิ้นมีราคาค่อนข้างสูง ผู้ใช้งานจึงควรมีความระมัดระวัง
    ในห้องนี้มีอุปกรณ์ในการทำ webcast ได้ด้วย

  25. Siriporn said

    สัปดาห์ที่ 12 (18-22 ม.ค. 53)

    -ศึกษาเรียนรู้การใช้โปรแกรม Final Cut ในเครื่อง Mac สำหรับตัดต่อ VDO จากพี่เลี้ยงฝ่าย Multimedia ซึ่งจากการเรียนรู้ในวันนี้ ทำให้เห็นถึงการตัดต่อ VDO ด้วยโปรแกรม Final Cut ที่มีลูกใช้สำหรับตัดต่อ VDO มากมาย ซึ่งบางอย่างอาจจะง่ายกว่าโปรแกรม Premiere Pro เพราะลูกเล่นของโปรแกรมตัดต่อของ Final Cut บางตัวมีความสำเร็จรูปในตัว ง่ายต่อการนำไปใช้ในขั้นตอนของการตัดต่อ VDO

    -นั่งเคาน์เตอร์บริการยืม-คืน CD-DVD ณ จุดศูนย์โสตทัศนศึกษากลางให้บริการแก่นิสิตจุฬ่าฯที่มาติดต่อยืม-คืน ส่วนใหญ่นิสิตจุฬาฯ จะยืม CD -DVD ภาพยนตร์ใหม่ๆสามารถรับชมในบริเวณที่ทางศูนย์โสตทัศนศึกษากลางจัดไว้ให้ ซึ่งไม่สามารถยืมออกจากอาคารสถาบันวิทยบริการได้

    -นำเสนอ Project ที่เป็น VDO ตัดต่อบางส่วนและ Graphic ที่ทำขึ้นให้พี่เลี้ยงฝ่าย Multimedia พิจารณาถึงความเหมาะสม ซึ่งพี่เลี้ยงก็ได้ให้แก้ไขในส่วนของ Intro ของตัว VDO พร้อมทั้งแก้ไข Transition บางส่วนที่ไม่น่าสนใจ รวมทั้งต้องบันทึกเสียงใหม่อีกเล็กน้อย เพราะเสียง VDO บางตอนไม่สัมพันธ์กัน

    -ได้รับมอบหมายให้ช่วยพี่เลี้ยงฝ่าย TV Set up อุปกรณ์ทุกชนิดที่เคยฝึกและปฏิบัติมา สำหรับการถ่ายทำบันทึก TV ในงานเสวนาศิลปะ ณ ชั้น 7 หอศิลป์ทรรศ์ สถาบันวิทยบริการ และทำหน้าที่ Switcher ควบคุมเครื่อง Sony Anycast Station

  26. Siriporn said

    สัปดาห์ที่ 13 (25-28 ม.ค. 53)

    -ศึกษาเรียนรู้ทดลองใช้โปรแกรม CapturePerfect 1.0 และเครื่อง Microfilm Scanner สำหรับ Scan หนังสือหายากจากม้วน Microfiche ซึ่งในการ Scan ต้องคอยปรับความคมชัด (Focus), การ Zoom เพื่อให้หนังสือที่ Scan ออกมา ง่ายต่อการอ่านและนิสิตจุฬาฯยังสามารถนำไปโหลดอ่านได้ง่ายอีกด้วย

    นอกจากนี้ยังได้รับมอบหมายให้ Scan หนังสือหายากจากเทป Microfiche ด้วยเครื่อง Microfilm Scanner และนำที่ได้จากการ Scan มาตัดแต่งให้มีความคมชัดด้วย Program ACDSee

