โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สกอ.

โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สกอ.

56 Comments »

  1. Rattiya said

    แนะนำ มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สกอ.

    ปัจจุบัน มหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาต่างๆ หลายแห่งในประเทศไทย ได้เริ่มให้มีการใช้บทเรียน online เป็นส่วนเสริมในการเรียนการสอน แต่ยังไม่มีหลักสูตร online ที่ผู้เรียนสามารถเรียน online จนจบได้รับปริญญาบัตร ในการพัฒนาบทเรียน online นั้น มหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง จะใช้ทรัพยากรของตนเอง แต่เนื่องจากการเรียนบทเรียน online นั้น จะเรียนที่ใดก็ได้ และหลักสูตรของมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา ที่เหมือนกัน ก็มีมาตรฐานเดียวกัน หากมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา ได้มีการพัฒนาบทเรียน online ร่วมกัน และแต่ละแห่งสามารถนำบทเรียน online ไปใช้ได้ (Shared e-Courseware) ก็จะเป็นการประหยัดทรัพยากร ประหยัดค่าใช้จ่ายของแต่ละแห่ง นอกจากนี้ ยังช่วยให้มหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา ที่ขาดแคลนอาจารย์ในบางสาขาวิชา สามารถมีบทเรียน online ที่ได้มาตรฐานในสาขาวิชานั้นได้
    โดยที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีหน้าที่ต้องดูแลสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ และมีนโยบายจะส่งเสริม การอุดมศึกษาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จึงได้จัดตั้งโครงการ Thailand Cyber University (TCU) ขึ้น เพื่อให้บริการ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e–Learning) แก่ประชาชน ทุกระดับ ทุกอาชีพ ผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (Inter-University Network : UniNet) เพื่อสร้างโอกาสให้แก่ประชาชน เข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้น และเพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้
    การเตรียมความพร้อม เพื่อจัดตั้ง TCU สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้เริ่มดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์มหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาต่างๆ ในภาครัฐ ร่วมกันผลิตชุดวิชา บทเรียน online เพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ตั้งแต่ปี 2540-2545 โดยมีชุดวิชาที่แล้วเสร็จ จำนวน 128 รายวิชา และภายในปีงบประมาณ 2548 จะมีชุดวิชาที่แล้วเสร็จอีก จำนวน 331 รายวิชา นอกจากนี้ยังมีการจัดทำสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์คุณภาพสูง (High Quality e-Courseware) ในวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม ซึ่งจัดทำโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อนำไปสนับสนุนการสอนในห้องเรียนปกติ ให้ผู้เรียนมีความสนใจและเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น
    ในส่วนของระบบบริหารจัดการการเรียนการสอน (Learning Management System : LMS) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้จ้างศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้พัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ โดยจะมีส่วนของงานบริหารจัดการ บทเรียน online (Content Management System : CMS) และส่วนของงานบริหารจัดการการลงทะเบียนเรียนของผู้เรียน (Student Management System : SMS) ด้วย

  2. NAPHAK said

    พันธกิจของ TCU

    TCU จะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลาง ที่จะประสานงานกับมหาวิทยาลัยและ สถาบันการศึกษาต่างๆ ในการจัดทำหลักสูตร online ร่วมกัน มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา จะเป็นเจ้าของหลักสูตรและเป็นผู้อนุมัติปริญญาบัตร แก่นักศึกษาที่เรียนจบหลักสูตร โดยมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา สามารถใช้ชุดวิชาบทเรียน online ในหลักสูตร ร่วมกัน ทั้งนี้ การให้บริการหลักสูตร online จะใช้ผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา(Inter-University Network : UniNet) ทีได้มีการเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาทั่วประเทศแล้ว ในการดำเนินงานโครงการ TCU จะประกอบด้วยภารกิจ/หน้าที่ ดังนี้
    • ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษา องค์กรต่างๆ จัดทำและสนับสนุนให้มีการทำสื่อการเรียนรู้ e-Learning
    • ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครู อาจารย์ นักวิชาการ ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้ทรงคุณวุฒิ ในแขนงต่างๆ จัดทำ Learning Object และให้มีการแบ่งปันการใช้งานร่วมกันเป็น Share Learning Resource
    • ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครู อาจารย์ นักวิชาการ ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้ทรงคุณวุฒิในแขนงต่างๆ จัดทำบทเรียน e-Courseware เป็น Online Course ทั้งที่เป็น Self-pace Course, Collaborative Course และ Supplement Course
    • จัดหา Virtual Library เป็น e-Library , e-Book, e-Journal, e-Thesis เพื่อใช้เป็นแหล่งแสวงหาความรู้ต่างๆ
    • จัดหาและดูแลระบบคอมพิวเตอร์ส่วนกลาง เพื่อใช้จัดเก็บ Learning Resources ให้สามารถแบ่งปันการใช้งานร่วมกันได
    • จัดหาและดูแลระบบคอมพิวเตอร์ส่วนกลาง เพื่อใช้บริหารจัดการ Online Course (Content Management System : CMS) พร้อมทั้ง มีระบบบริหารจัดการการเรียนการสอน (Learning Management System : LMS)
    • จัดหาและดูแลระบบคอมพิวเตอร์ส่วนกลาง เพื่อใช้บริหารจัดการ การลงทะเบียนเรียนของผู้เรียน (Student Management System : SMS)
    • จัดหา Facilities ต่างๆ เช่น software พร้อมทั้งจัดการฝึกอบรมการใช้งาน เพื่อสนับสนุนให้ ครู / อาจารย์ ทำ Learning Object และ e-Courseware
    ขยายและดูแล Network Infrastructure เพื่อให้ความสะดวกต่อผู้เข้ามาใช้ บริการ ในโครงการ TCU

  3. NAPHAK said

    ประโยชน์ของ TCU ต่อการศึกษาไทย

    TCU จะเป็นสรรพวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยที่เป็นศูนย์รวมของสรรพวิทยาการ) ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ครอบคลุมการศึกษาในทุกระบบ ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non Formal Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (In-Formal Education) ที่ประชาชนทุกคน สามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้ได้ มีระบบการเทียบโอนความรู้จากการศึกษาในแต่ละระบบ เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการศึกษาจากระบบหนึ่ง สามารถจะเทียบโอนความรู้ เข้าสู่การศึกษาในอีกระบบหนึ่งได้ ตามเงื่อนไขและข้อกำหนด ซึ่งจะเป็นการบูรณาการ การศึกษาทุกระบบเข้าด้วยกัน เกิดเป็นระบบการศึกษาที่รองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน มีความยืดหยุ่น ต่อเนื่อง และเสริมกัน มีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับตามหลักมาตรฐาน

  4. NAPHAK said

    รายชื่ออาจารย์พี่เลี้ยง ที่จะทำหน้าที่ดูเเล เเละอบรมพวกเราตลอดการฝึกงานค่ะ

    ธารทิพย์ ฝึกงานด้านการตรวจสื่อการสอนและวิเคราะห์สื่อการสอนทางไกล

    และการใช้อุปกรณ์สำนักงานต่างๆ
    ศุภศาสตร์ ฝึกงานด้านการดูแลระบบการจัดการเรียนการสอนทางไกลโดยใช้

    LMS

    ธัญภา ฝึกงานด้านการให้บริการในระบบ LMS
    ราตรี ฝึกงานด้านการให้บริการการจัดการเรียนการสอนทางไกล การดูแล

    ผู้เรียนในระบบ
    ศักดิ์สิทธิ์ ฝึกงานด้านการบันทึกเสียง บันทึกวิดีโอ เพื่อนำไปผลิตสื่อการเรียน

    การสอนอิเล็กทรอนิกส์

    บัณฑิต ฝึกงานด้านการผลิตสื่อการเรียนการสอนทางไกล

  5. Nammon said

    สกอ……….บันทึกประจำสัปดาห์อยู่ที่ใดจ้ะ

    • NAPHAK said

      บันทึกประจำสัปดาห์ของพวกเรา 3 คน บันทึกไว้ที่ Categories > e-learning ค่ะ อาจารย์ลองเข้าไปดูนะค่ะ

      • Nammon said

        บันทึกประจำสัปดาห์ให้บันทึกที่นี่ค่ะ เอาไว้ตรงชื่อหน่วยงานตนเองนะ ส่วนใน e-learning เอาไว้ใส่ความรู้ใหม่ๆ นะจ้ะ แก้ไขด้วยนะคะ ของเก่าครูจะย้ายมาให้เองค่ะ …. 🙂

        อ.เปิ้ล

      • NAPHAK said

        ได้ค่ะ อาจารย์ เดียวพวกเราจะทำการเเก้ไขนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

  6. NAPHAK said

    สัปดาห์ที่ 1 (2-6 พ.ย. 52) ตลอดระยะเวลา 5 วัน หลังจากที่เริ่มการฝึกงานอย่างเป็นทางการ สิ่งที่ได้รับจากการได้มาฝึกงาน คือ การได้ศึกษา เเละวิเคราะห์ สื่อที่มีประสิทธิภาพ โดยทำการตรวจสื่อ e-learning ที่หลากหลาย ที่ทางมหาวิทยาลัยเเต่ละเเห่งได้ผลิตขึ้น ซึ่งก็ได้พบข้อบกพร่องที่เเตกต่างกันออกไป เช่น สื่อบางตัวมีปัญหาในเรื่องของด้านนื้อหา ด้านเทคนิค ด้านคุณภาพของเสียง วิดีโอ ด้านการเชื่อมโยง เเละปัญหาที่พบมากที่สุดคือชั่วโมงเวลาเรียนไม่ครบตามเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งถือได้ว่าเกณฑ์ของการผลิตสื่อบทเรียน e-learing ของทาง TCU นั้น ค่อนข้างที่จะเป็นมาตรฐาน ปัญหาที่พบอีกอย่างในสื่อ e-learning คือ มีการดำเนินการด้าน e-Learning ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันในแต่ละมหาวิทยาลัย มีการใช้ระบบบริหารจัดการ (LMS) ที่หลากหลาย จึงทำให้เกิดปัญหาตามมา เช่น มีปัญหาในการนำขึ้นระบบ จึงทำให้เสียเวลา เสียงบประมาณ ที่จะต้องทำการเเก้ไขใหม่
    กล่าวโดยสรุปได้ว่า
    คอร์สแวร์ในระบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านสื่ออิเลคทรอนิคส์ (e-learning) ที่มีคุณภาพดี ควรจะมีแนวทางการออกแบบองค์ประกอบหลักต่อไปนี้
    1. การให้ข้อมูลเบื้องต้นคอร์สแวร์
    2. การให้คำแนะนำในการใช้คอร์สแวร์
    3. เนื้อหา
    4. กิจกรรมการเรียน
    5. การประเมินผู้เรียน
    6. ระบบนำทางในบทเรียน (Navigation system)
    7. ความคล่องตัวในการใช้งาน (Usability)
    8. สื่อมัลติมีเดียในคอร์สแวร์
    9. การออกแบบด้านเทคนิค

  7. NAPHAK said

    สัปดาห์ที่ 2 ( 9-12 พ.ย. 52) ในอาทิตย์นี้ เราได้รับมอบหมายให้ทำการตรวจดูสื่อที่ทาง TCU ได้นำขึ้นระบบแล้ว ว่าตรงไหนควรที่จะทำการปรับปรุงแก้ไข หรือให้คำแนะนำเพิ่มเติม จากนั้นเราก็ได้รับมอบหมายงานที่จะต้องทำการศึกษาเกี่ยวกับการใช้งาน TCU LMS เพื่อที่จะได้นำมา present ให้เพื่อน และอาจารย์พี่เลี้ยงฟัง ตามความเข้าใจในสิ่งที่ได้ทำการศึกษา ในแต่ละหัวข้อ โดยที่ นางสาวกมลชนก ได้ทำการศึกษาในหัวข้อการใช้งานในฐานะที่เป็นผู้เรียน นางสาว นภัคได้ทำการศึกษาในหัวข้อการใช้งานในฐานะที่เป็นอาจารย์ และ นางสาวรัตติยา ได้ทำการศึกษาในหัวข้อการใช้งานในฐานะ admin โดยที่ในอาทิตย์นี้ ได้ทำการ นำเสนอไปสองเรื่องคือ การใช้งานในฐานะที่เป็นผู้เรียน และการใช้งานในฐานะ admin โดยขณะที่ทำการรายงาน อาจารย์พี่เลี้ยงก็จะอธิบายเพิ่มเติมในเนื้อหาบางส่วน อีกทั้งยังให้คำแนะนำในการเป็นนักนำเสนอที่ดี โดยจะให้คำแนะนำแต่ละบุคคล ว่ามีข้อบกพร่องตรงไหน ส่วนไหนที่จะต้องทำการปรับปรุง และส่วนในที่ทำได้ดีแล้ว เพื่อที่จะได้นำคำแนะนำเหล่านั้น มาปรับปรุงและพัฒนาบุคลิกภาพในการเป็นผู้นำเสนอได้ดี ซึ่งถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง
    หัวข้อ การใช้งานระบบ TCU LMS ในฐานะผู้เรียน กมลชนก ได้ทำการนำเสนอในหัวข้อนี้ โดยได้อธิบายรายละเอียดในส่วนต่างๆ ที่ผู้เรียนจะต้องปฏิบัติในการเข้าไปใช้งาน โดยได้กล่าวในหัวข้อ ดังนี้ การเลือกวิชาเรียน การเลือกเรียนวิชาเรียน วิธีการเข้าเรียน การเข้าไปดูบทเรียน ในส่วนของกระดานข่าว ห้องสนทนา การทำแบบทดสอบ และการรายงานผลการเรียน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นหัวข้อหลักๆ แต่ยังมีรายละเอียดเพิ่มเติมนอกเหนือจากหัวข้อเหล่านี้ จากอาจารย์พี่เลี้ยงที่อธิบายเพิ่มเติม ในส่วนของรายละเอียดจะขอนำไปอธิบายในส่วนของหัวข้อ e-learning นะค่ะ
    หัวข้อ การใช้งานระบบ TCU LMS ในฐานะ admin รัตติยา ได้ทำการนำเสนอในหัวข้อนี้ โดยได้อธิบายรายละเอียดในหัวข้อส่วนต่างๆที่ admin จะต้องปฏิบัติในการเข้าไปใช้งาน โดยได้กล่าวในส่วนของหัวข้อดังต่อไปนี้ ประเภทของข้อมูล ผู้ใช้งานในระบบ การอนุมัติให้อาจารย์ใช้งาน ข้อมูลส่วนบุคคลของอาจารย์ ข้อมูลส่วนบุคคลของนักเรียน นำเข้า/ส่งออกผู้ใช้งาน การรายงานผลการเรียน ทั้งหมดนี้เป็นหัวข้อหลักๆ แต่ยังมีรายละเอียดเพิ่มเติม ในส่วนที่อาจารย์พี่เลี้ยงได้อธิบายเพิ่มเติมในการเข้าไปให้งาน ในส่วนของรายละเอียดจะขอนำไปอธิบายในส่วนของหัวข้อ e-learning เช่นกันนะค่ะ