    -พี่เลี้ยงฝ่ายวัสดุย่อส่วนอธิบายในส่วนของการทำงานที่รับผิดชอบทั้งหมดในฝ่ายวัสดุย่อส่วน ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ทำงานหลักๆ คือ เครื่อง Microfilm Scanner เป็นเครื่องที่ใช้ Scan หนังสือหายาก หนังสือเก่า ชำรุด จากเทป Microfiche เพื่อนำมาเก็บเป็นฐานข้อมูล สะดวกต่อการใช้งานแก่ผู้ใช้บริการ

    -ศึกษาเรียนรู้และการสาธิตจริงเกี่ยวกับห้องควบคุม VDO Conference จากพี่เลี้ยง ทั้งในส่วนของอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุม VDO Conference ทั้งหมด ซึ่งอุปกรณ์หลักๆที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้เป็นตัวสำคัญในการควบคุม VDO Conference คือ กล้อง VDO 4 ตัว, TV 6 เครื่อง, เครื่อง Mixer, และเครื่อง Codec เป็นเครื่องที่สำคัญภายในห้อง VDO Conference ทำหน้าที่บีบอัดภาพและเสียง สามารถถอดสัญาณภาพและเสียงได้ ซึ่งในการเรียนรู้ในครั้งนี้ ได้เห็นอุปกรณ์การทำงานและหน้าที่หลักของ VDO Conference ที่ค่อนข้างซับซ้อน

  27. Siriporn said

    สัปดาห์ที่ 14 (1-5 ก.พ. 53)

    -สัปดาห์นี้ยังคงอยู่กับฝ่ายวัสดุย่อส่วน ได้รับมอบหมายให้ Scan หนังสือหายากจาก Microfiche ด้วยเครื่อง microfilm Scanner แล้วนำมาตกแต่งให้มีความคมชัดสามารถอ่านได้ง่ายด้วย Program ACDSee จากนั้นนำภาพที่ได้จากการ Scan มาจัดทำเป็นฐานข้อมูลเป็นระบบเพื่อสะดวกต่อการใช้งานแก่ผู้ใช้บริการภายในสถาบันวิทยบริการ

    -พี่เลี้ยงฝ่ายวัสดุย่อส่วนให้พวกเราดำเนินการทำงาน Project และงานวิจัยต่อ ซึ่งงาน Project ยังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการตัดต่อ โดยเหลือในส่วนของการใส่ Graphic ตกแต่ง ทั้งการใส่ Credit ท้ายรายการ, การใส่ Countdown และ Sound อีกเล็กน้อย เป็นต้น ซึ่งงาน Project ก็ผ่านไปได้ประมาณ 70% ของงาน

    -นอกจากนี้ยังได้มีโอกาสช่วยพี่ๆฝ่ายศูนย์โสตทัศนศึกษากลาง Set Up อุปกรณ์ห้องควบคุม VDO Conference ทั้ง Projector, Sound, กล้อง VDO Conference Visca Control รวมทั้งจัดสถานที่ภายในห้องประชุม VDO Conference อีกเล็กน้อย โดยการ Set Up อุปกรณ์ห้องควบคุม VDO Conference นี้มีปัญหาตามมาเล็กน้อยคือ ตัวเครื่อง Codec มีปัญหาเล็กน้อย ซึ่งไม่สามารถหาสาเหตุได้ ทำให้จอภาพที่แสดงผลออกมามีลักษณะแตก มีเสียงแทรกรบกวนด้วย

  28. Siriporn said

    สัปดาห์ที่ 15 (8-12 ก.พ. 53)

    -สัปดาห์นี้ได้ฝึกงานกับฝ่าย Streaming พี่เลี้ยงได้อธิบายหน้าที่หลักๆของการ Streaming ได้เรียนรู้อุปกรณ์ต่างๆ, การทำงานของการ Streaming อย่างคร่าวๆจากพี่เลี้ยง

    -เรียนรู้การทำหน้า Webpage Link โดยใช้โปรแกรม Adobe Image Styler ซึ่งเป็นขั้นตอนหลังจากการทำ Streaming ทำ Link สำหรับหน้า Webpage แล้วใส่ .html เพื่อลิงค์ไปยัง VDO ที่ได้ Streaming ไว้ ทำให้สะดวกต่อการรับชม