  8. NAPHAK said

    สัปดาห์ที่ 3 (16-19 พ.ย. 52) ในอาทิตย์นี้พวกเราได้รับมอบหมายในส่วนของ
    -การผลิตสื่อ เเละการประชาสัมพันธ์ ในส่วนขอดิฉันได้รับหน้าที่ของการประชาสัมพันธ์ โดยจะต้องทำการหาข้อมูลในส่วนของอัตราค่าโฆษณาจากเเหล่งสื่อสิ่งพิมพ์ (หนังสือพิมพ์) เว็บไซด์ (sanook ฯลฯ) เเละทางวิทยุ (ศูนย์วิทยุจุฬา) ซึ่งจะต้องทำการโทรศัพท์เพื่อติดต่อไปในเเต่ละหน่วยงาน หรือเเต่ละบริษัท ให้ทำการส่งข้อมูลเกี่ยวกันอัตราค่าโฆษณาทั้งทางอีเมล เเละทางเเฟกซ์ ซึ่งในบางหน่วยงานก็ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการส่งข้อมูลเเละรายละอียดในส่วนต่างๆ เเต่ก็มีในบางหน่วยงานที่จะต้องโทรศัพท์ไปย้ำหลายรอบเพื่อให้ทำการส่งข้อมูล หรือให้ส่งข้อมูลมาใหม่เนื่องจากมีความผิดพลาดในการส่งข้อมูล เนื่องจากอาจารย์พี่เลี้ยงต้องการข้อมูลให้เร็วที่สุด ดิฉันจึงต้องตามงานเพื่อให้ได้ตามความต้องการเเละความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานนี้ สิ่งที่ได้รับจากการได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่นี่คือ เป็นการฝึกให้ดิฉันสามารถติดต่อสื่อสารกับบริษัทหรือหน่วยงานได้อย่างได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ดิฉันฝึกในการเรียบเรียคำพูดในการที่จะทำการติดต่อสื่อสารเพื่อให้ทั้งผู้รับสาร เเละผู้ส่งสาร (ดิฉัน) สามารถสื่อสารความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง เเละตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ) อีกทั้งยังทำให้กล้าที่จะทำการพูดคุยหรือสื่อสารกับบุคคลผู้มีประสบการณ์การทำงานมากกว่าเรา ซึ่งในทางปกติเเล้ว ส่วนใหญจะไม่ค่อยกล้าที่จะติดต่อหรือประสานงานกับบุคคลหรือหน่วยงานที่ค่อนข้างที่จะมีชื่อเสียงหรือเป็นหน่วยงานหรือองค์กรที่มีขนาดใหญ่สักเท่าไร เเต่ด้วยหน้าที่เเล้วจึงทำให้เรากล้าที่จะต้องเป็นผู้ประสานงานติดต่อ เพื่อทำหน้าที่ให้ดีที่สุดเเละเต็มความสามารถเท่าที่จะสามารถทำได้
    -จากนั้นก็ได้รับมอบหมายให้ทำ Label (ติดซองจดหมาย) ถึงเเม้ว่าจะดูเป็นงานธรรมดาไม่ได้หรูหรามาก เเต่ดิฉันก็คิดว่ามันก็เป็นประสบการ์ในการทำงานอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งต้องนั่งใส่ซองจดหมายเป็นจำนวนเกือบสี่ร้อยฉบับ ซึ่งเยอะมากอีกทั้งอาจารย์พี่เลี้ยงก็ต้องการด่วนที่สุด การทำงานจึงต้องเเข่งกับเวลา จะทำงานช้าไม่ได้ โชคดีที่เพื่อนอีกสองคน ได้มาช่วกันอีกเเรง งานจึงสำเร็จได้ทันเวลา ซึ่งการทำงานในครั้งนี้ ก็เป็นการบอกให้รู้ว่า ในการทำงานนั้นถ้าเราร่วมมือร่วมเเรงช่วยกัน เเม้ว่างานนั้นจะมากมายเเค่ไหน มันก็สามารถสำเร็จได้

  9. Nammon said

    สกอ ตรวจสื่อ ทำสื่อ เรียนรู้ LMS จนเชี่ยวชาญกันแล้วหรือยังคะ งานด้านนี้กำลังเป็นที่ต้องการเลยนะคะ ตั้งใจฝึกงาน ตั้งใจเรียนรู้จากพี่เลี้ยงๆ ดีๆ นะคะ โอกาศข้างหน้ารออยู่ค่ะ

    อ.เปิ้ล

  10. Rattiya said

    ยังไม่ค่อยเชี่ยวชาญเลยค่ะอาจารย์ บางโปรแกรมยังไม่ค่อยถนัดมากนัก พวกโปนแกรม แฟรช ก็ยังไม่ค่อยชำนาญ แต่จะพยายามพัฒนาปรับปรุงต่อไปเรื่อยๆค่ะ

  11. Rattiya said

    ในการฝึกงานช่วงสัปดาห์ที่ 1 ก็อยู่ในช่วงของการตรวจสื่ออีเลิร์นนิงของมหาวิทยาลัยต่างๆตามที่พี่เลี้ยงได้มอบหมายให้ พร้อมทั้งการคิดโปรเจคงานที่จะทำ ไปเสนอให้กับพี่เลี้ยง รอการอนุมัติ ความรู้ที่ได้ในส่วนนี้คือ จากการตรวจสื่อ ก็ได้ทราบรูปแบบการผลิต ข้อผิดพลาด องค์ประกอบของอีเลิร์นนิง ในส่วนของมัลติมีเดียต่างๆ ได้เห็นทั้งสื่อที่ดี และไม่ดี ซึ่งส่วนนี้ก็เป็นทั้งประสบการณ์ใหม่ๆและข้อสังเกตุใหม่ๆที่จะทำให้งานโปรเจคของกลุ่มข้าพเจ้าสามารถนำมาเป็นแนวทางในการสร้าง พัฒนา และออกแบบสื่อออกมาได้ดี

  12. Rattiya said

    ในการฝึกงานช่วงสัปดาห์ที่ 2 เป็นในส่วนของการศึกษาระบบ LMS ซึ่งในสัปดาห์นี้พี่เลี้ยงได้มอบหมายงานให้เข้าไปศึกษาหาข้อบกพร่องและข้อดี ข้อเสียของอีเลิร์นนิงที่ทาง TCU ได้นำขึ้นระบบให้ผู้เรียนได้ศึกษาฟรีแล้ว พร้อมนำข้อมูลที่ได้นั้นบันทึกเพื่อนำมาส่งพี่เลี้ยงเพื่อจะได้พัฒนาข้อพกพร่องนั้นต่อไป รวมทั้งได้มีการมอบหมายให้ทำการศึกษาในคู่มือของ LMS โดยแยกเป็น 3 ส่วน คือส่วนของ Admin Student และ Teacher ซึ่งกลุ่มข้าพเจ้าทั้ง 3 คนก็ได้รับมอบหมายคนละหังข้อ โดยข้าพเจ้าศึกษาในส่วนของ Admin ทั้งศึกษาใน Sheet และ VDO เมื่อศึกษาจนเข้าใจ ก็นำมา Present ให้เพื่อนๆและพี่เลี้ยงฟัง นอกจาจะได้ความรู้แล้วยังเป็นการฝึกการนำเสนองานและฝึกการพูดอธิบายให้ผู้ฟังเข้าใจอย่างถ่องแท้ไปในตัวด้วย ประโยชน์จากการศึกษางานในส่วนนี้ ทำให้มีแนวทางในการผลิตคู่มื่อของระบบ LMS ได้ทดสอบใช้ระบบที่พี่เลี้ยงจำลองให้ หากภายหน้าได้ขำไปทำงานในส่วนนี้ ก็จะเป็นความรู้สำคัญในการผลิตสื่อและคู่มือที่เป็นระบบที่ดี ภายหลังศึกษาและ Present แล้ว ยังได้รับมอบหมายให้แก้ไขคู่มือและเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดหายไปและพกพร่องของระบบ LMS เพื่อความถูกต้องยิ่งขึ้นในการเข้าใช้งาน

  13. Rattiya said

    ในการฝึกงานช่วงสัปดาห์ที่ 3ได้รับมอบหมายให้ผลิตสื่ออีเลิร์นนิ่ง โดยทางพี่เลี้ยงจะมีข้อมูลนำขึ้นระบบกลางของทาง TCU ไว้ให้ ข้าพเจ้าและ กมลชนก ได้รับมอบหมายในส่วนนี้ ให้ทำการแก้ไข นำข้อมูลส่วนของเนื้อหาของบทเรียน ในเรื่อง Animation มาทำการผลิตตกแต่ง ออกแบบ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ สร้างพื้นหลัง ปรับปรุงรูปภาพเดิม เนื้อหาเดิม ให้มีความกระชับ เข้าใจง่าย และทำให้ผู้เรียนนั้นสนใจที่จะเข้ามาเรียน โดยโปรแกรมที่ใช้นั้นคือ โปรแกรม Dreamweaver cs3 ซึ่งการทำงานครั้งนี้ก็เจออุปสรรคคือ ต้องทำไฟล์ภาพให้มีขนาดเล็กมากเพื่อนำเข้าสู่โปรแกรม โดยต้องใช้ความพยายามในการตัดออกเป็นชิ้นเล็กๆใน Photoshop เมื่อนำขึ้นระบบก็ต้องนำแต่ละส่วนมาต่อๆกันให้เป็นภาพเดียว ซึ่งทำให้ค่อนข้างเสียเวลา โปรแกรมที่ใช้สร้างเวปก็ยังไม่ถนัดมากนัก แต่พี่เลี้ยงก็คอยช่วยเหลือให้คำแนะนำ สอนในส่วนที่ไม่เข้าใจ นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้โปรแกรม Relode Editor ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเชื่อมต่อของข้อมูลอีเลิร์นนิง ให้มีความสมบูรณ์ก่อนนำขึ้นระบบจริง ในส่วนนี้ก็ได้มีความรู้ในการสร้างบทเรียนและการใช้โปรแกรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาประยุกต์ใช้และนำมาใช้ร่วมกับการทำโปรเจคงานและได้ความรู้ใหม่ๆที่จะเป็นแนวทาสงในการผลิตสื่ออีเลิร์นนิงที่ดีต่อไป

  14. Rattiya said

    ในการฝึกงานช่วงสัปดาห์ที่ 4 ได้เรียนรู้ในส่วนของการตัดต่อ VDO ได้ออกนอกสถานที่เพื่อศึกษางานจริง ได้รู้ถึงระบบการทำงาน การเดินสาย การเชื่อมต่ออุปกรณ์เครื่องมือต่างๆภายในสถานที่จริง รวมื้งอุปสรรคของการทำงานในครั้งนี้ โดยได้มาจากการสัมภาษณ์ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงภายในงานที่ทาง TCU ได้จัดขึ้นมา นอกจากนี้ได้ศึกษาข้อมูลเรื่องการตัดต่อเพิ่มเติมจากบทเรียนอีเลิร์นนิงที่ทาง TCU ได้สร้างเป็นบทเรียนขึ้นให้ผู้สนใจได้ทำการศึกษา ซึ่งได้อธิบายขึ้นตอนการทำงานไว้อย่างละเอียด ในส่วนของการใช้โปรแกรม Producer พี่เลี้ยงมอบหมายให้กลุ่มของข้าพเจ้านำเสนองานที่ได้ทำการศึกษาจากนอกสถานที่เป็นการเสนอแบบ PowerPoint พร้อมทั้งวาดโครงสร้างแผนผังการจัดงาน ในส่วนของเครื่องมือเทคนิคต่างๆที่ใช้ภายในงาน เช่น กล้อง เครื่องเสียง VDO ลำโพง การเดินสาย เป็นต้น พร้อมทั้งภายในสัปดาห์นี้ข้าพเจ้าและเพื่อนๆยังได้รับความรู้จากการได้เข้าร่วมงานนอกสถานที่ดังกล่าว เกี่ยวกับ APEC การศึกษาไทยในอนาคต ซึ่งนับว่าเป็นผลพลอยได้จากการเข้าไปศึกษาดูงานใครั้งนี้ด้วย นอกจากมีการพรีเซ้นงานแล้ว ยังมีการทำแบบทดสอบ ซึ่งทางพี่เลี้ยงได้ทำขึ้นมาเพื่อทดสอบความรู้ที่ได้ให้ข้าพเจ้าทำการศึกษาจากอีเลิร์นนิงในระบบ

  15. NAPHAK said

    สัปดาห์ที่ 4 ( 23-27 พ.ย. 52) ในสัปดาห์นี้ได้เรียนรู้ในส่วนของ การบันทึกเสียง บันทึกวิดีโอ เพื่อนำไปผลิตสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ อาจารย์พี่เลี้ยงคือ คุณศักดิ์สิทธิ์ (พี่หมอ)
    – ได้เข้าไปชมห้องอัดเสียง ของ TCU ซึ่งเป็นห้องทำงานของอาจารย์พี่เลี้ยงด้วย ภายในห้องบันทึกเสียงก็จะมีอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการทำงาน เช่น โทรทัศน์เเบบ CRT เเละเเบบ LCD ,กล้องวิดีโอ เเบบ 3 CCD, BLUE SCREEN, soft box คอมพิวเตอร์เเบบ PC เเละ nootbook , จอมินิเตอร์ , เครื่องควบคุมเสียง ฯลฯ จากนั้นอาจารย์พี่เลี้ยงได้พูดคุยเเละอธิบายงานอย่างคร่าวๆ ว่าในส่วนนี้มีงานอะไรที่จะต้องรับผิดชอบบ้าง จากนั้นก็ได้ลองทำการอัดวิดีโอ โดยโปรเเกรมที่อาจารย์พี่เลี้ยงใช้ เป็นโปรเเกรม TriCaster Pro เท่าที่เห็นการทำงานก็จะเป็นในส่วนการสร้างฉากพื้นหลังที่เสมือนจริง ตัวโปรเเกรมนี้ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักเท่าไร เเต่ก็เริ่มมีคนใช้โปรเเกรมนี้มากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นโปรเเกรมที่น่าสนใจเเบบหนึ่ง ซึ่งน่าจะทำการศึกษาต่อไป จากนั้นก็ได้รับมอบหมายงานวาดไดอะเเกรม ในงานสัมนา APEC ที่จะต้องไปทำการศึกษาในวันที่ 26 พ.ย.
    – การการตรวจสือวิชาไอศกรีม ของมหาวิทยาลัยราชฏัชสวนดุสิต โดยได้เห็นรูปเเบบการทำ พบว่า มีรูปเเบบที่น่าสนใจ มีการเเสดงทั้งภาพนิ่งเเละภาพเคลื่อนไหว ทำให้สื่อน่าดึงดูดเเก่ผู้เรียน อีกทั้งยังสามารถเป็นเเนวทางในการทำโปรเจคได้อีกด้วย ในส่วนที่จะต้องเเก้ไขก็มีเช่นกัน คือ ในส่วนของเนื้อหาบทเรียน ควรที่จะมีการเเบ่งเนื้อหาออกเป็นข้อๆ ไม่ควรที่จะนำเนื้อหามารวมกัน เพื่อป้องกันการสับสนในขณะเรียน
    – ได้ไปศึกษาดูงาน สัมนา APEC ณ โรงเเรมวินเซอร์ สุขุมวิท โดยได้ไปดูการติดตั้งเครื่องเสียงภาพในงาน โดยได้ไปสอบถามกับพี่ๆที่เป็น organnize ที่ทำการติดตั้งเเผงควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดภายในงาน นอกจากนี้ยังได้ทราบถึงปัญหาในการทำงานของพี่ๆ ซึ่งๆพี่ๆบอกว่า เเม้ว่าจะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นมาก็เเล้วเเต่ ก็จะต้องหาวิธีเเก้ไขโดยเร็ว หรือหาวิธีเเก้ไขที่ดีที่สุด เพราะทุกส่วนต่างเป็นเนื้องานที่สำคัญ ถ้าพลาดไปนิดนึง ก็อาจทำให้การทำงานนั้นมีอุปสรรคได้