    -ได้รับมอบหมายจากพี่เลี้ยงให้ Streamong VDO เป็นส่วนๆด้วยโปรแกรม Winfast PVR ทั้งหมด 12 แผ่น ซึ่งแต่ละแผ่นไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง

    -เรียนรู้การใช้เครื่อง Mac. ในการจัดทำฐานข้อมูลของพี่เลี้ยงฝ่าย Streaming โดยต้องสมัครเป็นสมาชิกก่อน เพื่อรับข้อมูลข่าวสาร, รับชม VDO, Music และอื่นๆ จากสถาบันวิทยาบริการ ซึ่งต้องผ่านผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล (Admin) ก่อน จึงจะรับข้อมูลข่าวสารทางสถาบันวิทยบริการผ่านตัวเซิร์ฟเวอร์

    -ดูแลเคาน์เตอร์ให้บริการยืม-คืน CD,DVD ณ จุดศูนย์โสตทัศนศึกษากลาง ให้บริการแก่นิสิตจุฬาฯที่เข้ามาติดต่อยืม-คืน และรับชมในบริเวณที่ทางศูนย์โสตทัศนศึกษากลางจัดไว้ให้บริการ

  29. สัปดาห์ที่ 12 (18-22 ม.ค. 53)

    – พี่เลี้ยงสอนการใช้งาน Final cut ซึ่งเป็นโปรแกรมตัดต่อ VDO ของเครื่อง Mac ธรรมดาเราก็ไม่ค่อยได้ใช้เครื่อง Mac อยู่แล้ว เลยไม่คุ้นกับการใช้ Mac
    หน้าตาของเจ้าโปรแกรม Final cut ตัวนี้จะคล้ายๆ กับ Premier pro ที่เราเคยได้เรียนกันมาแล้ว ฟังชั่นการใช้งานจะคล้าย ๆ กัน แต่สำหรับคนใช้เครื่อง
    Mac เป็นอยู่แล้ว Final Cut จะง่ายกว่า Premier Pro แต่โดยส่วนตัวชอบ Premier Pro มากกว่า เนื่องจาก Final Cut ต้อง export ไฟล์เป็น avi ระยะ ๆ
    ยุ่งยาก จะใส่เยอะ ๆ เหมือน premier ไม่ได้ แต่ Final Cut ลูกเล่นเยอะกว่าจริงๆ แค่คลิกๆ ใส่ ส่วนพรีเมี่ยโปร ต้อง mark จุดเอา

    – นอกจากนั้นได้มีโอกาสไปนั่งเคาน์เตอร์บริการ เป็นการให้บริการนิสิตที่เข้ามาใช้งานในศูนย์โสตฯ โดยมีหน้าที่ยืม-คืน VDO, CD, VCD, DVD และเทป
    โดยเราจะไม่ให้นิสิตยืมออกไปดูนอกศูนย์ เราจะมีอุปกรณ์ไว้ให้ มีโทรทัศน์ เครื่องเล่น CD ซึ่งมีอยู่หลายเครื่อง พอมีนิสิตมายืม ก็ต้องมาเขียนใบขอรับบริการ
    แล้วเขียนเลขที่วัสดุที่ต้องการจะยืม แล้วเราก็ต้องทำหน้าที่ไปหยิบมาโดยที่นี่กำหนดไว้ว่าห้ามเกิน 1 นาที แล้วก็หยิบหูฟังและเลือกหมายเลขเครื่องให้นิสิต

    – Set up อุปกรณ์ถ่ายทำโทรทัศน์ต่าง ๆ อย่างเช่นที่เคยทำและทำหน้าที่เป็นตากล้องในงาน “รวมมิตร แนวคิดศิลปะ” ณ หอศิลปวิทยนิทรรศน์
    สถาบันวิทยบริการ