  16. NAPHAK said

    สัปดาห์ที่ 5 (30 พ.ย.- 4 ธ.ค. 52) ในสัปดาห์นี้พี่ภา (คุณธัญญา) จะต้องเป็นผู้ให้ความรู้ในส่วนของด้านการให้บริการในระบบ LMS เเต่เนื่องจากสัปดาห์นี้พี่ภางานเยอะ จะต้องนำบทเรียนขึ้นระบบ จึงไม่ได้เข้ามาอบรมงานให้ เวลาที่เหลือดิฉันจึงได้ทำการตรวจสื่อบทเรียน e-learning เเทน โดยในสัปดาห์นี้ดิฉันได้ตรวจสื่อ 2 วิชา คือสื่อวิชาเเกง เเละสื่อวิชาการผลิตเบเกอรี่ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
    จากการตรวจสื่อในครั้งนี้ พบจุดบกพร่องคล้ายๆกัน ในส่วนของหัวข้อเนื้อหา ที่ทางผู้ผลิตสื่อไม่ได้เเยกหัวข้อเนื้อหาไว้อย่างชัดเจน ซึ่งในความเป็นจริงนั้นในหัวข้อเเต่ละหัวข้อ ควรที่จะทำการเเบ่งส่วนของเนื้อหานั้นๆ ไม่ความที่จะนำเอาเนื้อหามารวมอยู่ในหัวข้อเดียวกัน ซึ่งจะเป็นการทำให้ผู้เรียนเกิดความสับสน ว่าได้เรียนเนื้อหานี้หรือยัง เเละเพื่อไม่เป็นการทำให้ผู้เรียนต้องเสียเวลามานั่งเรียนซ้ำอีก ในส่วนอื่นอื่นๆทั้งในด้านเทคนิค รูปเเบบ ถือว่าใช้ได้ มีการนำภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่งมาประกอบ ทำให้สื่อมีความน่าสนใจ อีกทั้งยังพอนำไปเป็นเเนวทางในการที่จะผลิตสื่อเพื่อที่จะทำโปรเจคได้อีกด้วย

  17. eknarin said

    งานโหดแต่ได้ประสบการณ์ ที่ดีอย่างไรอยากให้เรียนรู้ระบบงานไว้มากๆ นะครับ อย่างไรลองศึกษาเทคนิคการสร้างงานนะครับ ตั้งแต่ storyboard จนถึงงานผลิตเลยนะครับ take care นะคับ

  18. ในสัปดาห์1(2-6 พ.ย. 52)
    – ในช่วงสัปดาห์แรกพี่เลี้ยงคนแรกมอบหมายงานให้พวกเราตรวจสื่อ e-learning ที่มหาวิทยาลัยต่างๆผลิตส่งมาให้ทาง TCU นำขึ้นระบบ ซึ่งสื่อที่ส่งมานั้นก็มีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน พี่เลี้ยงบอกว่าขึ้นอยู่กับ โปรแกรมที่ทางมหาวิทยาลัยนั้นใช้ผลิต โดยที่การตรวจสื่อe-learningนี้ จะผ่านหรือไม่ผ่าน จะได้ขึ้นระบบของ TCUหรือไม่นั้น พวกเราต้องมาตรวจสอบกันว่าสื่อที่ส่งมามีมาตรฐาน ตรงตามที่TCUกำหนดไว้หรือไม่ ซึ่งก็จะตรวจสอบทั้งในด้านเนื้อหา เวลา ความเหมาะสม และด้านเทคนิคการนำเสนอของตัวบทเรียน ซึ่งจากการที่ได้ตรวจสื่อe-learningในสัปดาห์แรกนี้ พวกเราก็ได้เหนทั้งสื่อe-learningทั้งที่ดีและไม่ดีด้วยกัน พี่เลี้ยงเอง
    ก็บอกว่า Projectที่เราต้องทำนั้นก็ต้องผลิตบทเรียนขึ้นมา 1 วิชา ซึ่งสามารถนำความรู้ที่ได้จากการตรวจสื่อนี้ไปผลิตบทเรียนได้เพราะเราได้เห็นสื่อทั้งดีและไม่ดีแล้ว
    – และนอกจากการตรวจสื่อแล้ว สัปดาห์แรกนี้พี่เลี้ยงยังได้สอยพวกเราใช้เครื่องมือสำนักงานต่างๆ ทั้งถ่ายเอกสาร ปริ๊นส์งาน สแกน ซึ่งเครื่องใช้สำนักงานเหล่านี้ถ้าเราไม่ได้มาฝึกงานจริงๆคงไม่มีโอกาสได้ใช้เพราะเป็นเครื่องคนละแบบกับที่พวกเราเคยใช้กันที่บ้านหรือมหาวิทยาลัยของตนเอง ต้องมีการ Map Network Drive จะทำให้สั่งพิมพ์ได้ จากชั้นหนึ่งไปอีกชั้นหนึ่งเลยก็ได้ ซึ่งในสัปดาห์แรกนี้ บางอย่างยังไม่ค่อยเข้าที่เข้าทางนักในส่วนนี้ยังมีติดๆขัดๆบ้าง แต่รับรองว่าสัปดาห์ต่อไปพวกเราจะสามารถทำงานและใช้งานเครื่องมือต่างๆได้คล่องขึ้นแน่นอน

  19. ในสัปดาห์1(9-14 พ.ย. 52)
    – ในสัปดาห์ที่2นี้ เราเปลี่ยนพี่เลี้ยงเป็นพี่อีกคนหนึ่ง ซึ่งมีความรู้ในส่วนของ LMSเป็นอย่างมาก พี่เลี้ยงมอบหมายงานให้พวเราไปศึกษาการใช้งานระบบLMSในคนละส่วนด้วยกัน (Teacher Student และ Admin) ซึ่งในส่วนนี้ซึ่งในส่วนนี้ นภัคได้ในส่วนของTeacher กมลชนกได้ส่วนของStudent และรัตติยาได้ส่วนของAdmin ซึ่งพี่ให้เวลาเราไปศึกษากันเองมือแล้วมาpresentในส่วนของตนเองให้เพื่อนๆและพี่ฟัง ซึ่งในการ Presentก็จะพูดถึงการใช้งาน หน้าที่ของแตะละส่วนอย่างละเอียด โดยที่ระหว่างการนำเสนอ พี่เลี้ยงก็จะคอยพูดเสริมและแนะนำ ทั้งในเรื่องของระบบ LMS เองและเรื่องของการนำเสนอ ว่าเราควรจะนำเสนออย่างไร วิธีการตอบคำถามเมื่อผู้ฟังการนำเสนอถาม แล้วเราไม่ทราบคำตอบ บุคลิกภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นอย่างมากกับพวกเราซึ่งสามารถนำไปปรับปรุงใช้ได้จริงกับงานของเราทั้งปัจจุบันและอนาคต

  20. ในสัปดาห์1(16-19 พ.ย. 52)
    – ในสัปดาห์ที่3นี้ พี่เลี้ยงคนที่3 มอบหมายงานซึ่งเป็นภาระอันหนักอึ้ง หนักจริงๆซึ่งงานนี้ทำร่วมกับรัตติยาโดยพี่ให้นำเนื้อวิชาที่เคยนำขึ้นระบบมาปรับปรุง หรือทำใหม่เลย โดยที่พี่บอกว่าถ้าทำใหม่เลยจะดีมาก ซึ่งการปรับปรุงนั้นอีอย่างก็คือการทำเว็บนั่นเองโดยใช้โปรแกรม Dreamwaver cs3 ซึ่งข้าพเจ้ากับรัตติยาก็ได้แต่มองหน้ากันว่า Dreamwaver นั้นเคยเรียนตั้งแต่ปี 1 แต่เมื่อพี่ให้ทำก็ลองดู โดยพี่บอกว่าถ้าไม่ถนัด Dreamwaver ก็ทำจากโปรแกรมFlashก็ได้ (Flashเรียนมาสัก2คาบได้)จากนั้นได้รับมอบหมายงานก็เอาลองนั่งทำดู ตอนนั้น ทั้งข้าพเจ้าและรัตติยา รู้สึกหนักใจมากเพราะพี่ไม่ได้สอนอะไรเพิ่มเติมมา นั่งลองทำลองศึกษาไปสักพัก ก็คิดแล้วว่า Dreamwaver ไม่ได้แน่จึงเปลี่ยนไปลองทำFlash แต่พอลองทำจริงๆไม่ง่ายอย่างที่คิดก็กลับไปทำDreamwaver เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอยู่อย่างนั้น ทั้งข้าพเจ้าและรัตติยาจึงตัดสินใจไปบอกพี่ว่าทำไม่ได้ ขอทำอย่าอื่น พี่จึงตัดสินใจสอนฉันและรัตติยาในเบื้องต้นเหมือนการรื้อฟื้นความรู้เก่าๆขึ้นมา จากนั้นวันต่อมาเราทั้งสองคนจึงทำอย่าจิงจัง ทั้งหารูปประกอบเพิ่ม หาข้อมูลเพิ่ม ออกแบบทำBGเอง ซึ่งเราก็ทำส่งพี่ไปได้คนละสองบท ถึงแม้ว่าสัปดาห์นี้เราทั้งสองจะดูทุลักทุเลกับงานที่ได้รับไปบ้าง แต่อย่างน้อยเราก็ได้รื้อฟื้นความรู้เก่าและได้เทคนิค และความรู้บางอย่างเพิ่มเติมที่สามารถนำไปปรับใช้กับโปรเจคที่เราจะทำได้ด้วย

  21. ในสัปดาห์1(23-27 พ.ย. 52)
    – ในสัปดาห์ที่4นี้ พี่เลี้ยงคนที่4 บันทึกเสียง บันทึกวิดีโอ เพื่อนำไปผลิตสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ พี่เลี้ยงได้นำพวกเราเข้าไปชมห้องบันทึกภาพ และเสียงที่ทางผู้ผลิตสื่อของTCUจะมาใช้กันบ่อย เพื่อนำไปประกอบกับบทเรียนที่ผลิตขึ้น โดยพี่ก็แนะนำเครื่องมือแต่ละชนิด หน้าที่ การใช้งาน ข้อดีและข้อเสียต่างๆของเครื่องมือนั้น ซึ่งพี่ก็ทดลองให้เราดูและให้เราได้ลองเล่นลองใช้งานจริงๆ จากนั้นพี่ก็อมอบหมายให้เราเข้าไปเรียนบทเรียนที่อยู่ในระบบในเรื่องของที่พี่สอนอยู่เพื่อที่พี่จาให้มาทำแบบทดสอบ
    – นอกจากนั้นสัปดาห์นี้พวกเรายังมีโอกาสได้เข้าร่วมงานAPEC ในหัวข้อการศึกษาในอนาคต โดยที่พี่เลี้ยงได้ให้เราเข้าไปดูเวลาเค้าถ่ายทำเราจัดงานกันจริงๆว่าเป็นอย่างไร กล้องตัวไหนต้องอยู่ตรงไหนทำหน้าที่อย่างไร มือเครื่องมืออะไรสำคัญบ้าง เรื่องของระบบเสียง ซึ่งส่วนนี้พี่ก็เปิดโอกาสให้เราไปสัมมภาษณ์ เจ้าหน้าออร์แกไนซ์ ที่ทางTCUได้จัดจ้างมา ได้ไปสอบถามถึงปัญหาอุปสรรคต่างๆของการทำงานนี้ว่ายากง่ายอย่างไร เครื่องมือแต่ละตัวทำหน้าที่อย่างไร การทำงานของเจ้าหน้าที่แต่ละคน ซึ่งพี่ๆก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี อธิบายให้เราฟังทุกอย่างและตอนท้ายยังชวนพวกเราไปทำงานอีกด้วย พี่เลี้ยงบอกว่าให้เราทำรายงานเรื่องที่ไปสัมภาษณ์มาส่งให้วาดไดอะแกรมของผังการจัดวางเครื่องมือในส่วนต่างๆภายในงานมาส่ง บรรยายหน้าที่ของเครื่องมือแต่ละตัวมา ซึ่งคิดว่าไม่ยากเกินความสามารถ เพราะเราต่างก็เข้าใจการอธิบายของพี่ทีมออร์แกไนซ์กันจริงๆ ซึ่งการทำงานและดูงานในสัปดาห์นี้ถือว่าผ่านพ้นไปได้ด้วยดีเลยทีเดียว

  22. ในสัปดาห์(30-4 พ.ย. 52)
    -ในสัปาดาห์นี้เป็นหน้าที่ของพี่เลี้ยงคนต่อมาซึ่งเราจะเรียนกันในส่วนของด้านการให้บริการในระบบ LMS แต่เนื่องจากพี่เลี้ยงมีงานยุ่งมากจึงไม่สามารถมาสอนเราได้ ในสัปดาห์นี้ เราจึงตรวจสื่อที่ทางมหาวิทยาราชภัฏสวนดุสิตส่งมาให้ทางTCUนำขึ้นระบบ 1วิชา และเวลาว่างนั้น ก็มีการหาเนื้อหาของวิชาที่จะผลิตเป็นบทเรียนในโปรเจคของพวกเรา ได้พวกพี่ๆก็ได้ให้เราเดินเอกสารไปในส่วนต่างๆ ได้เห็นความยุ่งยากของคำว่าราชการ ว่ากว่าแต่ละเรื่องจะผ่านได้ จะต้องได้รับการอนุมัติจากส่วนนั้น จะต้องผ่านการเซนต์ยินยอมจากส่วนนี้ ซึ่งทำให้เราได้เรียนรู้ว่า ถ้าอยากได้เร็วก็ต้องทำให้เสร็จเร็ว เพราะต้องไปผ่านอีกหลายส่วน เรื่องที่เหมือนจะทำไม่นานก็เป็นเรื่องที่นานได้ ได้เห็นระบบราชการจริงๆ สัปดาห์นี้เราก็ได้เรียนรู้หลายอย่างด้วยกันทั้งเรื่องเก่าและเรื่องใหม่

  23. Nammon said

    เป็นยังไงบ้าง ตรวจสื่อบกัน อย่าเพิ่งเบื่อนะ เพราะเราจะได้เห็นตัวอย่างที่เค้าผลิตกันจริงๆ จะได้เรียนรู้ว่า ควรหรือไม่ควร อันไหนตัวอย่างที่ดี อันไหนต้องปรับปรุงนะคะ มองในแง่ดี เราจะได้ประสบการณ์เยอะขึ้นค่ะ

    อ. เปิ้ล

  24. Rattiya said

    สัปดาห์ที่ 5 (30 พ.ย.- 4 ธ.ค. 52) ในสัปดาห์นี้พี่ภา (คุณธัญญา) แต่เนื่องพี่ภาติดภาระงานจึงไม่มีโอกาสได้มาสอน ข้าพเจ้าจึงเอาช่วงเวลานี้มาพิมพ์งานโปรเจคที่จะทำเป็นบทเรียนอีเลิร์นนิงและสืบค้นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องตามเวปไซต์ และช่วยพี่หมู (พี่เลี้ยงคนแรก) พิมพ์งานต่างๆ เช่น กรอกข้อมูลด้านเวลาการทำงาน OT เดินเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน เพื่อเซนต์รับทราบ และคิดหาหัวข้อวิจัย ในสัปดาร์นี้ ได้เรียนรู้เรื่องระบบงานราชการในบางส่วน ทุกครั้งที่ได้นำเอกสารขึ้นไปในหน่วยงานอีกส่วน ก็ได้เห็นการทำงานที่ยุ่งยาก

  25. Rattiya said

    สัปดาห์ที่ 6 (8 ธ.ค -11ธ.ค 52 ) เนื่องจากสัปดาห์นี้มีวันหยุดเยอะ ทำให้มีเวลาในการทำงานน้อย ในสัปดาห์นี้ พี่เจ (คุณบัณฑิต) เป็นพี่เลี้ยงดูแล ในส่วนของพวกโปรแกรมต่างๆที่จะใช้ในการผลิตสื่อ อีเลิร์นนิง และเป็นผู้ดูแลโปรเจคในครั้งนี้ด้วย พี่เจได้มอบหมายให้กลุ่มข้าพเจ้าดำเนินการผลิต StroryBoard ตามหัวข้องานที่ได้ผ่านการเสนอแล้วนั้น คือหัวข้อ สื่อสำหรับการศึกษาพิเศษ ข้าพเจ้าได้ทำการ พิมพ์เนื้อหาเพื่อเตรียมข้อมูลในบางส่วน และศึกษาดู StroryBoard ตัวอย่างของมหาวิทยาลัยต่างๆที่ได้ส่งเข้ามากับทาง TCU เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำ จึงได้เห็นตัวอย่างจริง ที่สมบูรณ์ ที่จะได้นำมาเป็นตัวอย่างที่ดีในการทำStroryBoard ต่อไปในโปรเจคครั้งนี้

  26. NAPHAK said

    สัปดาห์ที่ 6 (8-11 ธ.ค. 52) ในสัปดาหน์นี้จะได้ไปศึกษากับอาจารย์พี่เลี้ยงในด้านการผลิตสื่อการเรียนการสอนทางไกล อาจารย์พี่เลี้ยงคือ คุนบัณฑิต (พี่เจ) โดยพี่เจได้ให้พวกเราเสนอชื่อโปรเจคที่จะทำ จึงได้หัวข้อ เกี่ยวกับสื่อสำหรับการศึกษาพิเศษ เมื่อคุยถึงรายละเอียดในส่วนของหัวข้อเเละเนื้อหาเเล้ว พี่เจก็อนุญาติให้เราทำเรื่องนี้ได้ เเละต้องทำ StroryBoard มาส่งก่อน จึงจะสามารถลงมือผลิตสื่อชิ้นนี้ได้ จากนั้นเราทั้งสามคนได้รวบรวมเนื้อหาจากทางอินเทอร์เน็ต เเละหนังสือต่างๆเพื่อที่จะได้ทราบขอบเขตว่าจะต้องมีเนื้อหาอะไรบ้าง หัวข้อไหนจะต้องหารายละเอียดเพิ่มเติม จากนั้นก็เขียนเป็น FlowChart
    เพื่อทำให้เข้าใจได้ง่ายว่าในเเต่ละหัวข้อ จะมีรายละเอียดปลีกย่อยอะไรบ้าง ทำให้พอจะมองภาพโดยรวมออกว่าจะเน้นเนื้อหาในส่วนไหน เนื้อหาจะได้เกินขอบเขตมากเกินไป
    สิ่งที่ได้รับในสัปดาห์นี้ คือ การรู้จักวางเเผนในการทำงาน หลังจากหลายสัปดาห์เราได้พยายามเรียนรู้ในส่วนของระบบ e-learning ไม่ว่าจะเป็นการเข้าใช้บริการ การดูเเลระบบ การตรวจสื่อ ต่อไปเราก็ต้องทำการผลิตสื่อเอง ต้องวางเเผนด้วยตัวเองเเล้วว่าจะต้องทำอะไรบ้าง เเต่ละคนมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง ซึ่งก็เป็นการฝึกการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เเละรู้จักรับผิดชอบในหน้าที่ของเเต่ละคนตามที่ได้รับมอบหมาย

  27. Nammon said

    แสดงว่า โปรเจคของหน่วยงานสกอ เค้าอนุมัตแล้วหรือเปล่าคะ นักศึกษาทำเอกสารตามแบบฟอร์มที่ได้ไปในคู่มือฝึกงานแล้วให้หน่วยงานเซนต์ มานะคะ แล้วเอามาส่งที่ภาคค่ะ

  28. NAPHAK said

    สัปดาห์ที่ 7(14-18 ธ.ค. 52)

    -ในอาทิตย์นี้พวกเราได้เสนอหัวข้อโปรคเจคใหม่ เนื่องจากที่เสนอในตอนเเรก ที่จะทำสื่อในหัวข้อ สื่อการศึกษาพิเศษ เนื่องจากได้รวบรวมเนื้อหาข้อมูลเเล้วเกิดปัญหาว่า เนื้อหามีน้อย ลองไปดูข้อมูลที่ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา ในหน่วยงานการศึกษาพิเศษ ก็ไม่มีเนื้อหาข้อมูลที่จะนำมาเพิ่มเติม เราจึงได้คิดเปลี่ยนหัวข้อ เป็น บทเรียนเกี่ยวกับระบบงานโทรทัศน์เเละการตัดต่อเเทน โดยได้รวบรวมเนื้อหา เเละเขียนเป็น Flow Chart เพื่อพี่จะนำไปเขียนเป็น storyboard ต่อไป

    – ปรึกษางานวิจัยกับคุณบัณฑิต (พี่เจ) เนื่องจากงานวิจัยที่ทำนั้น พี่เจเป็นผู้ดูเเลในโครงการนี้ จึงได้ไปปรึกษา เเละขอข้อมูล เพื่อที่จะได้นำมาใช้เเละเป็นประโยชน์ต่องานวิจัย

    -ตรวจสื่อวิชา ปัญหาพิเศษทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 1 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากการตรวจในครั้งนี้ ถือว่าสื่อชิ้นนี้ไม่ค่อยพบข้อบกพร่องมากเท่าไร มีเพียงบางส่วนในเรื่องของเสียง นอกนั้นถือว่าไม่มีปัญหาอะไร ในส่วนของรูปเเบบ มีการจัดองค์ประกอบได้อย่างเหมาะสม

  29. Rattiya said

    สัปดาห์ที่ 7 (14-18 ธ.ค. 52)

    เกิดปัญหาเรื่องหัวข้องานวิจัย ในเรื่อง สื่อสำหรับการศึกษาพิเศษ เพราะจากที่ได้ลงพื้นที่เพื่อขอข้อมูลจากทางหน่วยงานของ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ทราบมาว่า สื่อที่จะนำมาใช้กับเด็กพิเศษนั้นต้องอาศัยการบูรณาการ และข้อมูลที่เป็นตัวหนังสือ ก็ไม่เด่นชัดพอที่จะนำมาใช้ได้ จึงต้องมีการเปลี่ยนหัวข้อใหม่ และก็นำหัวข้อดังกล่าวที่ตัดสินใจเลือกนั้น ไปเสนอแก่พี่เลี้ยง คือ คุณบัณฑิต (พี่เจ) โดยพี่เจได้เลือกหัวข้อให้ตามที่เห็นสมควรว่า สามารถนำมาใช้งานได้จริงและเป็นประโยชน์กับผู้เรียน โดยสรุปว่า หัวข้องานใหม่ที่ได้คือ บทเรียนเกี่ยวกับระบบงานโทรทัศน์เเละการตัดต่อ ในสัปดาห์นี้จึงเริ่มพิมพ์เนื้อหา รวบรวม เพื่อนำมาผลิตสื่อ อีเลิร์นนิงต่อไป

    และได้ช่วยเพื่อนในการตรวจสื่อในรายวิชา ปัญหาพิเศษทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 1 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปด้วย

  30. NAPHAK said

    สัปดาห์ 8 (21-24 ธ.ค. 52)
    – ในสัปดาห์ของการทำโปรเจคสัปดาห์นี้ ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบในส่วนการรวบรวมเนื้อหาที่พิมพ์ทั้งหมด หลังจากที่ได้ทำการเเบ่งหน้าที่ในการพิมพ์เนื้อหาในเเต่ละบท เพื่อนำเนื้อหาที่พิมพ์นั้น ส่งให้กับกมลชนกซึ่งได้รับผิดชอบในส่วนของการทำ templates ของ stortboard เพื่อจะได้นำเนื้อหามาจัดวางภาพรูปเเบบได้อย่างคร่าวๆ
    -ทำการเขียนโครงงานวิจัย เพื่อที่จะนำเสนอให้กับทางภาควิชาได้รับทราบ เเละพิจารณา โดยมีหัวข้อดังนี้
    -หัวข้อวิจัย
    -ผู้รับผิดชอบโครงการ
    -หลักการเเละเหตุผล
    -วัตถุประสงค์
    -กลุ่มเป้าหมาย
    -นิยามศัพท์เฉพาะ
    -เอกสารเเละงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
    -ระยะเวลาในการดำเนินงาน
    -ขั้นตอนในการดำเนินงาน
    -หลังจากที่ได้ทำการเขียนโครงการโปรเจค เเละได้ให้อาจารย์พี่เลี้ยงทำการตรวจสอบเเร้ว (พี่เจ) ก็ได้พบในจุดของการปรับปรุงเเก้ไข เเละเพิ่มเติมในส่วนของรายละเอียดเพิ่มเติม ซึ่งในส่วนนี้ข้าพเจ้าได้รับหน้าที่ในส่วนของการเเก้ไขในส่วนของเนื้อหารายละเอียด โดยหัวข้อที่ต้องทำการปรับปรุง เเละเพิ่มเติม ได้เเก่
    -ตัวหนังสือที่พิมพ์ตกเป็นบางคำ
    -เเก้ไขในส่วนของกลุ่มเป้าหมาย
    -การวางตำเเหน่งของหัวข้อบางหัวข้อ ความจัดเรียงตามความสำคัญของเนื้อหา
    -เพิ่มเติมในส่วนของขอบเขตโครงสร้างรายวิชาเเละการติดต่อประเมินผล
    -ในส่วนของเวลาที่เหลือ ข้าพเจ้าทำการตรวจสื่อ

  31. NAPHAK said

    สัปดาห์ที่ 9 (28-30 ธ.ค.52)
    _ หลังจากที่กมลชนกได้สร้าง templates เสร็จเรียนเเล้ว ข้าพเจ้าเเละเพื่อนๆ ก้อได้นำเนื้อที่
    ทำที่ทำการพิมพ์เรียนร้อยเเล้ว มาใส่ไว้ในเทมเพลต ที่ได้ทำไว้ รวมไปถึงหารูปภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเเต่ละบท โดยจะมำการหารูปภาพเเล้วส่งให้กับกมลชนกทำการปรับเเต่งภาพ เเร้วจึงค่อยนำไปใส่ไว้กับรายละเอียดในส่วนของเนื้อหา ปัญหาที่เกิดขึ้น ได้เเก่ มีปัญหาในส่วนของการพิมพ์ตัวอักษรบางตัวไม่ได้ ก็ต้องทำการเเก้ปัญหาโดยการนำไปพิมพ์กับเครื่องอื่นๆ การหารูปภาพให้ตรงกับหัวข้อที่ต้องการ ซึ่งบางหัวข้อก็ไม่มีรูป หรืออาจหาได้ยากมาก ก็ทำการเเก้ปัญหาโดยการหาภาพอื่นที่ใกล้เคียงที่สุดมาใช้
    -ในส่วนของเวลาที่เหลือ ข้าพเจ้าทำการตรวจสื่อ

  32. NAPHAK said

    สัปดาห์ที่ 10 (4-8 ม.ค. 53)
    -ในสัปดาห์นีก็ยังอยู่ในส่วนของการทำโปรเจค คือการนำตัว story board ที่เสร็จเเร้ว มาวางในฟอร์มที่เป็น power point จากนั้นก็ทำการพิมพ์เนื้อหาบรรยาย ซึ่งจะต้องพิมพ์ในส่วนที่ผู้บรรยายต้องพูดทั้งหมด ทั้งในส่วนของเนื้อหาหลักที่มีในตัว story board เเละเนื้อหาบางส่วนที่ไม่มีในตัว story board นั่นก็คือเนื้อหาเพิ่มเติมที่นอกเหนือกับเนื้อหาที่อยู่ในตัว story board
    -ข้าพเจ้าได้รับหน้าที่ให้ทำการคิดตัวข้อสอบ pretest-postest 3 บท บทละ 30 ข้อ เป็นข้อสอบเเบบปรนัย ในส่วนของตัวข้อสอบ pretest-postest จะเป็นข้อสอบเหมือนกัน เพื่อจะทำการวัดได้ว่า ก่อนที่ผู้เรียนเรียน เเละหลังจากที่ได้เรียนไปเเล้ว ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น ในส่วนของคำถาม ก็จะอยู่ในขอบเขตของเนื้อหที่ที่ได้กล่าวมาเล้ว ซึ่งถ้าผู้เรียนตั้งใจเรียนเเละตั้งใจฟัง ผู้เรียนสามารถที่จะทำข้อสอบได้ไม่ยาก
    -ได้รับมอบหมายให้ทำในส่วนของการ packing ซีดี เเละเอกสาร ที่จะนำไปจัดในงานสัมมนา
    โดยเเผ่นซีดี ก็จะทำการ pack เป็นคู่ๆ ส่วนของเอกสาร ก็จะทำการจัดเอกสารเป็นชุด ชุดละ 5 เเผ่น
    -ได้รับมอบหมายให้ทำการเเก้ไขข้อมูลเอกสาร โดยการปริ้นข้อมูลใหม่ลงบนกระดาษสติกเกอร์
    เเล้วจึงนำไปติดทับในส่วนของข้อมูลเก่า (วันที่ เดือน) จนเสร็จเรียบร้อย

  33. Rattiya said

    สัปดาห์ 8 (21-24 ธ.ค. 52)

    – รับผิดชอบในส่วนของการทำโปรเจค ข้าพเจ้าได้จัดพิมพ์เนื้อหาเพื่อส่งให้ นภัครวบรวม และค้นหารูปภาพต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา

    – ทำการเขียนโครงงานวิจัย เพื่อนำกลับไปเสนอต่อทางภาควิชา
    โดยมีหัวข้อดังนี้
    -หัวข้อวิจัย
    -ผู้รับผิดชอบโครงการ
    -หลักการเเละเหตุผล
    -วัตถุประสงค์
    -กลุ่มเป้าหมาย
    -นิยามศัพท์เฉพาะ
    -เอกสารเเละงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
    -ระยะเวลาในการดำเนินงาน
    -ขั้นตอนในการดำเนินงาน

    รับผิดชอบด้านการเขียนใบโครงการโปรเจค เพื่อนำเสนอพี่เลี้ยงอย่างเป็นทางการ เพื่อให้ตรวจสอบ และเซ็นต์ผ่าน เพื่อนำไปเสนอต่อทางภาควิชา หลังจากที่ได้นำเสนอพี่เลี้ยงไป ก็ได้พบข้อพกพร่องต่างๆ คือ
    – ตัวหนังสือที่พิมพ์ตกเป็นบางคำ
    – ให้เปลี่ยนแปลง กลุ่มเป้าหมาย
    – ด้านการวางตำเเหน่งของหัวข้อบางหัวข้อ ความจัดเรียงตามความสำคัญของเนื้อหา
    – เพิ่มเติมในส่วนของขอบเขตโครงสร้างรายวิชาเเละการติดต่อประเมินผล
    ซี่งหลังจากที่ได้พบข้อพกพร่องมา นภัคก็ได้ทำการแก้ไข และนำไปเสนอต่อพี่เลี้ยงใหม่ จนผ่าน