  30. สัปดาห์ที่ 13 (25-28 ม.ค. 53)

    – อาทิตย์นี้ย้ายมาฝ่ายวัสดุย่อส่วน ซึ่งจะทำเกี่ยวกับ Rare Book หรือหนังสือหายาก ซึ่งสมัยก่อนจะมีการเก็บหนังสือเก่า ๆ โดยการถ่ายรูปลง
    Microfilm หรือลง Microfiche แล้วเก็บรักษาไว้ แต่ในปัจจุบัน Microfilm และ Microfiche ไม่ได้รับความนิยมแล้ว เพราะมีปัญหาในเรื่องการเก็บรักษา
    ซึ่งต้องเก็บไว้ในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิ และถ้าเก็บรักษาไม่ดีตัวฟิล์มก็จะเสื่อมเร็ว
    โดยการสแกนหนังสือหายากแบบฟิล์มนี้ เราจะใช้อุปกรณ์เฉพาะอย่าง คือ Microfilm Scaner เครื่องใหญ่ๆ ต่อกับคอมพิวเตอร์ และใช้โปรแกรม
    Capture Perfect 1.0 สแกนออกมาเป็นไฟล์ภาพ .tiff ขั้นตอนการสแกนมีความยากตรงที่ว่าเวลาสแกน เราต้องปรับโฟกัส ซูมอินซูมเอ้าท์ ปรับแสงให้พอดี
    ถ้าปรับแสงเข้มเกินไปจะทำให้เราตกแต่งภาพลำบาก และถ้าโฟกัสไม่ดีตัวหนังสือจะไม่คม อ่านยาก พอได้เป็น tiff ไฟล์แล้วก็นำมาตกแต่งไฟล์ภาพด้วยโปรแกรม
    ACDsee ลบรอยดำ ปรับแต่งให้ดูดี อ่านง่าย ๆ ลบส่วนเกิน

    – พอดีมี conference พี่เลี้ยงเลยสอนเรื่อง VDO Conference ด้วย เรียนรู้เกี่ยวห้องควบคุม Conference อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในห้อง ซึ่งมีอุปกรณ์เยอะมาก
    และอุปกรณ์แต่ละตัวค่อนข้างทำงานซับซ้อน

  31. สัปดาห์ที่ 14 (1-5 ก.พ. 53)

    – ยังคงอยู่ฝ่ายวัสดุย่อส่วน และก็สแกนหนังสือหายากเช่นเคย และเมื่อสแกนได้เยอะแล้ว ก็นำมาทำเป็นไฟล์ pdf เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ดาวน์โหลดไปอ่าน
    หนังสือหนึ่งเรื่องก็จะเป็นหนึ่งโฟลเดอร์ แล้วนำโฟลเดอร์นั้นมาทำเป็น pdf ก็จะได้หนังสือหนึ่งไฟล์ โดยใช้โปรแกรม Acrobat Professional ในการ pack file
    พอทำเป็น pdf แล้ว เราก็ต้องมาทำ bookmark เองโดยดูจากความเหมาะสมซึ่งก็เปรียบกับ content ในเล่มหนังสือ
    เมื่อเราได้ไฟล์ pdf แล้วก็จะนำไฟล์ที่ได้อัพขึ้นฐานข้อมูลโดยใช้ Praxticol ในการทำฐานข้อมูล Rarebook ซึ่งก็เหมือนกับการอัพโหลดไฟล์ปกติ และก็เพิ่ม
    รายละเอียดไฟล์ลงไปด้วย ทั้งชื่อผู้แต่ง, Dewey call no., MF. Call No. และจำนวนหน้าทั้งหมดของหนังสือแต่ละเรื่อง