  34. Rattiya said

    สัปดาห์ที่ 9 (28-30 ธ.ค.52)

    หลังจากที่กมลชนกได้สร้าง template เสร็จเรียบเเล้ว ข้าพเจ้าเเละเพื่อนๆ ก้อได้นำเนื้อที่ ทำที่ทำการพิมพ์เรียบร้อยเเล้ว มาจัดเรียงตามหัวข้อลงใน template แยกตามบทที่ได้ทำไว้ และจัดหารูปภาพเพิ่มเติม ใน template ที่สร้างขึ้นมานั้น จะแบ่งเป็น 2 template ในแต่ละบท คือใส่เนื้อหาอย่างเดียว กับ ใส่เนื้อหาและรูปภาพ ซึ่งแต่ละบทก็จะมี template ที่มีสีแยกแตกต่างกัน
    อุปสรรคที่มี ก็คือ เมื่อนำ template มาลงเนื้อหา ตัวอักษรบางคำที่ copy มาจาก word ไม่ปรากฎใน Photoshop จึงต้องแก้ไขใหม่ แต่เมื่อแก้ไขใหม่แล้ว นำไปเปิดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเพื่อนๆ ปรากฎว่า เกิดการพิมพ์ซ้อนเนื้อหาเดิม จึงต้องมาแก้ไขใหม่ ในคอมพิวเตอร์ของเพื่อนอีกครั้ง ทำให้เสียเวลา
    รูปภาพที่จะนำมาประกอบเนื้อหานั้น หาได้ยาก ซึ่งจากเวบไซต์ก้ค้นหาไม่เจอ หากจะสร้างเองก็ยาก จึงต้องหาภาพที่ใกล้เคียงมากที่สุด หรือบางเนื้อหา ก็ต้องตัดออก เพราะหากไม่มีรูปภาพประกอบ ก็อธิบายไม่ได้

  35. Rattiya said

    สัปดาห์ที่ 10 (4-8 ม.ค. 53)
    ยังคงจัดทำงานในส่วนของโปรเจค คือนำ เนื้อหาที่ได้จำวางลงใน template แล้ว มาวางลงในฟอร์มที่เป็น power point ซึ่งพี่เลี้ยงได้จัดทำแบบฟอร์มไว้ให้แล้ว พร้อมทั้งมีการกรอกข้อมูลในส่วนของเนื้อหาที่จะต้องบรรยายตาม เนื้อหาใน template และเนื้อหาที่จะบรรยายเพิ่มเติมสนอกเหนือจากนั้น เพื่อเป็นต้นแบบในการทำการบรรยายเสียงต่อไป ซึ่งผู้จัดทำจะต้องทำการบรรยายตามเนื้อหาดังกล่าวที่พิมพ์ลงไป
    มีการแก้ไขในบาง template เช่น แก้ไขตัวอักษร ขนาด เป็นต้น

    – จัดเรียง เอกสารต่างๆของทาง TCU นำมาจัดเป็นชุดๆ เพื่อนำไปใช้ในงานสัมมนา เป็นจำนวน กว่า 1000 ชุด

    – ได้รับมอบหมายให้ทำในส่วนของการ packing ซีดี เเละเอกสาร ที่จะนำไปจัดในงานสัมมนา โดยเเผ่นซีดี ก็จะทำการ pack เป็นคู่ๆ ส่วนของเอกสาร ก็จะทำการจัดเอกสารเป็นชุด ชุดละ 5 เเผ่น และจัดเรียงลงในกล่อง

    – ได้รับมอบหมายให้แก้ไขข้อมูลเอกสาร จากคุณราตรี โดยข้าพเจ้ามีหน้าที่นำสติ๊กเกอร์ที่สำเร็จรูปแล้วมาติดแปะทับลงไปในใบเอกสาร

  36. NAPHAK said

    สัปดาห์ที่ 11 (11-13 ม.ค. 53)

    -ในวันเเรกนี้ เราได้ปรึกษาหัวข้องานวิจัยกับคุณภานุวัฒน์ (พี่เอ๋) ซึ่งดำรงตำเเหน่งเป็นนักวิชาการในหน่วยงานของ TCU โดยพี่เอ๋ได้รับมอบหมายจากท่านอาจารย์ฐาปนีย์ให้คอยเป็นที่ปรึกษางานวิจัยของเรา โดยในวันนี้เราได้นำหัวข้อการวิจัยไปปรึกษากับพี่เอ๋เนื่องจากข้าพเจ้าเเละเพื่อนยังไม่เข้าใจในหัวข้องานวิจัยที่ได้รับมากจากอาจารย์ฐาปนีย์ ซึ่งหัวข้อวิจัยของข้าพเจ้าคือ การศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพการจัดการเรียนเเบบอีเลิร์นนิงของหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญด้านออกแบบเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (Practical ID) และหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (Practical Courseware) ปัญหานี้คือ ไม่เข้าใจในส่วนของคำว่าความพึงพอใจต่อคุณภาพ ซึ่งหลังจากที่ได้ไปปรึกษาพี่เอ๋เเล้ว พี่เอ๋ก็ให้ความเห็นว่าหัวข้อของคำว่าต่อคุณภาพนั้น ค่อนข้างจะเจาะลึก เกินกว่าที่จะทำความเข้าใจได้ในระดับปริญญาตรี พี่เอ๋จึงได้ปรับเปลี่ยนหัวข้อวิจัยให้ใหม่ เป็น การศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนในหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญด้านออกแบบเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (Practical ID) และหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (Practical Courseware) ของโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย จากนั้นพี่เอ๋ก็ได้มอบหมายให้พวกเราไปทำการหาเอกสารเเละงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ของบทที่ 2 ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย เเล้วนำมาเสนอให้พี่เอ๋ดูอีกที อีกทั้งยังมีเอกสารให้กับพวกเราเพื่อที่จะเป็นเเนวทางในการทำวิจัยอีกด้วย

    – เวลาในส่วนที่เหลือข้าพเจ้าเเละเพื่อนได้ลงมือทำโปรเจคต่อในส่วนของการเพิ่มเนื้อหาเพิ่มเติมลงใน story board

  37. Rattiya said

    สัปดาห์ที่ 11 ( 11 – 13 ม.ค 53 )
    สัปดาห์นี้เริ่มต้นจากการดำเนินงานในเรื่องของงานวิจัย โดยขอคำแนะนำจากคุณภานุวัฒน์ (พี่เอ๋ นักวิชาการในหน่วยงานของ TCU) เนื่องจากข้าพเจ้าได้นำข้อมูลและชื่อหัวข้อในบางส่วนส่งให้พี่เอ๋ทางอีเมลแล้ว พี่เอ๋จึงตอบกลับมา และเสนอแนะแนวทางในการทำงานวิจัย แนะนำเวบไซต์ และข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับงานวิจัย พร้อมทั้งนำหนังสือมาให้ศึกษาและอธิบายไปด้วย โดยหัวข้อใหม่ที่ข้าพเจ้าได้นั้นเป็นหัวข้อ “การศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม ที่มีต่อหลักสูตรการสร้างสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย” ซึ่งได้ปรับเปลี่ยนจากหัวข้อที่อาจารย์ฐาปนีย์แนะนำ เพื่อให้เข้ากับความต้องการของทาง TCU. มากยิ่งขึ้น ซึ่งในที่นี้พี่เอ๋ก็ได้นำไปปรึกษากับอาจารย์ฐาปนีย์แล้ว ปัญหาแรกที่พบเกี่ยวกับหัวข้องานวิจัยคือ ไม่เข้าใจคำว่า “การประกันคุณภาพ” ซึ่งพี่เอ๋บอกว่า ส่วนใหญ่หัวข้อเกี่ยวกับการประกันคุณภาพนั้น จะเป็นงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท หรือ ปริญญาเอก จึงทำให้ข้าพเจ้าและเพื่อนๆ ไม่ค่อยเข้าใจในส่วนนี้ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนหัวข้อให้รัดกุมขึ้น พี่เอ๋ได้มอบหมายให้ข้าพเจ้าศึกษา ค้นหาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยในบทที่ 2 พร้อมให้แบบฟอร์มข้อมูล ให้กรอกถึงที่มาของข้อมูลนั้นๆ และให้แบบฟอร์มการพิมพ์งานวิจัย ในส่วนของรูปเล่ม ตัวอักษร และอื่นๆ

    หลังจากนั้นก็ดำเนินการทำงานโปรเจคต่อในช่วงเวลาที่เหลือ

  38. Rattiya said

    สัปดาห์ที่ 12 ( 18 – 22 ม.ค 53 )
    เริ่มต้นจากการคุยปรึกษางานกับพี่เลี้ยงในเรื่องของโปรเจคซึ่งได้ทำการส่ง Storyboard ไปเรียบร้อยแล้ว พี่เลี้ยงจึงอนุญาติให้ดำเนินการลงมือทำสื่อจริงตาม Storyboard แต่เนื่องจาก Template ที่กลุ่มข้าพเจ้าได้ทำนั้นค่อนข้างจะโดดเด่นและดูไม่ค่อยเป็นทางการเท่าไหร่ และด้วยที่ว่าพี่เลี้ยงชอบอะไรที่เป็นทางการ จึงได้เสนอมาว่า จะเปลี่ยน Template มาให้ โดยใช้แบบฟอร์มเดิมเหมือนรุ่นพี่ เพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน พร้อมทั้งส่งตัว Mascot ให้พี่เลี้ยงได้ปรับแต่งและสร้างให้เป็นตัวแอนิเมชัน ระหว่างนั้นข้าพเจ้าและเพื่อนๆก็นั่งจัดเรียงข้อมูลเนื้อหาที่จะใส่ลงไปใน PowerPoint ใหม่ โดยยึดข้อมูลเดิมจาก Storyboard
    หลังจากนั้นได้นำ Template ที่พี่เลี้ยงส่งให้ มาลงเป็นแบ็คกราวใน PowerPoint โดยข้าพเจ้าและเพื่อนๆจะแบ่งเนื้อหากันรับผิดชอบคนละ บท ส่วนที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบคือเรื่อง การตัดต่อเทปวิดีทัศน์ เมื่อลงข้อมูลเนื้อหาเรียบร้อยแล้วก็เตรียมการบันทึกเสียง เพื่อนำเสียงที่ได้นั้นมาลงโปรแกรม Captivate พร้อมจัดทำเป็นตัวสื่อที่สมบูรณ์ต่อไป
    นอกจากนี้ยังเตรียมงานวิจัยเพื่อนำเสนออาจารย์ฐาปนีย์ ซึ่งได้ทำหารจัดการแก้ไขในบทที่ 1 และรวบรวมเนื้อหาบทที่ 2 เกี่ยวกับเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อรอนำเสนออาจารย์ต่อไป
    โดยในบทที่ 2 นี้ ข้าพเจ้าได้แบ่งหัวข้อออกเป็นดังนี้

    1. ความรู้เกี่ยวกับอีเลิร์นนิง
    2. ความรู้เกี่ยวกับการอบรม
    3. ประวัติมหาวิทยาลัยไซเบอร์
    4. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ
    5. การเรียนการสอนผ่านเว็บ
    6.เกี่ยวกับหลักสูตรการสร้างสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์
    7.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

  39. NAPHAK said

    สัปดาห์ที่ 12 ( 18 – 22 ม.ค 53 )

    -ในสัปดาห์นี้เราได้เริ่มทำการผลิตสื่อจริงหลังจากที่ได้ทำการส่งตัว Storyboard ไปเเล้ว
    รูปเเบบของตัว Storyboard ที่ได้ส่งไปนั้นจะเน้นไปทางด้านสีสันสดใส มีลายการ์ตูน ใช้ตัวอักษรที่ค่อนข้างจะวัยรุ่น เเต่ในความต้องการของคุณบัณฑิต (พี่เจ) คือ สื่อจะค่อนข้างออกเเนวเรียบๆ สีสันไม่ฉูดฉาดเท่าที่ควร อีกอย่างพี่ต้องการให้เราทำตัว Storyboard ก็เพื่อที่จะให้เราเข้าใจในตัว Storyboard นั้น ว่ามีวิธีเเละขั้นตอนทำอย่างไร เเละทำไมจึงต้องทำStoryboard
    ก่อนที่จะทำการผลิตสื่อนั้นจริงๆ พี่เจจึงได้ให้ตัว template มาใหม่ ซึ่งค่อนข้างจาออกเป็นทางการ ให้พวกเรามาลงเนื้อหาใน template ที่ที่เจได้ทำมาให้ เราจึงได้เเบ่งหน้าทีกันลงเนื้อหาในของเเต่ละบท เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว อีกทั้งยังต้องทำการอัดเสียง เพื่อที่จะนำเสียงไปใส่ในตัวสื่อ โดยพวกเราได้ใช้ โปรเเกรม adobe audition ในการอัดเสียง เตรียมพร้อมทั้งตัว template เเละ เสียงที่อัด เพื่อรอพี่เจจะมาสอนโปรเเกรม captivate ใสการผลิตสื่อ

    -ในส่วนของเวลาที่เหลือ ข้าพเจ้าทำการตรวจสื่อของมหาวิทยาลัยหอการค้า โดยสื่อชิ้นนี้ได้ทำการตรวจหลายครั้งเเล้ว ซึ่งก็ได้รับการเเก้ไข ข้าพเจ้าจึงได้รับมอบหมายให้ทำการตรวจสื่อวิชานี้อีกรอบ ซึ่งหลังจากที่ทำการตรวจเเล้วพบว่า ข้อบกพร่องที่จะต้องทำการเเก้ไขน้อยลงจะมีในบางส่วนเช่น สไลด์โครงสร้างของบทเรียน ที่ยังไม่ค่อยตรงตามที่ได้อ้างจากเนื้อหาทางด้านซ้าย เเละก็มีในส่วนที่ผิดพลาดเล็กๆน้อย เช่น ข้อความ ตัวหนังสือ

  40. สัปดาห์ ที่ 6 (8-11 ธ.ค. 52) พี่เลี้ยงที่เข้ามาสอนงานในสัปดาหน์นี้จะได้ไปศึกษากับอาจารย์พี่เลี้ยงคือ พี่เจ (คุณบัณฑิต)ซึ่งจะสอนในด้านการผลิตสื่อการเรียนการ สอนทางไกล โดยที่พี่เจจะเป็นผู้ดูแลโปรเจคของพวกเรา ในอาทิตย์แรกของพี่เจอาทิตย์นี้พี่เจให้เรานำหัวข้อวิชาและเนื้อหาไปเสนอพี่เจ โดยที่ต้องเอาเนื้อหาทั้งหมดที่จะนำมาผลิตบทเรียนมาให้พี่เจดู เพราะเราจะได้รู้ขอบเขตของเนื้อหา และทราบว่าเนื้อหาที่เรามี มากเพียงพอกับที่จะนำมาผลิตสื่อหรือไม่ และพี่ก็จะช่วยพวกเราพิจารณาว่า เนื้อหาที่เราจะนำไปผลิตนั้น เหมาะสมหรือไม่ แล้วถ้าพี่อนุมัติหัวข้อนั้นๆแล้ว ก็จะต้องทำสตอรี่บอร์ดมาให้พี่ดูก่อนที่จะผลิต ซึ่งหัวข้อวิชาที่พวกเราสนใจและนำไปเสนอพี่ก็คือ สื่อการศึกษาพิเศษ เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้ในการผลิตสื่อให้คนพิการในด้านต่างๆได้ใช้ในการเรียนรู้ ซึ่งพี่ก็ค่อนข้างโอเคกับหัวข้อนี้ เนื่องจากพวกเรามีความสนใจ และตั้งใจอยากจะทำจริงๆ ในสัปดาห์นี้หลักๆที่พวกเราทำกันก็คือวางแผนเกี่ยวกับโปรเจค แบ่งช่วยกันหาเนื้อหาจากอินเทอร์เน็ตให้ได้มากที่สุดเพื่อจะนำมาผลิตบทเรียน

  41. สัปดาห์ที่ 7(14-18 ธ.ค. 52) ในอาทิตย์นี้เกิดปัญหาขึ้นเนื่องจากในหัวข้อที่เราเสนอไปในตอนแรกนั้น (การศึกษาเด็กพิเศษ) จากที่เราได้แบ่งหน้าที่กันไปช่วยกันหาเนื้อหาที่จะนำมาผลิตบทเรียนนั้น จากที่เราได้ช่วยกันสืบค้นในอินเทอร์เน็ตนั้นก็พบว่าเนื้อหายังไม่เพียงพอกับที่เราจะนำมาผลิต เราจึงลงความคิดเห็นว่าควรจะลงพื้นที่จริงไปศูรเทคโนโลยีการศึกษาซึ่งอยู่ใกล้กับสถานที่ฝึกงานของพวกเราซึ่งพวกเราสืบค้นมาจากอินเทอร์เน็ตว่าที่นั่นค่อนข้างมีบทบาทในการผลิตสื่อสำหรับคนพิการ โดยเมื่อเราไปถงที่นั่นเราก็ถามหาหนังสือที่เกี่ยวกับการผลิตสื่อแต่ก็ได้รับคำตอบว่าไม่มี แต่พี่ที่นั่นก็ใจดีให้เราเข้าไปคุยเกี่ยวกับข้อมูลของเรื่องที่เราสนใจกับ ดร.วัชรินทร์ ฮ่ำรัตนาพร ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนส่งเสริมการผลิตสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ โดยที่เมื่อเรราคุยกับพี่เค้าแล้วก็ทราบทันทีว่าเนื้อหาไม่เพียงพอกับที่จะผลิตสื่อแน่นอนเนื่องจาก พี่เจได้บอกข้อกำหนดของสื่อที่จะผลิตไว้อย่างหนึงว่าสื่อจะต้องมีจำนวนชั่วโมงการเรียนอย่างน้อง 3 ชั่วโมง ด้วยกัน ดังนั้นเราจึงประชุมลงความคิดเห็นกันอีกครั้งว่าจะเปลี่ยนหัวข้อใหม่ และเราก็นำหัวข้อใหม่ไปให้พี่ดูโดยที่วิชานี้เป็นวิชาที่มีเนื้อหาอยู่แล้วจึงไม่ต้องห่วงในเรื่องของเนื้อหา ซึ่งพี่เจก็ตัดหัวข้อที่ยาก และเป็นศัพท์ทางเทคนิคมากเกิดไปออก ให้เหลือแต่หัวข้อที่เหมาะสมและสามารถอธิบายให้เข้าใจง่าย น่าสนใจให้เรา และมอบหมายให้เราทั้ง3คนดำเนินการในขั้นต่อไปได้เลย (ผลิตสตอรี่บอร์ด) นอกเนื้อจากงานเกี่ยวกับโปรเจคแล้วในอาทิตย์นี้เราทั้ง3คนยังช่วยกันตรวจสื่อปัญหาพิเศษทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 1 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกด้วย

  42. สัปดาห์ที่ 7(14-18 ธ.ค. 52) ในอาทิตย์นี้เกิดปัญหาขึ้นเนื่องจากในหัวข้อที่เราเสนอไปในตอนแรกนั้น (การศึกษาเด็กพิเศษ) จากที่เราได้แบ่งหน้าที่กันไปช่วยกันหาเนื้อหาที่จะนำมาผลิตบทเรียนนั้น จากที่เราได้ช่วยกันสืบค้นในอินเทอร์เน็ตนั้นก็พบว่าเนื้อหายังไม่เพียงพอกับที่เราจะนำมาผลิต เราจึงลงความคิดเห็นว่าควรจะลงพื้นที่จริงไปศูรเทคโนโลยีการศึกษาซึ่งอยู่ใกล้กับสถานที่ฝึกงานของพวกเราซึ่งพวกเราสืบค้นมาจากอินเทอร์เน็ตว่าที่นั่นค่อนข้างมีบทบาทในการผลิตสื่อสำหรับคนพิการ โดยเมื่อเราไปถงที่นั่นเราก็ถามหาหนังสือที่เกี่ยวกับการผลิตสื่อแต่ก็ได้รับคำตอบว่าไม่มี แต่พี่ที่นั่นก็ใจดีให้เราเข้าไปคุยเกี่ยวกับข้อมูลของเรื่องที่เราสนใจกับ ดร.วัชรินทร์ ฮ่ำรัตนาพร ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนส่งเสริมการผลิตสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ โดยที่เมื่อเรราคุยกับพี่เค้าแล้วก็ทราบทันทีว่าเนื้อหาไม่เพียงพอกับที่จะผลิตสื่อแน่นอนเนื่องจาก พี่เจได้บอกข้อกำหนดของสื่อที่จะผลิตไว้อย่างหนึงว่าสื่อจะต้องมีจำนวนชั่วโมงการเรียนอย่างน้อง 3 ชั่วโมง ด้วยกัน ดังนั้นเราจึงประชุมลงความคิดเห็นกันอีกครั้งว่าจะเปลี่ยนหัวข้อใหม่ และเราก็นำหัวข้อใหม่ไปให้พี่ดูโดยที่วิชานี้เป็นวิชาที่มีเนื้อหาอยู่แล้วจึงไม่ต้องห่วงในเรื่องของเนื้อหา ซึ่งพี่เจก็ตัดหัวข้อที่ยาก และเป็นศัพท์ทางเทคนิคมากเกิดไปออก ให้เหลือแต่หัวข้อที่เหมาะสมและสามารถอธิบายให้เข้าใจง่าย น่าสนใจให้เรา และมอบหมายให้เราทั้ง3คนดำเนินการในขั้นต่อไปได้เลย (ผลิตสตอรี่บอร์ด) นอกเหนือจากงานเกี่ยวกับโปรเจคแล้วในอาทิตย์นี้เราทั้ง3คนยังช่วยกันตรวจสื่อปัญหาพิเศษทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 1 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกด้วย

  43. สัปดาห์ 8 (21-24 ธ.ค. 52) ในสัปดาห์นี้เราเริ่มแบ่งหน้าที่เกี่ยวกับโปรเจคที่เราจะทำกัน โดยในขั้นนี้พี่ให้เราทำสตอรี่บอร์ดแบบสมบูรณ์ไปส่งพี่ ข้าพเจ้ารับหน้าที่ในการออกแบบTemplateที่จะนำมาใส่เนื้อหาของบทเรียนที่จะผลิตมาจัดวางลงในTemplateนี้ โดยที่โปรแกรมที่ข้าพเจ้าใช้ในการออกแบบก็คือ โปรแกรม Photoshop illustrator และ Image Ready ในด้านของนภัค และรัตติยาจะรับหน้าที่ในการรวบรวมเนื้อหาที่พิมพ์ทั้งหมด
    ในสัปดาห์นี้ต้องเขียนโครงงานวิจัยที่แต่ละคนจะทำเพื่อนำไปเสนออาจารย์ที่ภาควิชา
    โดยมีหัวข้อดังนี้
    -หัวข้อวิจัย
    -ผู้รับผิดชอบโครงการ
    -หลักการเเละเหตุผล
    -วัตถุประสงค์
    -กลุ่มเป้าหมาย
    -นิยามศัพท์เฉพาะ
    -เอกสารเเละงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
    -ระยะเวลาในการดำเนินงาน
    -ขั้นตอนในการดำเนินงาน
    จากนั้นรัตติยาก็รับผิดชอบอีหน้าที่คคคือเขียนโครงการโปรเจคไปให้พี่เลี้ยงเพื่อให้พี่เลี้ยงเซ็นอนุญาติแล้วจึงนำไปเสนออาจารย์ที่ภาควิชาอีกทีหนึ่ง แต่เมื่อนำไปให้พี่ดูแล้วพี่ก็ให้นำกลับมาแก้ในจุดต่างๆและเพิ่มเติมในส่วนที่พี่เห็นว่าควรจะต้องเพิ่มเติม ซึ่งตรงนี้ทำให้เห็นเลยว่าข้อบกพร่อง หรือจุดผิดเล็กๆน้อยๆที่บางทีเรามองข้ามไปนั้นในการทำงานที่ค่อนข้างเป็นทางการจุดพวกนี้เราไม่สามารถมองข้ามไปได้เลยแม้แต่จุดเดียว

  44. สัปดาห์ที่ 9 (28-30 ธ.ค.52) หลังจากที่ข้าพเจ้าสร้าง templates เสร็จในส่วนหนึ่งแล้วจึงแบ่งให้เพื่อนๆนำไปใส่เนื้อหาที่พิมพ์กันไว้แล้ว และข้าพเจ้าก็ได้มอบหมายให้นภัค และรัตติยาช่วยหารูปภาพที่จะนำมาใช้ประกอบกับเนื้อหาบทเรียนนี้ ซึ่งบางรูปก็หาไม่ได้จึงต้องหารูปที่ใกล้เคียงหรืออยู่ในเรื่องเดียวกันมากท่าสุด และเมื่อเพื่อนๆได้ทำการลงเนื้อหากันไปได้พอสมควร ข้าพเจ้าก็ลองมาสังเกตุและพิจารณาดูแล้วว่า Template ที่ทำนั้นมีสีสันที่มากเกิดไปดึงดูความสนใจของผู้เรียนไปที่ template มากกว่ารูปภาพและตัวเนื้อหาบทเรียน ข้าพเจ้าจึงตัดสินใจสร้าง template ใหม่ และลงเนื้อหาในส่วนที่เพื่อนได้ลงไปแล้วใน template ก่อนที่จะนำ template นี้ไปให้เพื่อนลงเนื้อหาที่เหลือต่อ โดยที่เพื่อนก็ชอบและรู้สึกว่าอันใหม่นี้ดูแล้วสบายตามากกว่าอันเก่า

  45. สัปดาห์ที่ 10 (4-8 ม.ค. 53)
    -ในสัปดาห์นี้ก็ยังอยู่ในเรื่องของการทำสตอรี่บอร์ดซึ่งในสัปดาห์นี้สัปดาห์นี้หลังจากที่เพื่อนใส่เนื้อหาเรียบร้อยแล้วข้าพเจ้าก็ได้ทำการนำไฟล์ที่เพื่อนๆได้ทำไว้มา exportออกมาเป็น.GIF เนื้องจากTemplateที่ข้าพเจ้าทำนั้นได้ทำเคลื่อนไหวไว้แล้วเพื่อให้พี่เจเห็นภาพว่าอยากให้เคลื่อนไหวแบบใดโดยไม่ต้องอธิบาย จากนั้นก็ให้เพื่อนๆช่วยเรียงภาพพร้อมเนื้อหาที่ได้แต่ละอันลงใน ฟอร์มสตอรี่บอร์ดที่พี่เจมีไว้ให้อยู่แล้ว ซึ่งที่ให้เพื่อทั้งสองเป็นคนเรียงเนื่องจากเพื่อนทั้งสองคนเป็นคนทำและพิมส่วนของเนื้อกาจึงคิดว่าเพื่อนน่าจะทราบมากที่สุดว่าเนื้อหานี้อยู่ส่วนใด และเนื้อหาใดมาก่อนหลังของในแต่ละเรื่อง แต่ละบท หลังจากนั้นก็ให้นภัคช่วยคิด pretest-postest 3 บท บทละ 30 ข้อ เป็นข้อสอบเเบบปรนัย ในส่วนของตัวข้อสอบ pretest-postest จะเป็นข้อสอบและนำมาใส่ในTemplateที่ทำไว้สำหรับใส่เนื้อหาส่วนข้อสอบนี้
    -ช่วยกัน packing ซีดี เเละจัดเรียงเอกสาร ที่พี่ๆที่TCUจะนำไปจัดในงานสัมมนา
    โดยเเผ่นซีดี ก็จะทำการ pack เป็นคู่ๆ ส่วนของเอกสาร ก็จะทำการจัดเอกสารเป็นชุด ชุดละ 5 เเผ่น
    -แก้วันที่ในเอกสารแจกของ TCU โดยการทำสติกเกอร์มาปิดทับวันที่เก่าที่พิมพ์ผิด

  46. สัปดาห์ที่11 (11-13ม.ค 53)
    ในสัปดาห์นี้เนื้องจากหยุด2วัน เนื่องไปพิธีครุศิษย์ที่มหาวิทยาลัย และพี่เจไม่ค่อยว่างเนื่องจากต้องไปสัมมนา อาทิตย์นี้พวกเราจึงทำโปรเจ็คในส่วนของสตอรี่บอร์ดกันต่อเพื่อเตรียมให้พี่เจดูเมื่อพี่เจกับมาทันที และในอาทิตย์เราก็ได้ปรึกษาวิจัยกับพี่ภานุวัฒน์ ซึ่งเป็นพี่นักวิชาการที่ TCU ที่จะมาช่วยเราดูในเรื่องของวิจัย ปรึกษาในเรื่องของหัวข้อ พี่สอนให้ดูว่าวิจัย ที่เราทำ ว่าอยู่ในแนวทางใด วิจัยตัวอย่างที่ใกล้เคียงเป็นแบบใด และพี่ก็มอบหมายให้เราไปหาวรรณกรรมและวิจัยที่เกี่ยวข้อง มาให้ได้เยอะที่สุดแล้วนำมาให้พี่ดูอีกที

  47. สัปดาห์ที่12(18-22 ม.ค 53) ในสัปดาห์นี้เรานำสตอรี่บอร์ดที่ลงสมบูรณ์ไปให้พี่ดู จากนั้นพี่ก็นำส่วนที่ต้องปรับปรุงมาให้ดู คือในเรื่องฟอนต์ตัวอักษรที่เราใช้นั้นค่อนข้างจะอ่านยากพี่จึงอยากจะให้เปลี่ยน หลังจากนั้นพี่ก็มาคุยเรื่องTemplateว่าจะใช้ของพี่หรือที่ทำมา
    ถ้าใช้ของพี่ๆก็มีให้เลย พวกเราได้ลงความคิดเห็นกันว่าหากมันยุ่งยากมากในการทำtemplateใหม่อีกก็เอาของพี่เลยก็ได้ แต่ตัวการ์ตูนที่ใช้ประกอบนั้นก็ยังคงเอาตัวการ์ตูนที่ข้าพเจ้าสร้างขึ้นมาด้วยโปรแกรม illustrator เป็นรูปนักศึกษาผู้หญิงใส่เครื่องแบบมหาวิทยาลัยศิลปากร จากนั้นพี่เจก็นำตัวการ์ตูนไปทำเป็นเคลื่อนไหวให้ด้วยโปรแกรมFlash และพี่ก็นำtemplateที่จะให้พวกเราใช้มาให้พวกเราลงเนื้อหาในPPTโดยที่พี่บอกว่าให้พวกเราอัดเสียงและลงเนื้อหาให้เรียบร้อยแล้วอาทิตย์หน้าพี่จะสอนโปรแกรมCaptivate ซึ่งพวกเราก็ได้แบ่งกันทำคนละบทโดยที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบในบทแรกคือเรื่อง กล้องโทรทัศน์ นภัคเรื่องระบบเสียงของโทรทัศน์ และรัตติยาเรื่องการตัดต่อเทปวิดีทัศน์