    – Test ห้อง Conference ห้องใหม่ ตรวจสอบ ติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในห้อง Conference เป็นขั้นตอนที่ยากมากอย่างที่บอกว่าอุปกรณ์มีเยอะ และซับซ้อน
    ต้องอาศัยความชำนาญในการใช้อุปกรณ์แต่ชนิด

    – ได้รับมอบหมายจากพี่เลี้ยงให้ถ่ายภาพการประชุม Conference ทั้งสองห้อง

  32. สัปดาห์ที่ 15 (8-12 ก.พ. 53)

    – อาทิตย์นี้เป็นอาทิตย์สุดท้ายของการฝึกงาน ได้ย้ายแผนกมาฝึกฝ่าย Streamimg ได้เรียนรู้ความสำคัญของการ strem ไฟล์ ถ้านึกไม่ออกว่าไฟล์ที่ทำการสตรีมแล้วเป็นยังไง
    ให้นึกถึงเวลาเราดูคลิปจาก Youtube คือเมื่อก่อนการดูไฟล์วีดิโอแต่ละที ต้องทำการดาวน์โหลดไฟล์ทั้งหมดซะก่อน แล้วจึงดูได้ มันก็เกิดปัญหาที่ว่าในการดาวน์โหลด
    ถ้าเกิดส่วนใดส่วนหนึ่งของไฟล์เกิด error ไฟล์ก็จะเปิดไม่ได้เลย แต่การสตรีมเป็นการแยกไฟล์เป็นชิ้นเล็กๆ ครอปไฟล์ให้เล็กลงหลายๆ ชิ้นต่อกัน
    ซึ่งเราจะเลือกดูส่วนใดส่วนหนึ่งของไฟล์ก็ได้ โดยการสตรีมนี้เราก็จะใช้โปรแกรม Winfast PVR ในการแปลง
    ขั้นตอนการแปลงเราก็จะนำ source ที่มีไม่ว่าจะเป็นซีดี วีดีโอต่าง ๆ เข้าเครื่องอ่านโดยเฉพาะ ซึ่งเครื่องอ่านวีดิโอ-ซีดีนี้ ก็จะต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำงานลิ้งค์กันอยู่
    การสตรีมนั้นจะใช้เวลาแปลงแบบ realtime เราสามารถแปลงทิ้งไว้ได้ แต่เมื่อใกล้ถึงเวลาเทปหมดเราก็ต้องมาคลิกปุ่ม stop เพื่อหยุดการแปลงเอง โปรแกรมไม่สามารถหยุดเองได้
    ถ้าเราไม่คลิกปุ่ม stop เครื่องก็จะทำการแปลงไปเรื่อย ๆ ทั้งๆที่หน้าจอจะดำก็ตาม มันถือว่ายังมีสัญญาณเข้าอยู่เลยแปลงต่อไป
    เวลาเราสตรีมวีดีโอเสร็จแล้วก็จะอัพขั้นเซิร์ฟเวอร์เพื่อบริการนิสิต วีดิโอที่ได้ทำการสตรีมแล้วจะสามารถดูได้ในเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ในศูนย์โสตฯเท่านั้น
    เราจะไม่มีบริการแบบ Internet หรือ Intranet แต่อย่างใด บริการแค่ในเซิร์ฟเวอร์เท่านั้น ซึ่งที่นี่จะมีอยู่ 2 เซิร์ฟเวอร์
    หน้าตาเวลาเราใช้บริการ VDO Streaming ของที่นี่ก็จะเหมือนกับการเปิดเว็บไซต์ธรรมดาๆ ที่เห็นได้ทั่วไป

    – ออกแบบแผ่นซีดีเผื่อนำไปสกรีนแผ่นงาน Book fair และงานโปรเจ็คเพื่อจะได้สกรีนแผ่นไว้ก่อน

    – มีพี่ให้ช่วยดูเคาน์เตอร์ให้บริการยืม-คืนที่ศูนย์เหมือนคราวก่อน

RSS feed for comments on this post · TrackBack URI

Leave a comment