  48. NAPHAK said

    สัปดาห์ที่ 13 ( 25 – 28 ม.ค 53 )

    – ทำการสืบค้นงานวิจัยเเละคิดวิการดำเนินการในบทที่ 3 ของงานวิจัย โดยศึกษาตัวอย่างของงานวิจัยว่าจะต้องมีเนื้อหาอย่างไรบ้าง จากการศึกษาพบว่า ในบทที่ 3 นั้นจะต้องมีเนื้อหา ดังนี้
    1.การกำหนดประชากรเเละกรสุ่มกลุ่มตัวอย่าง
    2.การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
    3.การเก็บรวบรวมข้อมูล
    4.การจัดกระทำเเละการวิเคราะห์ข้อมูล
    -คุณบัณฑิต (พี่เจ) ได้มอบหมายให้เราได้เข้าไปศึกษาบทเรียน e-Learning ในหัวข้อโปรเเกรม Captivate ในเว็บ http://www.elearning.in.th เพื่อเป็นเเนวทางก่อนที่พี่จะทำการสอนโปรเเกรมจริง เพื่อที่เวลาเรียนนั้นจะได้มีความเข้าใจได้ง่าย เเละจะได้ไม่ต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก ในบทเรียนนั้นจะต้องใช้เวลาทั้งหมดเป็นเวลา 9 ชั่วโมง ซึ่งในเนื้อหาจะมีในส่วนของ คำเเนะนำการใช้บทเรียน วัตถุประสงค์ รวมไปถึงเนื้อหาที่อธิบายในเเต่ละบท
    -เดินทางไปยังหอสมุดครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อไปค้นคว้าหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องในส่วนของบทที่ 2 เเต่การไปสืบค้นหางานวิจัย ค่อยข้างที่หายาก เนื่องจากการหางานวิจัยนั้นจะไม่เหมือนกับที่มหาวิทยาลัยศิลปากร เนื่องจาก เราจะต้องทำการสืบค้นกับทางระบบของหอสมุด จากนั้นจะต้องทำการจัดชื่อผู้วิชัย เเละปีของงานวิจัย เพื่อให้บรรณารักษ์เป็นผู้ทำการค้นหาวิทยานิพนธ์ให้ เเต่เรื่องที่หานั้นค่อยข้างจะหายาก หัวข้อวิจัยไม่ค่อยตรงกับงานวิจัยที่จะทำการค้นหา เเต่ก็พยายามจะหาหัวข้องานวิจัยที่ใกล้เคียงซึ่งก็คือหัวข้อความพึงพอใจเเละการเรียนการสอนผ่านเว็บ
    -พี่เจได้ทำการสอนโปรเเกรม Captivate ในห้องประชุมของ TCU โดยมีรุ่นพี่ในหน่วยงานมาร่วมเรียนกันเราด้วย พี่เจจได้ทำการอธิบายตั้งเเต่การติดตั้งโปรเเกรม รวมไปถึงการใช้โปรเเกรมในส่วนของการนำ Powerpoint มาทำการ Capture ลงในโปรเเกรม Captivate จากนั้นก็ทำการอธิบายในส่วนของการใส่ Sound ของเสียงบรรยาย เเละเสียงเบรรเลง ต่อด้วยการวิธีการใส่รูปภาพ หรือตั่วมาร์คอท ซึ่งจะเป็นตัว Animation สุดท้ายทำการอธิบายวิธีการเซฟงาน หลังจากที่ได้ทำการเสร็จเรียบร้อยเเล้ว จากการฟังคำอธิบายของพี่เจ ทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจในส่วนของโปรเเกรม Captivate มากยิ่งขึ้น เเละคิดว่าน่าจะต้องทำการศึกษาโปรเเกรมอีกเพิ่มเติมเพื่อที่จะได้นำมาใช้งานได้อย่างประสิทธิภาพ

  49. Rattiya said

    สัปดาห์ที่ 13 ( 25 – 28 ม.ค 53 )

    ในส่วนของงานวิจัย ได้เริ่มทำบทที่ 3 เกี่ยวกับ วิธีดำเนินการวิจัย โดยแบ่งหัวข้อการทำออกเป็น
    1. ประชากรเเละกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้ระบุไว้แล้วในบทที่ 1
    2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบ่งเป็นแบบสอบถาม 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป ส่วนความพึงพอใจ และข้อเสนอแนะจากผู้เข้าอบรมในหลักสูตรอีเลิร์นนิงที่ข้าพเจ้าจัดทำ
    3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
    4. การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล
    5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งเป็น ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่า SD

    ส่วนของงานโปรเจค คุณบัณฑิต (พี่เจ) ได้มอบหมายให้เข้าไปศึกษาบทเรียน e-Learning ในหัวข้อวิชา : การสร้างสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบ Interactive Learning โดยโปรแกรม Captivate ในเว็บ http://www.elearning.in.th เป็นการศึกษาเนื้อหาโปรแกรมก่อนที่พี่เจจะทำการสอนให้จริง และข้าพเจ้าก็ได้เข้าไปศึกษาเนื้อหา โดยพี่เจได้บรรยายไว้อย่าละเอียด ตั้งแต่การเริ่มติดตั้งโปรแกรม การ Import , Export งาน การตั้งค่า การใช้งานในเครื่องมือต่างๆในโปรแกรม จากการศึกษาเอง มีขั้นตอนวิธีการทำงาน เป็นการสาธิตให้เห็น ทำให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้ และค่อนข้างเข้าใจมากยิ่งขึ้นถึงเจ้าโปรแกรมตัวนี้

    -เดินทางไปยังหอสมุดครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อไปค้นคว้าหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องในส่วนของบทที่ 2 เเต่การไปสืบค้นหา ใสนครั้งนี้พบว่า หัวข้อวิจัยไม่ค่อยตรงกับงานวิจัยที่จะทำการค้นหา เเต่ก็พยายามจะหาหัวข้องานวิจัยที่ใกล้เคียงซึ่งก็คือหัวข้อความพึงพอใจเเละการเรียนการสอนผ่านเว็บ และก็ได้มาในส่วนนึงที่เกี่ยวข้อง แต่ก็ยังม่ชัดเจนเท่าที่ควร

    -พี่เลี้ยง (พี่เจ) ได้ทำการสอนโปรเเกรม Captivate ในห้องประชุมของ TCU โดยมีรุ่นพี่ในหน่วยงานมาร่วมเรียนด้วย พี่เจได้ทำการอธิบายตั้งเเต่การติดตั้งโปรเเกรม รวมไปถึงการใช้โปรเเกรมในส่วนของการนำ PowerPoint มาทำการ Capture ลงในโปรเเกรม Captivate ต้องมีการตั้งค่าปรับหน้าจอคอมให้เป็นขนาด 600×800 เพื่อให้มีความสมบูรณ์ในขนาดของ PowerPoint ที่จะ Capture มาใช้งานจริง สอนการการ Import , Export ข้อมูล เสียง ภาพต่างๆที่จะนำมาใช้งาน จนถึงขั้นตอนสุดท้ายคือการ Publish งานที่สมบูรณ์ออกมา จากที่ได้ลงมือทำไปพร้อมกับที่พี่เจสอนนั้น รู้สึกว่าจะเป็นวิธีการที่ง่าย เพราะจากที่ได้ศึกษามาแล้วจากบทเรียนอีเลิร์นนิงนั้น เข้าใจแต่ต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจนานพอสมควร แต่ก็ถือว่าได้รู้เรื่องการทำงานของเครื่องมือเพิ่มมากขึ้น พี่เจได้สอนวิธีลัดในการใช้งานของโปรแกรม ซึ่งง่ายและเข้าใจยิ่งกว่าในเวลาเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น และสัปดาห์ต่อไป ก็เข้าสู่การลงมือทำงานจริงในการใช้โปรแกรม Captivate

  50. Rattiya said

    1. สัปดาห์ที่ 14 ( 1 – 5 กพ. 53 )
    – สัปดาห์นี้เริ่มต้นจากการเตรียมงานวิจัยในส่วนของบทที่ 3 วิธีการดำเนินงานวิจัย เพื่อนำให้อาจารญ์ที่ปรึกษา คืออาจารย์ ฐาปณีย์ ธรรมเมธา ทำการพิจารณาตรวจสอบ และให้คำแนะนำเพิ่มเติม โดยข้าพเจ้าได้ดำเนินการร่างไปอย่างคร่าวๆในตอนแรก โดยในการตั้งข้อคำถามในแบบสอบถามของข้าพเจ้านั้น ได้ยึดหลักเกณฑ์ของการตรวจสื่อ ที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้มาเป็นหลัก โดยวางแผนไว้ว่าจะแบ่งข้อคำถามออกเป็นส่วนต่างๆดังนี้ คือ ส่วนของเนื้อหา ส่วนของเทคนิคการนำเสนอ และส่วนของเวลาในการนำเสนอสื่อ และสุดท้ายข้าพเจ้าก็ได้นำข้อคำถามต่างๆมารวบรวม และทำการเพิ่มเติมให้เป็นสัดส่วนมากยิ่งขึ้น และสรุปออกมาได้เป็น 3 ตอน ดังนี้ คือ
    ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้เข้าอบรม เช่น อายุ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ เวลาการเข้าใช้
    ตอนที่ 2 แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมในหลักสูตรการสร้างสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย แบ่งเป็น 6 ด้าน ดังนี้
    1. ความพึงพอใจด้านเนื้อหาบทเรียน คือ เกี่ยวกับโครงสร้างบทเรียน วัตถุประสงค์ เวลาการนำเสนอบทเรียน
    2. ความพึงพอใจด้านตัวผู้สอน คือ การติดตาม การมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างเข้าอบรมและผู้สอน
    3. ความพึงพอใจด้านเทคนิค คือ มัลติมีเดียต่างๆ ข้อความ รูปภาพ ตัวอักษร Animation เสียง การออกแบบหน้าจอ
    4. ความพึงพอใจด้านกิจกรรมในบทเรียน คือ แบบทดสอบ โครงงาน
    5. ความพึงพอใจด้านการประชาสัมพันธ์หลักสูตร คือ มีการประชาสัมพันธ์ผ่าน วิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ อินเตอร์เน็ต สื่อบุคคล
    6. ความพึงพอใจเมื่อสำเร็จหลักสูตร คือ ตรงตาทความคาดหวังของผู้เข้าอบรม นำความรู้ไปใช้ได้จริง มีการรับรองผลการสำร็จการศึกษา
    ตอนที่ 3 แบบสอบถามในส่วนของข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของผู้เข้าอบรมในหลักสูตรการสร้างสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
    – ในบทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ยังขาดเนื้อหาในหัวข้อที่ 6 คือ ข้อมูลเกี่ยวกับกลักสูตรการสร้างสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่พี่เลี้ยงให้นำเอกสารไปส่งยังชั้น 9 ข้าพเจ้าจึงได้มีโอกาสเข้าไปสอบถามกับเจ้าของหลักสูตร คือ พี่ยุ้ย (คุณราตรี) เกี่ยวกับหลักสูตรที่ข้าพเจ้าทำงานวิจัย และพี่ยุ้ยก็ได้ให้คำแนะนำ พร้อมทั้งส่งไฟล์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง มาทาง E-mail ข้าพเจ้าจึงได้ข้อมูลในส่วนของบทที่ 2 เรียบร้อย พร้อมปรับแก้ และเพิ่มเติมในบางส่วนที่อาจารย์ได้แนะนำ หลังจากกลับมาจากมหาวิทยาลัย ในวันที่ 29 มค. 53 พร้อมทั้งส่งข้อมูลแบบสอบถามในบทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัยของแบบสอบถามทั้ง 3 ตอน ให้กับพี่เอ๋ (คุณภานุวัฒน์ ผู้ดูแลฝ่ายวิชาการของ TCU ) เป็นผู้ตรวจสอบและให้คำแนะนำต่อไป
    – เริมดำเนินงานในส่วนของโปรเจค หลังจากพี่เจ (คุณบัณฑิต) ได้สอนโปรแกรม Captivate ในปลายสัปดาห์ที่แล้ว โดยเริ่มต้นจากการ ตั้งค่า เปลี่ยนหน้าจอเป็นขนาด 800×600 เข้าหน้าโปรแกรม Captivate เลือกไปที่ Stimulation จะขึ้นเครื่องมือทางซ้ายมือขึ้นมา ให้กด รูปกล้อง คือการถ่าย เปิดหน้าต่างของ PowerPoint งานขึ้นมา ใช้ตัว Print screen เป็นตัวจับภาพ ไปทีละภาพ พี่เจได้สอนการหลบตัวลูกศร ทำให้ลูกศรของเม้าท์หายไป ด้วยการกด A เมื่อได้ภาพงานจากการกด Print screen แล้ว ให้กลับมาตั้งค่าหน้าจอเป็น ปกติ และเริ่มดำเนินการคัดเลือกและตรวจสอบภาพว่าขาดตกบกพร่อง หรือต้องแก้ไขในส่วนใดบ้าง ก่อนจะทำการ Import เสียงหรือส่วนประกอบอื่นๆเข้ามานั้น ต้องมีการปรับสี หรือ ดูดสีในส่วนของ PowerPoint งาน ให้มีค่าคงที่ โดยกดที่ Play back Color หรือกด Shift F 11 เมื่อได้ค่าสีเท่าเทียมกันหมดทุกสไลด์แล้ว ก็เริ่มจากการ Import เสียงบรรเลงเข้ามาใส่ซึ่งเสีงดนตรีบรรเลงนี้ จะได้ยินในทุกๆสไลด์ เป็นเสียงที่ คลอเคล้าไปกับเสียงบรรยายของเรา โดยการกดไปที่ Audio กด Audio for background ก็จะได้เสียงบรรเลงในทุกสไลด์ หากต้องการ นำเสียงบรรยายเนื้อหาเข้ามา ก็กด Audio Import เสียงเข้ามา หรือกด F6 ก็ได้ และหากต้องการใส่ตัว Mascot ให้กดไปที่ Icon รูปฟิล์มทางซ้ายมือที่เขียนว่า Animation ทำการลากช่วงเวลาของตัว mascot ตามที่ต้องการ โดยด้านล่างของหน้าโปรแกรมที่เปิดมานั้น จะมีตัว Timeline ที่จะบอกสิ่งที่เรา Import เข้ามา และมีช่วงของการกำหนดเวลาให้เรา นอกจากนี้ภายในโปรแกรมยังมีการนำเข้าวิดีโอ รูปภาพ และอื่นๆ ซึ่งง่ายต่อการจัดทำ หลังจากนั้นก็สามารถ Preview ดูงานแต่ละสไลด์ที่เราทำ ด้วยการกด F4 / F12 เมื่อเสร็จสิ้นการทำงานแล้ว ก็ทำการ Publish งานออกมาให้สมบูรณ์ ในการ Publish ก็มีการตั้งค่าตามความต้องการของเรา กำหนดคุณภาพของขนาด โดยจะตั้งค่าให้สูงไว้ก่อนเสมอ และระบุที่ save งานอย่างเป็นระเบียบ ก็จะได้งานที่สมบูรณ์ แต่ต้งไม่ลืมเซฟงานเป็นไฟล์ของ .cp ด้วย เพื่อสามารถที่จะกลับมาแก้ไขงานได้ในภายหลัง
    – หลังจากทำเนื้อหาของงานเสร็จแล้ว ก็ทำการทำ Quit ในโปรแกรม Captivate เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ซึ่งก็สามารถทำได้โดยง่าย กำหนดข้อถูก และ Feed back หลังจากที่ทำถูกต้องแล้ว ในการสร้างแบบทดสอบ ต้องแยกทำ ระหว่างแบบทดสอบก่อนเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน และแยกจัดเก็บทีละส่วน เพราะไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหา การเรียงข้อกัน และผล score งานที่ออกมาจะเรียงตัวยาวเชื่อมต่อกัน จึงต้องทำแยก และจัดเก็บแยก เป็น pretest และ posttest
    – พี่เจทำการสอนวิธีการ uplode งานที่ได้จาก การทำโปรแกรม Captivate ขึ้นระบบ โดยการเข้าไปที่ http://www.e-learning.in.th และ log in ID Teacher เข้าไปตั้งค่าสร้างวิชาที่เราต้องการนำขึ้นสู่ระบบที่จะเปิดสอน กำหนดชื่อวิชาและรหัส พร้อมทั้งส่วนประกอบอื่นๆ และเข้าไปตั้งชื่องานในแต่ละบทเรียน แต่ละหัวข้อ ตามรูปแบบโครงสร้างเนื้อหาที่เราต้องการสอน อย่างเป็นระเบียบ หลังจากนั้น ก็รวบรวมไฟล์งานที่สมบูรณืทั้ง 3 บท ให้พี่เจทำการ Up เข้าไปจัดเก็บไว้ใน พื้นที่เก็บงาน ในส่วนดังกล่าว และสัปดาห์หน้าข้าพเจ้าทำการนำมาจัดให้เป็นระเบียบ เป็นบทเรียนที่สมบูรณ์ได้เลย

  51. Rattiya said

    สัปดาห์ที่ 15 ( 8 – 12 กพ. 53 )
    สัปดาห์สุดท้ายของการฝึกงาน เริ่มต้นจาก
    – รับเอกสารงานวิจัยในส่วนของบทที่ 3 เกี่ยวกับเครื่องมือแบบสอบถาม คืนจากพี่เอ๋ (คุณภานุวัฒน์) พี่เอ๋ได้ให้ข้อเสนอแนะ
    1. ให้ปรับเปลี่ยนในตอนที่ 1 และ 3 ให้มีความเคียงกันมากขึ้น
    2. สร้างตามกรอบทฤษฎี หลักการ บทความ
    3. ตรวจสอบคุรภาพเครื่องมือ ด้วย 2 ขั้น คือ
    1) ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity )
    2) ความตรงเชิงเนื้อหา ตาม กรอบการประกันคุณภาพ งานวิจัย/บทความ/วิทยานิพนธ์
    ซึ่งพี่ได้มีเอกสารแนบมาเป็นตัวอย่าง เพื่อให้นำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง และยังอธิบายเพิ่มเติม เกี่ยวกับ
    การหาคุณภาพของเครื่องมือวิจัย สามารถสรุปได้ คือ จะประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ
    1. ความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) ด้วย IOC ดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item-Objective Congruence) จำนวน 3-5 ท่านผู้เชี่ยวชาญ
    2. ความเที่ยง (Deniability) โดยการนำไปทดลองใช้กับกลุ่มใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง / นำมาหาค่าความเที่ยงทั้งฉบับ ด้วยสัมประสิทธือัลฟ่าของครอนบาค
    พร้อมทั้ง ยังวาดรูปแสดงตัวอย่างของการหาค่า IOC มาให้ดูด้วย
    – นำงานวิจัยส่วนของบทที่ 3 เกี่ยวกับแบบสอบถาม นำเสนออาจารญืที่ปรึกษา อาจารย์ ฐาปณีย์ อาจารย์จึงได้ให้ข้อเสนอแนะ และอธิบายในส่วนของการจัดแบ่งข้อคำถาม ให้แหลือเฉพาะสิ่งที่สำคัญโดยแท้จริง ให้เป็นไปตามหลักของ ทฤษฎี และหลักการของทาง TCU โดยตรง โดยอาจารย์ได้ช่วยเหลือ ปรับแก้ ในตัวของข้อมูลข้อคำถาม พร้อมทั้งได้ให้เอกสารที่จะนำมาอ้างอิงข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างถุกต้อง และให้ข้าพเจ้าทำการปรับแก้ส่วนที่เหลือโดยอิงเกณฑ์ข้อมูลตามเอกสารดังกล่าว เพื่อให้เป้นไปในแนวทางเดียวกัน และทำการปรับแก้จนเสร็จสมบูรณ์ หลังจากนั้น ข้าพเจ้าข้อทำการสร้างตารางการหาค่า IOC โดยแบ่งเป็นหมวดหมูตามข้อคำถาม พร้อมทั้งนำไปใช้งานจริง โดยให้ผู้เชี่ยวชาญทางอีเลิร์นิงทั้ง 3 คน คือ พี่ยุ้ย (คุณราตรี เจ้าของหลักสูตรการสร้างสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์) คุณธัญภา (นักเชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์และดูแลตรวจสอบอีเลิร์นนิง) พี่เอ๋ (คุณภานุวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ ของ TCU )
    – แก้ไขงานโปรเจค โดยนำไฟล์ข้อมูลมาตัดเป็นส่วนๆให้มีขนาดไฟล์งานเล็กลง เพราะพี่เจไม่สามารถอัพโหลดงานขึ้นระบบได้ทั้งหมดทีเดียว เนื่องจาก พื้นที่เก็บข้อมูลงานรับงานได้ไฟล์ละไม่เกิน 5 MB จึงต้องนำมาตัดเป็นหัวข้อย่อยๆแยกออกมาอีก เมื่อพี่เจอัพงานขึ้นระบบให้เรียบร้อยแล้ว ก็ทำการเข้าไปเรียบเรียงงานให้เป็นเนื้อหาต่อเนื่องกันทีละส่วน ตามลำดับขั้นตอนเนื้อหา เมื่ออัพข้อมูลงานเรีบ้อยแล้วในส่วนของบทที่ 3 ที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบ หลังจากนั้นก็กลับมาทำเนื้อหาในส่วนที่ขาดขายไปในช่วงแรก คือส่วนของ คำแนะนำในการใช้บทเรียน และส่งต่อให้กมลชนกแปลงไฟล์เป็น .pdf เนื่องจกคอมพิวเอตร์ของข้าพเจ้าไม่สามารแปลงไฟล์ได้ และหลังจากนั้นทำการรวบรวมงานอื่นๆทั้งวิจัย และตรวจสอบโปรเจคที่ทำว่าสมบูรณ์ถูกต้องแล้ว และเข้าพบพี่เจในช่วงท้าย เพื่อรับคำแนะนำ และเมื่อพบข้อพกพร่องก็จะทำการปรับแก้ในต่อไป
    – ก่อนกลับ ก็ขึ้นไปเก็บงานในส่วนของ IOC แลได้รับคำแนะนำจากพี่ยุ้ย ให้มาปรับแก้หัวข้องานในระบบที่จัดทำแล้ว ให้มีความเป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้เข้ามาเรียนคลิกเลือกหัวข้อบทเรียนได้ง่าย ให้ทำการย่อหัวข้อลงมา ให้เห็นชัดเจน ซึ่งก็ตรงกับที่พี่เจได้เสนอแนะเช่นเดียวกัน พร้อมทั้งพี่ยุ้ยได้นำตัวอย่างของงานที่ได้ผลิตเสร็จแล้วมาเป็นตัวอย่าง เพื่อที่จะได้ปรับแก้ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งถือเป็นการแนะนำที่เป็นประโยชน์ ทำให้งานออกมาเป็ฯระเบียบเรียบร้อยมากยิ่งขึ้น

  52. NAPHAK said

    สัปดาห์ที่ 14 ( 1 – 5 กพ. 53 )
    – หลังจากที่พี่เจได้สอนวิการใช้โปรเเกรม Captivate เเล้ว ก็ถึงเวลาที่จะต้องใช้โปรเเรมทำกันจริงๆ โดยได้รวบรวมข้อมูลที่ได้เตรียมไว้คือ ข้อมูลใน PoewrPoint เสียงที่ได้อัดไว้ (เสียงบรรยาย) เสียงดนตรี ตัวการ์ตูน Animation (มาร์ทคอช) จากนั้นเริ่มการเปิดโปรเเกรม Captivate โดยทำการตั้งค่าเป็นอันดับเเรก กนั้นทำการ capture หน้าจอ โดยการกด print screen ในส่วนที่เราต้องการ cature หน้าจอ โดตั้งขนาดหน้าจอเป็น 600×800 เมื่อทำการ capture เรียบร้อยเเล้ว ให้เปลี่ยนขนาดหน้าจอเป็นขนาดปกติ จากนั้นก็ทำการใส่เสียงบรรยาย เสียงดนตรี ตัวมาร์ทคอช ในเเต่ละสไลด์ จากนั้นเริ่มการทำเเบบทดสอบโดยใช้โปรเเกรม Captivate เช่นเดียวกัน โดยเเบ่งเป็นเเบบทดสอบก่อนเรียนเเละหลังเรียน อย่างละ 10 ข้อ โปรเเกรม Captivate จะมีตัวที่สร้าง quit โดยเฉพาะ งทำให้ง่ายเเละสะดวกต่อการใช้งาน ในส่วนของการตั้งค่า จะมีในส่วนของช่องให้กรอกคำถาม เเละมีตัวเลือกให้เลือก มีปุ่มกด มี feedback ในการเเสดงผลหลังจากที่ทำข้อสอบผิด เมื่อกทำเสร็จก็ทำการ save โดยเเบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เเบบทดสอบก่อนเรียน เเละเเบบทดสอบหลังเรียน หลังจากที่ทำในส่วนของเนื้อหา เเบบทดสอบเสร็จเเล้ว ก็ทำการ Publish โดยเเยกในเเต่ละส่วนตามละดับ คือ เเบบทดสอบก่อนเรียน เนื้อหา เเละเเบบทดสอบหลังเรียน ใส่ใน foder โดยทำการตั้งค่าคุณภาพให้เป็น 100%
    -ทำเเบบทดสอบงานวิจัยอย่างคร่าวๆ โดยนำมา share กับเพื่อนๆ โดยเเยกเเบบสอบถามเป็น 3 ตอน คือ 1.ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบเเบบสอบถาม 2. ความคิดเห้นของผู้เข้าอบรม 3. ข้อเสนอเเนะความคิดเห็นของผู้อบรม

  53. NAPHAK said

    สัปดาห์ที่ 15 ( 8 – 12 กพ. 53 )
    – รับเอกสารงานวิจัยในส่วนของบทที่ 3 เกี่ยวกับเครื่องมือแบบสอบถาม คืนจากพี่เอ๋ (คุณภานุวัฒน์) พี่เอ๋ได้ให้ข้อเสนอแนะ
    1. ให้ปรับเปลี่ยนในตอนที่ 1 และ 3 ให้มีความเคียงกันมากขึ้น
    2. สร้างตามกรอบทฤษฎี หลักการ บทความ
    3. ตรวจสอบคุรภาพเครื่องมือ ด้วย 2 ขั้น คือ
    1) ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity )
    2) ความตรงเชิงเนื้อหา ตาม กรอบการประกันคุณภาพ งานวิจัย/บทความ/วิทยานิพนธ์
    ซึ่งพี่ได้มีเอกสารแนบมาเป็นตัวอย่าง เพื่อให้นำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง และยังอธิบายเพิ่มเติม เกี่ยวกับ
    การหาคุณภาพของเครื่องมือวิจัย สามารถสรุปได้ คือ จะประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ
    1. ความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) ด้วย IOC ดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item-Objective Congruence) จำนวน 3-5 ท่านผู้เชี่ยวชาญ
    2. ความเที่ยง (Deniability) โดยการนำไปทดลองใช้กับกลุ่มใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง / นำมาหาค่าความเที่ยงทั้งฉบับ ด้วยสัมประสิทธือัลฟ่าของครอนบาค
    พร้อมทั้ง ยังวาดรูปแสดงตัวอย่างของการหาค่า IOC มาให้ดูด้วย
    ในส่วนของข้อคำถามที่งไม่ชัดเจน โดยทำการเเก้ไข เเล้วนำไปให้พี่เอ๋ตรวจดูอีกที ในครั้งนี้ถือว่าตั้งข้อคำถามใช้ได้ ในส่วนขอเเบบสอบถามตอนที่ 1 เมื่อพี่เอ๋ทำการตรวจดูเนื้อหา ได้ชี้เเจงในส่วนของความสอดคล้องกับหลักสูตร ซึ่งข้าพเจ้าก็ได้ทำการเเก้ไข จากนั้นก็นำเเบบสอบถามไปให้อาจารย์ฐาปนีย์ดู ปรากกฏว่าเเบบสอบถามในตอนที่ 2,3 จะต้องทำการปรับปรุงใหม่โดยจะต้องยึดหลลักเกณฑ์หรือทฤษฏี นิยาม โดยสามารถอธิบายได้ว่าที่มาของข้อคำถามาจากที่ใด โดยอาจารย์ได้ให้ข้อมุลบางส่วนนำมาเป็นเเนวทางในการตั้งคำถาม พร้อมทั้งอธิบายเเละให้คำเเนะนำในสการตั้งคำถามพร้อมกับอาจารย์ได้วางโครงร่างเเบบสอบถามเเละข้อเเก้ไขกรอบเเนวคิดที่ได้ทำก่อนหน้าให้ชัดเจอยิ่งขึ้น จากนั้นก้ทำการรวบรวมเอกสารงานวิจัยนส่วนของเเบบสอบถาม นำเเบบสอบถามการหาค่าความตรงเชิงเนื้อหา ด้วย IOC ดัชนีความสอดคล้อง โดยให้พี่ เจ พี่เอ่ พี่ภา ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านอิเล็กทรอนิกส์ ทำการตรวจสอบเเละให้ค่าความตรงเชิงเนื้อหา IOC โดยผลที่ได้ถือว่าผ่านเกือบทั้งหมด อาจมีข้อเสนอเเนะบางข้อเพียงเล็กน้อย
    -ในส่วนของโปรเจค ต้องทำการ Publish ใหม่ทั้งหมด เนื่องจากในครั้งเเรก ข้าพเจ้าทำการรวมเนื้อหาทั้งหมดเเล้วค่อยจึงทำการ Publish เเต่ในความเป็นจริง จะต้องทำการเเยกส่วนของเนื้อหาก่อน ถึงจะทำการ Publish ได้ เนื่องจากเวลาขึ้นระบบ เนื้อจาจะได้ไม่ใหญ่เกินไป เมื่อทำการ Publish ใส่ใน foder เป็นที่เรียบร้อยเเล้ว ก็นำข้อมูลไปให้พี่เจอัพโหลด เนื่องจากถ้าทำการอัพโหลดเอง จะช้ามาก จากนั้นก็เข้าไปที่ http://e-Learning.in.th เพื่อเข้าไปทำการอัพข้อมุลขึ้นระบบทั้งหมด

RSS feed for comments on this post · TrackBack URI

Leave a comment